12558 : โครงการ แม่โจ้ฟาร์มอัจฉริยะ (MJU Smart Farming) และระบบสนับสนุนการทำการเกษตรสมัยใหม่ “เกษตรแม่โจ้ 4.0”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.มีนา ทาหอม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/6/2561 9:30:45
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/06/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1000  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 งบประมาณเงินรายได้ปรับครั้งที่ 2 ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ SPO 2561 650,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง นรมน  โลไทยสงค์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จำเนียร  ยศราช
รองศาสตราจารย์ ชัยยศ  สันติวงษ์
ดร. ณรงค์  ตนานุวัฒน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทองเลียน  บัวจูม
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.2 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.5 สร้างและพัฒนาชุมชนเป้าหมายด้านบริการวิชาการ และแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเพื่อยกระดับภาคการเกษตรของประเทศ หรือเกษตรไทย 4.0 มหาวิทยาลัยแม่โจ้เห็นว่าการพัฒนาการเกษตรไปสู่ยุค 4.0 ต้องทำการพัฒนาและยกระดับการทำฟาร์มการเกษตรด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงบุคลากรภาคการเกษตรไปพร้อมๆกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของระบบการทำการเกษตร ตลอดจนยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้กับเกษตรกรทุกสาขา และเพื่อเป็นการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่ความเป็นมืออาชีพ มีองค์ความรู้ มีทักษะในการทำการเกษตรเพื่อเป็นผู้นำด้านเกษตรกรรมในภูมิภาคและสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรที่ดีมีคุณภาพ โดยใช้ต้นทุนปัจจัยการผลิตที่ต่ำ ตลอดจนการทำเกษตรแบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการแข่งขันในตลาดโลกได้ ทีมคณาจารย์และนักวิจัยที่ทำงานด้าน Smart Farm and Agriculture Solutions ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบเกษตรแม่นยำและฟาร์มอัจฉริยะ ตลอดจนระบบสนับสนุนการทำการเกษตรสมัยใหม่มาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นพัฒนาการสร้างระบบการทำเกษตรสมัยใหม่ เกษตรอัจฉริยะให้สอดคล้องตามบริบทของเกษตรกรรมไทย โดยมีต้นทุนที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับเกษตรกร เครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์จำนวนมากถูกนำไปใช้งานจริงในแปลงการเพาะปลูกของเกษตรกรมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทางทีมนักวิจัยจึงมีแนวความคิดที่ต้องการบูรณาการงานวิจัยต่างๆเหล่านี้ เพื่อสร้างระบบการทำการเกษตรแบบฟาร์มอัจฉริยะด้วย Agri-Big Data ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นต้นแบบฟาร์มอัจฉริยะสมัยใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่ด้วยการทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี ICT ทั้งพืชและสัตว์ โดยมุ่งเน้นขยายผลไปสู่การใช้งานระดับชุมชน สังคม เพื่อส่งเสริมให้เกิดโครงการต้นแบบ Smart Farm ในทุกตำบล ในเขตจังหวัดภาคเหนือ และยังสอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ที่ต้องการให้เป็น Chiang Mai Smart City ซึ่งมี Smart Agriculture เป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตร เริ่มจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมและขยายผลไปสู่เกษตรรายอื่นๆในประเทศให้ปรับเปลี่ยนระบบการทำการเกษตรให้ทันสมัยและเป็นผู้นำทางการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนสร้างระบบฐานข้อมูลทางการเกษตรสำหรับพืชพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศเพื่อประโยชน์การนำข้อมูลมาใช้ในอนาคต สภาพปัญหา / ความต้องการ : ในโลกยุคปัจจุบันสภาพปัญหาด้านความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ข้อจำกัดด้านแรงงานภาคการเกษตร ต้นทุนด้านการผลิตที่สูงขึ้นและความต้องการสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยของผู้บริโภค มีผลกระทบโดยตรงกับการทำเกษตรกรรมในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเกษตรกรจะต้องผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับผู้บริโภค ในต้นทุนที่ต่ำและสามารถตรวจสอบย้อยกลับได้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ความเร่งด่วน : การนำเทคโนโลยีเกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (Agritronics) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันเทคโนโลยี IOT และเทคโนโลยีเซ็นเซอร์เพื่อการเกษตร ที่มี่ราคาถูกลงและสามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถนำมาประยุกต์เพื่อยกระดับการทำการเกษตรในประเทศ และ สร้าง Startup เพื่อสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งแอปลิเคชั่นของการนำเทคโนโลยีมาใช้ฟาร์มเพาะปลูก อาทิเช่น การเก็บบันทึกค่าปัจจัยต่างๆในฟาร์มด้วยเซ็นเซอร์ ระบบการควบคุมปัจจัยในฟาร์มแบบอัตโนมัติ การเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของพืชและการแพร่ระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช การควบคุมปัจจัยการเพาะปลูกแบบแม่นยำและอัตโนมัติ ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลที่ได้จากฟาร์ม เช่น การวางแผนการบริหารจัดการฟาร์ม การทำนายผลผลิตล่วงหน้า และระบบซื้อขายผลผลิตเกษตรล่วงหน้า เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยีเกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (Agritronics) และซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านเกษตรเป็นแนวทางการทำระบบเกษตรแนวทางใหม่ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและมีความยั่งยืน และเป็นความเร่งด่วนในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ขับเคลื่อนเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 ในหัวข้อ พัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer, พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP), การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบกระจายน้ำ แนวทางการดำเนินงาน : โครงการวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 3 ปี ในปีที่ 1 เน้นติดตั้งและพัฒนาระบบพื้นฐาน ทางด้านฟาร์มสมัยใหม่สำหรับพืช(ลำไย) และสัตว์(โคนม) ให้เป็นฟาร์มเกษตรแบบแม่นยำและฟาร์มอัจฉริยะ โดยติดตั้งเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆเพื่อตรวจวัดสภาพปัจจัยในการผลิตตลอดจนเครื่องมือทุ่นแรงทางการเกษตรอาทิเช่น โดรน (UAV) เพื่อการเกษตร สำหรับเก็บข้อมูลภาพถ่ายดิจิตอลเพื่อการประมวลผลและติดตามการเจริญเติบโตของพืชพรรณ และฉีดพ่นทางการเกษตร ระบบบันทึกผลและติดตามกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) บนพื้นที่นำร่องในฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมกับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เช่น Data center และ mobile application เพื่อรอบรับระบบฟาร์มอัจฉริยะ ส่วนในปีที่ 2 นั้น ขยายผลการพัฒนาระบบพื้นฐาน ทางด้านฟาร์มสมัยใหม่สำหรับพืชและสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ตลอดจนระบบการปลูกพืชในโรงเรือนและระบบการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงใน Plant Factory ระบบ smart Farm ทางด้านประมง และในปีที่2 มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เช่น ระบบควบคุมอัจฉริยะ Farm SCADA E-Farmer market และ traceability application ให้เกิดความสมบูรณ์ เพื่อพร้อมเก็บข้อมูลแบบ Big Data และ ทำการวิเคราะห์ และทำนายผลผลิตล่วงหน้า ให้สอดคล้องกับความต้องการวางแผนการผลิตและการตลาด พร้อมกับการวิเคราะห์ต้นทุนการลงทุน และประมวลต้นทุนการผลิตแบบฟาร์มอัจฉริยะในสเกลขนาดเล็ก และขนาดกลาง เปรียบเทียบกับการผลิตแบบปกติ เพื่อขยายผลในปีที่ 3 ต่อไป ในปีที่ 3 ขยายผลต้นแบบต้นแบบ แม่โจ้ฟาร์มอัจฉริยะ (MJU Smart Farming) และระบบสนับสนุนการทำการเกษตรสมัยใหม่ “เกษตรแม่โจ้ 4.0” สู้ ชุมชน สังคมภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และหารายได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยจาก มูลค่าในองค์ความรู้ของระบบเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ (Hardware and Software) และข้อมูลจากฐานข้อมูลทางการเกษตร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาฟาร์มต้นแบบของมหาวิทยาลัยแม่โจ้: MJU Smart Farm ด้วยนวัตกรรมการทำการเกษตรสมัยใหม่ (เกษตรอิเล็กทรอนิกส์; Agritonics) ด้วยระบบการทำการเกษตรแบบแม่นยำด้วย Agri-Big Data และระบบการเพาะปลูกอัจฉริยะ สำหรับพืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตในภาคการเกษตร
เพื่อพัฒนาต้นแบบซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นบริการด้านการเกษตร ที่ใช้สำหรับการติดตามและบริหารจัดการให้แก่ฟาร์มอัจฉริยะ และมาตรฐานการทำเกษตรอินทรีย์ดิจิตอลแม่โจ้ ที่ดำเนินการในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อจัดแสดงแก่เกษตรกรที่สนใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงของนักศึกษาและประชาชนผู้ที่สนใจ
เพื่อขยายต้นแบบฟาร์มอัจฉริยะ MJU Smart Farm ไปสู่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนขายผลสู่การใช้งานระดับตำบล และระดับจังหวัดในเขตภาคเหนือ
ขยายผลงานวิจัยเพื่อสร้างรายให้กับมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แม่โจ้ฟาร์มลำไยอัจฉริยะ
KPI 1 : ความพึงพอใจของผู้เข้าเยี่ยมชม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : รายได้สุทธิผลผลิตลำไยของฟาร์มเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 20
KPI 3 : ต้นแบบฟาร์มลำไยอัจฉริยะบนพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ฟาร์ม 1
ผลผลิต : แม่โจ้ฟาร์มโคนมอัจฉริยะ
KPI 1 : รายได้สุทธิผลผลิตฟาร์มวัวนมเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 15
KPI 2 : ความพึงพอใจของผู้เข้าเยี่ยมชม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ต้นแบบฟาร์มโคนมอัจฉริยะในพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ฟาร์ม 1
ผลผลิต : ระบบ IT สนับสนุนการทำการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และการตรวจสอบย้อนกลับ
KPI 1 : จำนวน หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนสร้างระบบ smart farm ลำไย และ smart farm โคนม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ราย/ปี 1
KPI 2 : ฐานข้อมูลด้านการผลิตเกษตร (MJU Agricultures Data center) พืชลำไย และฟาร์มโคนม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระบบ 2
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน/ปี 1000
KPI 4 : แอพพลิเคชั่นสนับสนุนการทำ smart farm ลำไย และ smart farm โคนม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 แอพพลิเคชั่น 5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แม่โจ้ฟาร์มลำไยอัจฉริยะ
ชื่อกิจกรรม :
ต้นแบบฟาร์มลำไยอัจฉริยะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางนรมน  โลไทยสงค์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์  สาครวาสี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
เครือข่ายเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดค่าปริมาณความชื้นในดิน (Soil moisture Sensor) จำนวน 4 ชุดๆ ละ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
เซ็นเซอร์วัดปัจจัยสภาพอากาศ
(weather station) จำนวน 1 ชุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ระบบ Camera Farm จำนวน 1 ระบบประกอบด้วยชุดกล้อง CCD อินฟาเรด 8 ตัวพร้อมกล่องรับสัญญาณภาพ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
อุปกรณ์ระบบจ่ายน้ำ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ค่าพัฒนาโปรแกรมการฉีดพ่นสารฮอร์โมน ปุ๋ย ชีวภัณฑ์ ทางการเกษตรด้วย UAV แอพพลิเคชั่นาการทำนายผลผลิตล่วงหน้า จำนวน 3 โปรแกรม/แอพพลิเคชัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ระบบการให้สารละลายปุ๋ยอัตโนมัติ 1 ระบบ1 ระบบ ระบบละ 30,000 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 280000.00
ชื่อกิจกรรม :
แม่โจ้ฟาร์มโคนมอัจฉริยะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์นนท์  ปิ่นเงิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ชุดอุปกรณ์ที่กรองและตรวจวัดปริมาณน้ำนมอัจฉริยะผ่านระบบ IoT เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
เซ็นเซอร์เพ่ือตรวจวัดสภาพแวดล้อมทั้งในโรงเรือนและนอกโรงเรือน เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ชุดซอฟต์แวร์ต้นแบบช่วยในการตัดสินใจจัดการฟาร์มโคนม โดยสามารถระบุตัวโครายตัว พร้อมทั้งทำงานร่วมกับอุปกรณ์ เป็นเงิน 100,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
ผลผลิต : แม่โจ้ฟาร์มโคนมอัจฉริยะ
ผลผลิต : ระบบ IT สนับสนุนการทำการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และการตรวจสอบย้อนกลับ
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำฐานข้อมูลด้านการผลิตเกษตร (MJU Agricultures Data center) พืชลำไย และฟาร์มโคนม และสร้างเวปไซต์และเพจเฟสบุ๊กเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและเป็นช่องทางในการจำหน่ายผลผลิตของโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางนรมน  โลไทยสงค์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อุกฤษณ์  มารังค์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ค่าจ้างเหมาพัฒนาระบบ E-Farmer market
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำฐานข้อมูลด้านการผลิตเกษตร (MJU Agricultures Data center) พืชลำไย และฟาร์มโคนม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 170000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล