12512 : การเสริมสร้างเครือข่ายชาวนาแบบมีส่วนร่วม สู่ระบบการจัดการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/5/2561 10:37:41
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/05/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  ผู้นำชุมชน วิสาหกิจชุมชน(โรงสี) ชาวนา/ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. อนุชา  กันทรดุษฎี
อาจารย์ ดร. ชมชวน  บุญระหงษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.6 รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างรายได้จากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA61-3 การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม
เป้าประสงค์ BA61-G9 มีหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม
ตัวชี้วัด BA61- KPI-17 จำนวนหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม (P.5)
กลยุทธ์ BA61-S9 สร้างหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกระแสการบริโภคอาหารอินทรีย์ (Organic Food) กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่ หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยจะให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยของอาหารและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ เกิดอาการเจ็บป่วยที่เป็นผลมาจากสารพิษ สารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหารและผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์และให้ความสนใจดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น ภาคการเกษตรของไทยต้องเตรียมความพร้อมทางด้านการเกษตร เพื่อรองรับอัตราการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงส่งเสริมธุรกิจการเกษตรในการผลักดันสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่อุตสาหกรรมในต่างประเทศมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในขณะที่การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้มีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่เป็นเป้าหมายสำคัญของงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Based Collaboration : ABC) หากมหาวิทยาลัยสามารถบูรณาการการทำงานข้ามสาขาวิชาและข้ามคณะ เพื่อสามารถตอบโจทย์การพัฒนาของพื้นที่ได้ จะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสำคัญและความสามารถของมหาวิทยาลัย ในฐานะกลไกโครงสร้างสำคัญที่จะรองรับการพัฒนาในพื้นที่ต่อไปในอนาคต กรณีสันทรายโมเดล โจทย์เพื่อการทดลองทำงานบูรณาการของมหาวิทยาลัย คือ การเชื่อมโยงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์เพื่อให้เกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สามารถผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและสามารถส่งออกหรือขายได้ในราคาสูง เป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อการปรับระบบการทำงานภายในมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จะสามารถส่งผลดีทั้งต่อการทำธุรกิจเกษตร และต่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการในมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน สิ่งแรกที่จะมุ่งทำแบบชี้เป้าคือ คณะทำงานต้องการที่จะเป็นผู้นำเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนระบบมาผลิตเกษตรอินทรีย์ ดังนั้น คณะทำงานเราเลือกข้าวซึ่งเป็นผลผลิตหลักของชุมชนสันทราย วัตถุประสงค์คือ ปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตข้าวอินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรชาวนามีรายได้อยู่ได้ คณะทำงานเราเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 30 มกราคม 2561 โดยการเข้าไปประชุมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของชุมชนเกื้อหนุนชาวนาอินทรีย์ ภายใต้หมวด 7.2 การเสริมสร้างหรือจัดตั้งเครือข่าย (เกษตรและตลาด) ในโครงการหลักคือ สันทรายโมเดล ได้ผลจากการจัดกิจกรรมวิเคราะห์สถานการณ์ของพื้นที่เป้าหมายและกิจกรรมการสำรวจข้อมูล และคัดเลือกผู้นำชุมชน พบว่า ปัญหาด้านเศรษฐกิจของคนในของชุมชนพื้นที่เป้าหมายมีหลายเรื่อง เช่น ครอบครัวมีหนี้สินเพิ่มขึ้น มีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย เป็นต้น สาเหตุของปัญหามีหลายประการ เช่นบางหมู่บ้านไม่มีที่ดินทำกิน และมีอาชีพรับจ้าง ทำให้มีรายจ่ายค่าอาหารสูง บางครอบครัวเป็น ชาวนาแต่ขายข้าวเปลือกราคาถูก (ข้าวเปลือก เหนี่ยวดิบราคากิโลกรัมละ 5 บาท) ขณะที่ทุกครอบครัวซื้อข้าวบริโภค (ซื้อข้าวเหนียว กิโลกรัมละ 25 บาท ข้าวเจ้า กิโลกรัมละ 30 บาท) จากความต่างของราคาข้าวดังกล่าวทำให้ ชาวนา และผู้บริโภคบางกลุ่มบางหมู่บ้าน มีความสนใจที่จะมาร่วมกันสร้างกลไกการตลาดข้าวและอาหารร่วมกัน โดยได้ดำเนินการ (1) ค้นหาแนวคิดและหน่วยจัดการกลางด้านข้าวที่ทำให้เกิดการสนับสนุนของกลุ่ม บริโภคที่อาศัยและทำงานอยู่ในพื้นที่อำเภอสันทรายและอำเภอใกล้เคียง เพื่อซื้อข้าวจากกลุ่มชาวนาในพื้นที่อำเภอสันทราย (2) ทำรวบรวมรายชื่อชาวนาและกลุ่มผู้บริโภคจากผู้มาประชุมที่สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก และคณะทำงานหน่วยจัดการกลางด้านข้าว (วันที่ 9 มีนาคม 61 เวลา 10.00 สถานที่โรงสีข้าวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จัดประชุมกลุ่มชาวนาในพื้นที่ตำบลหนองแหย่งเพื่อทำความเข้าใจและเขียนใบสมัครเข้าร่วมโครงชุมชนเกื้อหนุนชาวนา) และ (3) ได้ผู้เข้าร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานและแผนปฏิบัติงานร่วมกันสู่ธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์ ดังนั้น เพื่อให้การปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นไปได้อย่างยั่งยืน คณะทำงานต้องการถ่ายทอดแผนงานและองค์ความรู้สู่ผู้เกี่ยวข้อง โดยการเสริมสร้างเครือข่ายชาวนาแบบมีส่วนร่วม ยกระดับผู้ปลูกข้าวอินทรีย์เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์ โดยให้ความรู้และทำความเข้าใจต่อระบบการจัดการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์ ในบริบทอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ แบบครบวงจรทั้ง ๗ ระบบ ประกอบด้วย (๑) ระบบการจัดการธุรกิจเกษตร (๒) ระบบฐานข้อมูลข้าวอินทรีย์ (๓) ระบบการเพิ่มขีดความสามารถเกษตรกรและภาคี (๔) ระบบการจัดการเครือข่ายเกษตรกรและภาคี (๕) ระบบการบริหารจัดการเครือข่ายภาควิชาการ (๖) ระบบเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม (๗) ระบบการตลาดเพื่อสังคม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาเครือข่ายองค์กรสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย ชาวนา/ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์ ผู้บริโภคของตลาดเกษตรอินทรีย์สู่แนวทางการแนวทางการบริหารหน่วยจัดการกลางข้าว สู่ระบบการจัดการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์สำหรับอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิด “อุดมศึกษา หนุนการจัดการศึกษาบนฐานวิถีชีวิตชุมชน”
เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นด้านผลิตและตลาดเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : หลักสูตรอบรมระบบการจัดการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 40
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 80000
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : หลักสูตรอบรมระบบการจัดการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
วางแผนการให้บริการทางวิชาการ ประชาสัมพันธ์โครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/05/2561 - 30/06/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อนุชา  กันทรดุษฎี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าประชาสัมพันธ์ (ค่าไวนิล) จำนวน 3 ผืน ขนาด 2.5 x 4 เมตร (ตร.ม ละ 50 บาท) ราคาผืนละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1500.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมระบบการจัดการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์ แบบครบวงจรทั้ง ๗ ระบบ ประกอบด้วย (๑) ระบบการจัดการธุรกิจเกษตร (๒) ระบบฐานข้อมูลข้าวอินทรีย์ (๓) ระบบการเพิ่มขีดความสามารถเกษตรกรและภาคี (๔) ระบบการจัดการเครือข่ายเกษตรกรและภาคี (๕) ระบบการบริหารจัดการเครือข่ายภาควิชาการ (๖) ระบบเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม (๗) ระบบการตลาดเพื่อสังคม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2561 - 31/07/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อนุชา  กันทรดุษฎี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 150 บาท จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 24,000 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 5,600 บาท
3.ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 4 วันๆ ละ 2,500 บาท (รับส่งวิทยากรและขนวัสดุอุปกรณ์ในการบรรยาย) เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 39,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1.ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 4 วัน เป็นเงิน 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A๔, ปากกา, แฟ้มเอกสาร และค่าถ่ายเอกสารฯลฯ เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 62000.00
ชื่อกิจกรรม :
ประเมินผล สรุปผลการให้บริการ ติดตามผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2561 - 31/08/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อนุชา  กันทรดุษฎี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A๔, ปากกา, แฟ้ม, ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 12,000 บาท
2.ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกเครื่องพิมพ์ เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล