12280 : โครงการบูรณาการบริการวิชาการกับวิจัยและการเรียนการสอน: การสูงวัยเชิงบวกและการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
อาจารย์พีรดา ประจงการ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/2/2561 16:49:13
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/02/2561  ถึง  16/03/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายภายนอก จำนวน 25 คน ได้แก่ เกษตรกร อสม. เจ้าหน้าที่องค์กรบริหารท้องถืิ่นจากตำบลต่างๆ ตัวแทนหน่วยงานพัฒนาสังคม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอสันทราย กลุ่มเป้าหมายภายใน ได้แก่ นักศึกษาในรายวิชา ศท 202 จิตวิทยาการปรับตัว ศป 026 จิตวิทยาเชิงบวก และ ศท 302 สังคมและวัฒนธรรมไทย รวม 55 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ 2561 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พีรดา  ประจงการ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA-61ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ LA-61เป้าประสงค์ที่4.1 การบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่พัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA61-4.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่บูรณาการการบริการวิชาการกับการวิจัยหรือการเรียนการสอน
กลยุทธ์ LA-61-4.2 ส่งเสริมให้การบริการวิชาการมีการบูรณาการด้านการเรียน การวิจัย และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำคัญของประเทศที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสูู่สังคมสูงอายุ โดยเฉพาะการศึกษาและพัฒนาการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของแรงงานนอกระบบภาคเกษตร แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการศึกษากลุ่มประชากรที่เข้าไม่ถึงสิทธิ สวัสดิการ และความคุ้มครองต่าง ๆ จากรัฐ พบว่ามีการศึกษาค่อนข้างน้อยและไม่เฉพาะเจาะจง อีกทั้งการศึกษาในกลุ่มแรงงานนอกระบบภาคการเกษตรมีจำนวนน้อยมากทั้งที่เป็นกลุ่มประชาการที่มีสัดส่วนสูงกว่าแรงงานนอกระบบประเภทอื่น ๆ และเป็นกลุ่มแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานและระบบประกันสังคมไม่ครอบคลุมถึง จึงเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงไม่ว่าจากภาวะความผันผวนสภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการประกอบอาชีพ ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจากราคาพืชผลที่ไม่แน่นอน และจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่มแรงงานนอกระบบภาคการเกษตรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในระยะแรกคือสำรวจรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับสภาพโดยทั่วไปและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของแรงงานนอกระบบภาคการเกษตรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เสร็จสิ้นแล้วนั้น จึงทำให้มองเห็นสภาพ ปัจจัย และความต้องการในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุของแรงงานนอกระบบภาคเกษตรอำเภอสันทราย และเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยการเชิงปริมาณให้แก่แรงงานนอกระบบภาคเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยจึงจัดให้มีการบริการวิชาการให้ความรู้และคืนข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมายและให้ความรู้ในเร่ืองการสูงอายุเชิงบวก (Positive Aging)และวิธีการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ ซึ่งคาดหวังว่าการบริการวิชาการครั้งนี้จะช่วยผลักดันให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมฯ ที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของตนเอง รวมทั้งยังเกิดการบรูณาการบริการวิชาการ การวิจัยกับการเรียนการสอน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวข้างต้นและสร้างเสริมเจตคติเชิงบวกต่อการสูงอายุ การปรับตัวในสังคมสูงอายุอีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการสูงอายุเชิงบวก การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ และการจัดทำแแผนเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ
2. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสูงอายุเชิงบวก การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุและการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเข้าสูสังคมสูงอายุ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเป้าหมายภายนอก) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสูงอายุเชิงบวก สภาพ ปัจจัย ความต้องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุของแรงงานนอกระบบภาคการเกษรอำเภอสันทราย และการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมฯ
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเป้าหมายภายนอก) ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสูงวัยเชิงบวก สภาพ ปัจจัย ความต้องการเตรียมความพร้อมเข้าสูสังคมสูงอายุ และการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
ผลผลิต : 2. ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสูงอายุเชิงบวก การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุและการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ
KPI 1 : ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสูงวัยเชิงบวก การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ การจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเข้าสูงสังคมสูงอายุ ผ่านเกณฑ์การประเมินความเข้าใจร้อยละ 80 ขี้นไป
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเป้าหมายภายนอก) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสูงอายุเชิงบวก สภาพ ปัจจัย ความต้องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุของแรงงานนอกระบบภาคการเกษรอำเภอสันทราย และการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมฯ
ชื่อกิจกรรม :
บรรยายให้ความรู้เร่ืองการสูงวัยเชิงบวก, การคืนข้อมูลสภาพ ปัจจัย ความต้องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (ภาคเช้า)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 23/02/2561 - 23/02/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : 2. ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสูงอายุเชิงบวก การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุและการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ
ชื่อกิจกรรม :
ผู้เรียนร่วมฟังการบรรยาย และร่วมแลกเปลีย่นเรียนรู้ และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในกิจกรรมฝึกปฏิบัิตจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 23/02/2561 - 23/02/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล