12279 : โครงการประกวดแบบทางสถาปัตยกรรม “อุทยานการเรียนรู้สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม” (Knowledge Architectural Park) (61-1.2.2)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.รุ้งทอง เขื่อนขัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/2/2561 16:24:34
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์ (Go Eco U.)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  นักศึกษา ศิษย์เก่า คณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานยุทธศาสตร์
แผนงานรอง : แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
ผลผลิต : ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป
แผนงานการเรียนการสอน
งานสนับสนุนการจัดการศึกษา
กองทุนกิจการนักศึกษา
งบเงินอุดหนุน
เงินอุดหนุนทั่วไป
โครงการตามภารกิจยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1)
2561 110,700.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูวเดช  วงศ์โสม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.4 จำนวนรางวัลที่นักศึกษาและศิษย์เก่าได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.7 ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันต่าง ๆในระดับชาติหรือนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1-61-FAED ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อม เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการและวิชาชีพ
เป้าประสงค์ 1.1-61-FAED บัณฑิตมีคุณลักษณะเป็น GOOD DESIGNER
ตัวชี้วัด 1FAED61-4 จำนวนผลงานการออกแบบและงานสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ GO Eco U.
กลยุทธ์ FAED-1.2.1-61 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ (GOOD DESIGNER)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่มีเกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีภูมิทัศน์และหลักสูตรปริญญาโท ที่มุ่งเน้นความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพเกี่ยวกับการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มีแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะภายใต้แนวความคิด “U-KESF” อันประกอบไปด้วย 1.1 U: Unity to Diversity หลักสูตรระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร วิเคราะห์จุดเด่น เพื่อสร้างจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (Identity) แต่ทั้งนี้การสร้างความเข้มแข็งต้องไม่ขัดต่อแผนพัฒนามหาวิทยาลัย 1.2 K: Knowledge Architectural Park บูรณาการองค์ความรู้ของหลักสูตรเทคโนโลยีภูมิทัศน์ ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของ นักศึกษา อาจารย์ และผู้ประกอบการ รวมถึง ความร่วมมือระหว่างคณะ โดยใช้พื้นที่โดยรอบของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เป็นที่ปฏิบัติงานจริง 1.3 E: Ecological Architecture สร้างผลงานวิจัยที่ตอบสนองและแก้ปัญหาสังคม อำนวยประโยชน์ให้กับท้องถิ่น เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างคณาจารย์นักศึกษา ชุมชน สเกลขนาดเล็ก เช่น เทคโนโลยีของวัสดุ และวิธีการ ก่อสร้างที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สเกลขนาดใหญ่ ระดับเมือง ระดับภูมิภาค เช่น green city การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ การวิจัยเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนในท้องถิ่น 1.4 S: SUCCEED จัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อการออกแบบสิ่งแวดล้อม (Research Unit Center for Environmental Design = RUCED) ด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน เทคโนโลยีวัสดุก่อสร้าง ภูมิทัศน์ การอนุรักษ์ศิลปะ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำ ฯลฯจัดตั้งหน่วยบริการฝึกอบรมด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อม (Training Unit Center for Environmental Design = TUCED)ศาสตร์สมัยใหม่ หลักสูตรพิเศษที่เป็นข้อกำหนดจากองค์กรวิชาชีพ 1.5 F: Faculty Engagement บริหารงานโดยกระบวนการมีส่วนร่วม กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การใช้บัณฑิต ระดับภูมิภาค ประเทศ หรือต่างประเทศ ภายใต้กรอบพันธกิจหลักของคณะ บนพื้นฐานหลัก 4 ประการ  Partnership : ร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน  Mutual benefit : เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  Scholarship : มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  Social impact : เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ ที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่มุ่งเน้นการสร้างให้มหาวิทยาลัยแม่ โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศฯในอนาคต โครงการ Knowledge Architectural Park เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม และคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เกิดจากการการวิเคราะห์ SWOT ในระดับหน่วยงานที่มุ่งหวังในการสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ให้เป็นบัณฑิตที่มีแนวความคิดด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มีความรู้ด้านวิชาการด้านสถาปัตยกรรมกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมและด้านวิชาชัพที่มีจรรยาบรรณต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นบัณฑิตที่สามารถเป็นกำลังในการพัฒนาชาติ เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต รูปแบบโครงการ เป็นโครงการ Knowledge Architectural Park เป็นโครงการบูรณาการเรียนการสอนรายวิชาที่เปิดสอนภายในคณะ เช่น รายวิชาเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม พื้นฐานการก่อสร้างและการจัดการดูแลพื้นที่ กับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวของกับโครงการ ที่เปิดสอนภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เช่น รายวิชาด้านการบัญชี ด้านการท่องเที่ยว ด้านพลังงานทดแทน เป็นต้น เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณลานไทรหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็น Ecology Hubs ที่สอดแทรกแนวความคิด Architectural Ecology ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่การพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ ให้กับนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมและบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเป็นพื้นที่สร้างเสริมศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาในด้านการประกอบธุรกิจ การบัญชี เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพแก่นักศึกษาที่สนใจ นอกจากเป็นโครงการที่ประกอบไปด้วยความร่วมมือของหลายภาคส่วนด้านวิชาการและวิชาชีพในมหาวิทยาลัยมาโจ้แล้ว โครงการ Knowledge Architectural Park ยังสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ ที่จะเข้ามาช่วยถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการประกอบธุรกิจเพื่อเพิ่มมุมมองด้านการเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แก่ ร้านกาแฟ Amazon ที่เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ พร้อมทั้งฝึกความรู้ด้าน Barista ให้กับผู้สนใจ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับหน่วยงานเพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอนาคต พื้นที่กิจกรรมภายในโครงการ สามารถเป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานงานเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริการวิชาการของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ แก่หน่วยงานภายนอก หรือชุมชน ที่มีความประสงค์เข้าร่วมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อนำความรู้ด้านวิชาการไปสู่การพัฒนาชุมชนของตนเอง ในแนวยุทธศาสตร์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ “นิเวศวิทยาสถาปัตยกรรม”

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
3.1 เพื่อสร้างเป็นพื้นที่ Ecology Hub ที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถของนักศึกษาด้านการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่สังคมภายนอก
3.2 สร้างจิตสำนึกของการเป็นนักออกแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
3.3 เพื่อการบูรณาการการเรียนการสอนด้านวิชาการที่เปิดสอนภายในหน่วยงาน พัฒนาสู่ความสามารถด้านวิชาชีพการออกแบบสถาปัตยกรรม
3.4 บูรณาการความร่วมมือในระดับหน่วยงาน ระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม และคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อสร้างพื้นที่ที่สามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการจัดการประกวดแบบทางสถาปัตยกรรม “อุทยานการเรียนรู้สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม” (Knowledge Architectural Park)
KPI 1 : จำนวนผู้สมัครเข้าร่วมประกวดแบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ทีม 50
KPI 2 : จำนวนแบบที่ผ่านการประกวดและได้รับการพัฒนาต่อยอด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานประกวดแบบ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนพื้นที่ภายในคณะได้รับการพัฒนาตามแบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 พื้นที่ 1
KPI 5 : จำนวนผู้สมัครนำเสนอผลงานประกวดแบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการจัดการประกวดแบบทางสถาปัตยกรรม “อุทยานการเรียนรู้สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม” (Knowledge Architectural Park)
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมประกวดแบบทางสถาปัตยกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูวเดช  วงศ์โสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25 บาท x 30 คน x 1 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
เงินรางวัล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 105750.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมพัฒนาแบบรูปรายการก่อสร้าง แบบรายการประมาณราคา และรายการประกอบแบบ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูวเดช  วงศ์โสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (80 บาท x 15 คน x 1 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25 บาท x 15 คน x 2 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4950.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล