12387 : โครงการศึกษาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดผักหวานป่า
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/3/2561 14:44:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
30/03/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ร
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 141,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรรณา  มังกิตะ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.4 พัฒนาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการศาสตร์พระราชา และเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัย
เป้าประสงค์ 1. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ให้บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัย เป็นที่ยอมรับในสังคมระดับชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.5 จำนวนโครงการสนองงานในพระราชดำริ/โครงการอพสธ /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ บูรณาการโครงการพระราชดำริกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงทางด้านการเกษตรและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ได้ขยายวิทยาเขตมายังจังหวัดแพร่เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับชุมชนแถบล้านนาตะวันออกมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี จึงตระหนักในบทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งคือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ตามธรรมชาติ การทดลองและวิจัยแก่นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และคนในชุมชน ที่มีความสนใจ ผักหวานป่า (Melientha suavis Pierre) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ OPILIACEAE เป็นพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงมาก มีอายุยืนยาวนาน เป็นร้อย ๆ ปี ใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบอ่อน ยอดอ่อน และช่อผล ผักหวานป่า เป็นพืชที่นำมาบริโภคกันเป็นเวลานานมาแล้ว เพราะผักหวานป่ามีรสชาติที่อร่อยและอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ อาทิ สารเบต้า-แคโรทีนอย วิตามินซี และวิตามิน บี 2 เป็นต้น (ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. 2548) อีกทั้งสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ มาทำยาได้ เช่น ราก ใช้เป็นยาเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใบ และราก ใช้รักษาแผล แก้ปวดท้อง เป็นต้น (ณัฏฐากร และบัณฑิต, 2552) ผักหวานป่าจัดเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีผู้บริโภคนิยมบริโภคกันมาก ความต้องการทางการตลาดสูง ปริมาณผลผลิตผักหวานป่าในธรรมชาติจึงไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ จึงทำให้เกิดการเก็บเกี่ยวใบผักหวานแบบตัดกิ่ง โค่นต้นเพื่อเก็บใบอ่อนให้ทันต่อผู้บริโภค จึงมีแนวโน้มว่าพืชผักชนิดนี้จะหาบริโภคได้ยาก และมีราคาแพงขึ้น ทั้งยังทำให้ต้นผักหวานป่ามีโอกาสสูญพันธุ์ได้ง่ายมากขึ้นด้วย ซึ่งวิธีการขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือการเพาะเมล็ด เพราะสามารถขยายพันธุ์ได้ในปริมาณมากและได้ผลผลิตดีกว่าวิธีการอื่น ๆ อย่างไรก็ตามการขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยเมล็ดมีข้อจำกัดที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ จากผลผักหวานป่าที่สุกและใหม่เท่านั้น โดยการเก็บเมล็ดพันธุ์มาปลูกจะเก็บได้เฉพาะในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เมื่อเก็บเมล็ดมาแล้วต้องทำการเพาะ ภายใน 7วัน เท่านั้น (วุฒิรัตน์ พัฒนิบูลย์ และสมเพชร วงเรียน. 2555) เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษาไว้นานจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกลดลงเร็วมาก ส่งผลให้ช่วงระยะเวลาการขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยเมล็ดค่อนข้างสั้น อีกทั้งชาวบ้านยังขาดความรู้ในเรื่องการเพาะขยายพันธุ์ผักหวานป่า ทำให้เพาะเมล็ดไม่งอก และสอบถามถึงองค์ความรู้ดังกล่าว ตลอดจนถึงเก็บเมล็ดผักหวานป่ามาให้ช่วยเพาะเมล็ดให้รวมทั้งจากการเก็บข้อมูลการกระจายพันธุ์ของผักหวานป่าในปี 2557 ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ พบว่า ผักหวานป่าปรากฏในพื้นที่เฉลี่ยเพียง 2 ต้นต่อไร่ ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการของชุมชน จากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการของคนในชุมชนใกล้เคียงพื้นที่อนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยฯ เช่นชุมชนบ้านแม่ทราย บ้านบุญแจ่ม บ้านน้ำพุน้อย ทุกชุมชน มีความต้องการอยากจะปลูกผักหวานป่าเพื่อเป็นแหล่งอาหาร แต่พบปัญหาว่าผักหวานป่าที่ปลูกเมล็ดมีอัตราการงอกต่ำมาก และผักหวานป่าที่ปลูกจากต้นกล้า มีอัตราการรอดตายที่ต่ำมาก เนื่องจากขาดองค์ความรู้ นักวิจัยได้ทำการศึกษาเบื้องต้นถึงวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดผักหวานป่าโดยการทดลองใช้บรรจุภัณฑ์และใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาวิธีการในการยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าให้นานขึ้น และมีอัตราการงอกค่อนข้างสูง สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นเดียวกับเมล็ดสดที่ไม่ผ่านการเก็บรักษา เพื่อให้สามารถปลูกขยายพันธุ์ผักหวานป่าได้ในช่วงระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตผักหวานป่าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นสามารถเก็บเมล็ดผักหวานได้นาน ประมาณ 60 วัน มีอัตราการงอกที่ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนักวิจัยคิดว่ายังมีประเด็นที่น่าศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาวิธียืดอายุการเก็บให้ได้นานขึ้น มีอัตราการงอกที่สูงขึ้น และอัตราการรอดตายที่สูงขึ้น ตลอดจนมีการเจริญของต้นกล้าที่ดี เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดสู่ชุมชนที่มีความสนใจต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2 เพื่อศึกษาวิธีการยืดอายุการเก็บเมล็ดผักหวานป่าให้นานขึ้น
3 เพื่อถ่ายทอดงานวิชาการด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและวิชาการที่เกี่ยวข้องสู่สังคม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการ การศึกษาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดผักหวานป่า
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดผักหวานป่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนรายวิชาที่นำไปบูรณาการในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 รายวิชา 4
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการ การศึกษาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดผักหวานป่า
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดผักหวานป่า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 30/03/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณา  มังกิตะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงานโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 5 เล่ม ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
5. ค่าจ้างเหมาพัฒนาองค์ความรู้ด้านการยึดอายุเมล็ดผักหวานป่า จำนวน 1 งาน ๆ ละ 19,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฎิบัติงาน จำนวน 10 คน ๆ ละ 20 วัน ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 30,000 บาท
3. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 13,000 บาท
4. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 10,000 บาท
5. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 5,200 บาท
6. ค่าวัสดุโฆษณาและเผยแพร่ เป็นเงิน 3,000 บาท
7. ค่าวัสดุก่อสร้าง เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 67,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 141000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล