12238 : โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดฟางจากทะลายปาล์มไร้สารครบวงจร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/2/2561 10:57:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน.............120............คน ประกอบด้วย........กลุ่มเกษตรกร ตำบลเขาหลาง อำเภอละแมจังหวัดชุมพร โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยเกษตรกรนักวิชาการเกษตรเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรตำบลเกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ผู้นำเกษตรกรในพื้นที่นักศึกษา และบุคลากรในหน่วยงาน.......... พื้นที่ดำเนินโครงการ ตำบลเขาหลาง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการ 2561 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิรักษ์  ผลเจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.4 พัฒนาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการศาสตร์พระราชา และเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.เป็นศูนย์บริการวิชาการที่มีความเป็นเลิศด้านสหวิทยาการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เป้าประสงค์ 1.การพัฒนาศูนย์บริการสหวิทยาการเกษตร
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อโครงการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 1.บูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาค
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันกระแสความต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายมีมากขึ้นทุกที ทำให้คนส่วนใหญ่หาทางที่จะซื้อหรือปลูกพืชไว้รับประทาน เพื่อให้ปลอดภัยมีสุขภาพแข็งแรง การเพาะเห็ดฟางตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีรูปแบบของการเพาะมากมาย เดิมเห็ดฟางสามารถขึ้นได้เองตามหัวไร่ชายนาจากเศษหญ้ากองฟางทั่วไปและได้มีการพัฒนาการเพาะเห็ดฟางเพื่อการค้ากันอย่างแพร่หลายซึ่งวัสดุที่นำมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเห็ดฟางได้แก่ฟางข้าว ซึ่งเป็นวัสดุหลงเหลือจากการทำนาจึงเป็นที่มาของ ชื่อ “เห็ดฟาง” ซึ่งเรียกตามลักษณะของเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง การเพาะเห็ดฟางในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการเพาะเห็ดฟางไปอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่เคยเป็นปัญหากลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลดี ลงทุนน้อย ผลผลิตสูงและปลอดภัยต่อผู้เพาะจากเดิมที่เคยใช้วัสดุฟางข้าวเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะ แต่มีการพัฒนานำเอาทะลายปาล์มที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้เป็นวัสดุในการเพาะสำหรับทะลายปาล์มซึ่งนำมาเพาะเห็ดนั้นเป็นวัสดุเหลือใช้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มซึ่งมีอยู่มากมายเมื่อก่อนเคยเป็นปัญหากับทางโรงงานที่จะต้องเป็นภาระในการขนย้ายไปทิ้งแต่หลังจากมีการนำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดทำให้โรงงานมีรายได้กับการขายทะลายปาล์มอีกทางหนึ่งและทะลายปาล์มหลังจากใช้ในการเพาะเห็ดแล้วยังสามารถนำไปใช้คลุมโคนต้นไม้และทำปุ๋ยได้อีกนับเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่วนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังคงใช้เชื้อเห็ดฟางเช่นเดิม ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงเล็งเห็นความสำคัญและแนวทางที่จะแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรบ้านเขาหลาง ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ที่มีวัสดุเหลือทิ้งโดยเฉพาะทะลายปาล์มที่มีเป็นจำนวนมากมาใช้ในการเพาะเห็ดฟาง เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรนอกเหนือจากการทำสวน อีกทั้งยังสามารถสร้างอาชีพ เพิ่มมูลค่าของเห็ดฟางจากการแปรรูปเห็ดฟางเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่มีมากในบางฤดูกาลได้ แนวคิดการแก้ไขพัฒนา 1. การนำวัสดุเหลือใช้การเพาะเห็ดไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการนำวัสดุเพาะที่เหลือใช้ไปใช้ในพื้นที่การเกษตรเพื่อให้เป็นปุ๋ยให้แก่พืชหลักที่ปลูก ซึ่งก็ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมเรียกว่าเป็นเกษตรกรผู้ที่ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดนอกจากนั้นก็ยังได้คิดค้นวิธีการแปรรูปผลผลิตเพื่อเป็นการอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเห็ดฟางโดยการนำเห็ดฟางที่มีปริมาณมากในบางฤดูกาลมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2) การสร้างความปลอดภัยของอาหารการผลิตเห็ดในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโตเนื่องจากการใช้สารเคมีบางชนิดที่ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูก มีกาสะสมเป็นระยะเวลานานของสารพิษตกค้างกระแสหลักก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อพัฒนาการของภูมิปัญญาท้องถิ่น และที่สำคัญที่สุดคือผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคจากสารพิษที่ตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร การแก้ไขปัญหา 1) การหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการผลิตเช่น ฮอร์โมน โดยหันมาใช้และผลิตปัจจัยทางการเกษตรที่เหมาะสมใช้เอง 2) การประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณมากในท้องถิ่น เช่น ทะลายปาล์มมาใช้ในการผลิตเห็ดแทนวัสดุที่ไม่มีในท้องถิ่น 3) การแปรรูปผลผลิตเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต และช่วยแก้ไขปัญหาราคาเห็ดราคาต่ำในบางฤดูกาล

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดฟางจากทลายปาล์มแบบไร้สารพิษโดยสามารถลดต้นทุนปัจจัยในการผลิต และเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกษตรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
2.เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยแปรรูปผลผลิตเห็ด
3.ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย ไร้สารพิษต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมถึงสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลผลิต 1.เทคโนโลยีการผลิตเห็ดฟางจากทลายปาล์มแบบไร้สารพิษโดยสามารถลดต้นทุนปัจจัยในการผลิต และเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การผลิตเชื้อเห็ดฟาง
KPI 1 : -ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
KPI 3 : -ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : -ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : -ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : -จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 120
KPI 7 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลผลิต 1.เทคโนโลยีการผลิตเห็ดฟางจากทลายปาล์มแบบไร้สารพิษโดยสามารถลดต้นทุนปัจจัยในการผลิต และเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การผลิตเชื้อเห็ดฟาง
ชื่อกิจกรรม :
- กิจกรรม การฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์  ผลเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 120คนๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
-ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
-ค่าจัดทำเอกสาร จำนวน 120 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท
-ค่าจัดทำแผ่นพับ จำนวน 1,000 แผ่นๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 63,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ จำนวน 1 คนๆ ละ 8 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
-หัวเชื้อเห็ดฟาง จำนวน 60 ถุงๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
อาจารย์ ดร.สุทธิรักษ์ 61 ย002
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล