12236 : โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในสวนทุเรียน”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/2/2561 9:45:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย 100 คน ประกอบด้วย 1. เกษตรกรจำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์หลังสวน จังหวัดชุมพร หมู่ที่ 4 ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86100 เบอร์โทรศัพท์ 077-541807 FAX 077-508217 2. เกษตรกรจำนวน 25 คน เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมัน ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 3. เกษตรกรจำนวน 25 ราย จากเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการ 2561 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ปิยนุช  จันทรัมพร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.4 พัฒนาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการศาสตร์พระราชา และเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.เป็นศูนย์บริการวิชาการที่มีความเป็นเลิศด้านสหวิทยาการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เป้าประสงค์ 1.การพัฒนาศูนย์บริการสหวิทยาการเกษตร
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อโครงการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 1.บูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาค
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agriculture Practices เรียกย่อๆว่า GAP) หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) โดยได้กำหนดข้อกำหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมิน ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับ GAP ตามหลักการสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของไทยจำนวน 24 ชนิด ประกอบด้วย ผลไม้ ทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ สับปะรด ส้มโอ มะม่วง และส้มเขียวหวาน พืช ผัก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี พริก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ข้าวโพดฝักอ่อน หัวหอมปลี และหัวหอมแบ่ง ไม้ดอก กล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมา พืชอื่นๆ กาแฟโรบัสต้า มันสำปะหลัง และยางพารา จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกทุเรียน ประมาณ 150,000 ไร่ มีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดประมาณ 80,000 ตัน เกษตรกรนิยมใช้เคมีภัณฑ์ในกระบวนการผลิต เช่น ยากำจัดศัตรูพืช ยากำจัดโรค ฮอร์โมน หรือปุ๋ยน้ำชนิดต่างๆกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ผลต่อค้างจากเคมีภัณฑ์ดังกล่าวยังส่งผลเสียต่อผู้บริโภค จากปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้ระดมสรรพกำลังเพื่อยกระดับคุณภาพของทุเรียนให้สูงขึ้น ปัญหาหลักในการนำการปลูกทุเรียนให้เข้าสู่การเกษตรที่ดีและเหมาะสม นั้น มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ปัญหาเรื่องของการขาดความเชื่อมั่นในระบบและความไม่เข้าใจในระบบการเกษตรที่ดีและเหมาะสม และปัญหาการเข้าถึงของผลิตภัณฑ์และวิธีการในการเข้าสู่ระบบการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เช่น การจัดการโรคและแมลง เป็นต้น การแก้ไขปัญหาประการแรก ในเรื่องของการขาดความเชื่อมั่นในระบบและความไม่เข้าใจในระบบการเกษตรที่ดีและเหมาะสม การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ประสานความร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตทุเรียนในจังหวัด ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังได้ประสานกับคุณฉัตรกมล มุ่งพยาบาล เกษตรดีเด่นแห่งชาติ สาขาไม้ผล ประจำปี 2558 เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า ในการนำระบบการผลิตทุเรียนเพื่อให้เข้าสู่ระบบการเกษตรที่ดีและเหมาะสม โดยมีแรงจูงใจในเรื่องของราคารับซื้อในท้องตลาด ที่สามารถจำหน่ายได้ถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม การแก้ไขปัญหาประการที่ 2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนโยบายชัดเจนในการทำการเกษตรเพื่อให้เป็นเกษตรอินทรีย์ เป็นระบบเกษตรแบบปลอดภัย เป็นระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์และบุคลากร สามารถถ่ายทอดและส่งผลต่อภาคปฏิบัติได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เล็งเห็นว่า ถ้าสามารถปรับระบบการผลิตทุเรียน ให้เข้าสู่ระบบการเกษตรที่ดีและเหมาะสม จะช่วยเพิ่มมูลค่าของทุเรียนให้สูงขึ้น สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกนับหมื่นล้านบาท เกษตรกรจะมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดการใช้เคมีภัณฑ์อย่างฟุ่มเฟือย เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อจัดอบรมให้ความรู้การควบคุมศรัตรูพืชโดยชีววิธีให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน
2.เพื่อให้เกษตรลดการใช้เคมีภัณฑ์ในการผลิตทุเรียน ลดต้นทุนการผลิต
3.เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนด้วยเคมีภัณฑ์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในสวนทุเรียน”
KPI 1 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
KPI 2 : -จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 3 : -ร้อยละความพึงพอใจในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : -ร้อยละของงานบริการวิชาการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในสวนทุเรียน”
ชื่อกิจกรรม :
- กิจกรรม การอบรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ปิยนุช  จันทรัมพร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
-ค่ายูเรีย จำนวน 10 กระสอบๆ ละ 8,00 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
-ค่า EM จำนวน 50 ลิตรๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
-ค่าปูนขาว จำนวน 50 กระสอบๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
-ค่าปุ๋ยคอก จำนวน 50 กระสอบๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่ากากน้ำตาล จำนวน 50 กิโลกรัมๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
-ค่าจุลินทรีย์ จำนวน 20 แกลลอนๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
-ค่ากรรไกรตัดกิ่ง จำนวน 5 ชิ้น ชิ้นละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

วัสดุน้ำมันเชื้อเพลิง
-ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเติมเครื่องบดบ่อย จำนวน 100 ลิตร ลิตรละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

วัสดุสำนักงาน
-ค่ากระดาษ A4 จำนวน 2 กล่องๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 900 บาท
-ค่าปากกา จำนวน 100 ด้ามๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท
-ค่าแฟ้ม จำนวน 150 แฟ้มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าเครื่องเย็บกระดาษพร้อมลวดเย็บ จำนวน 10 ชิ้นๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
-ค่ากรรไกรตัดกระดาษ จำนวน 4 ชิ้นๆละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บาท

วัสดุคอมพิวเตอร์
-ค่าหมีกดำ จำนวน 10 ตลับๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าหมึกสี จำนวน 10 ตลับ ตลับละ 800 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 61,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
อาจารย์ ปิยนุช 61 ย002
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล