12749 : โครงการกองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคม ชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/9/2561 9:54:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/08/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  35  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายจำนวน 35 คน ประกอบด้วย 1. อาจารย์ จำนวน 1 คน 2. เจ้าหน้าที่ จำนวน 1 คน 3. นักศึกษา จำนวน 18 คน 4. บุคลากรภายนอก จำนวน 15 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบยุทธศาสตร์ที่ 1 2561 4,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.3 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนานักศึกษา 5 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ก่อนสำเร็จการศึกษา
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.การผลิตบัณฑิตทีเชี่ยวชาญทางด้านวิชาการและวิชาชีพตรงตามความต้องการของสังคม
เป้าประสงค์ 4.นักศึกษามีทักษะชีวิต เก่ง ดี มีความสุข
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละของนักศึกษาและศิษย์เก่าที่เข้าร่วมกิจกรรม
กลยุทธ์ 1.ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาและศิษย์เก่าให้มีทักษะชีวิต เก่ง ดี มีสุข
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากกระแสของคนในสังคม ที่เกิดความตื่นตัว เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ความเป็นประชาธิปไตยของสังคมไทย ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกำหนดทิศทางการพัฒนามากขึ้น การให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยการเคารพสิทธิความเป็นมนุษย์ และความเท่าเทียมกัน ของคนในสังคม ประกอบกับการที่กระแสของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ก่อให้เกิดความตื่นตัว ในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ ดังนั้น การท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่มุ่งสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน อันหมายถึง การท่องเที่ยวซึ่งเกิดจากความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และชุมชนเป็นเจ้าของทรัพยากรท่องเที่ยวหรือได้รับความเห็นชอบ จากเจ้าของหรือผู้ดูแลรับผิดชอบทรัพยากรท่องเที่ยว โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ของผู้ที่เกี่ยวข้อง และให้สมาชิกในชุมชนท้องถิ่นนั้นมีส่วนร่วมในการจัดการตลอดกระบวนการ เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการสร้างจิตสำนึกให้ทุกฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบต่อระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (อำนาจ, 2549) จังหวัดชุมพร เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกลุ่ม/องค์กรและ หน่วยงานภาคีที่ทำกิจกรรมการพัฒนาร่วมกับชุมชน โดยกระบวนการร่วมกันทำงานของภาคีสมาชิกอันประกอบด้วย ภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ภายใต้เครือข่าย “จากภูผาสู่มหานที” อันประกอบไปด้วย เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เครือข่ายธนาคารต้นไม้ และเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นเครือข่ายย่อยที่เพิ่งมีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2552 ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร (กทท.ดชช.ชพ.)” ซึ่งปณิธานร่วมของสมาชิกเครือข่าย ฯ เพื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวางทิศทางเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย โดยวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่ายฯ เพื่อประสานความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย รวมทั้งเป็นการร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชนสมาชิก ภายในเครือข่าย และขยายแนวคิดดังกล่าวสู่แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ซึ่งการขับเคลื่อนเครือข่ายฯ เป็นการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาเครือข่ายฯ ที่สมาชิกชุมชนเครือข่ายมีส่วนร่วม อันได้แก่ 1) แผนพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร 2) แผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ 3) แผนพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากร 4) แผนการติดตามและประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยว ดังนั้น ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยฯ ที่เปิดการเรียนการสอนด้านการเกษตรและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก จึงควรมีบทบาทในการรับใช้สังคม โดยเริ่มต้นจากภายในมหาวิทยาลัย (ระเบิดจากภายใน) ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยฯ ด้วยการพัฒนาฐานการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับกิจกรรมการเรียนการสอนและการบูรณาการความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรประจำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่นักศึกษา บุคคลากร ประชาชนภายในท้องถิ่น และบุคคลทั่วไป ซึ่งคาดว่าประโยชน์เหล่านี้จะสามารถขยายผลสู่การนำกลับไปใช้ที่บ้าน และในชีวิตประจำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป พร้อมทั้งเป็นกิจกรรมที่สามารถสอดรับกับการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติภายในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพรและพื้นที่เชื่อมโยงในจังหวัดใกล้เคียง กอปรกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับความไว้วางใจจากชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ ให้เป็นเลขานุการเครือข่ายฯ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดชุมพร ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับเครือข่ายภายในจังหวัด พร้อมทั้งเป็นการหนุนเสริมศักยภาพขององค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ให้เป็นไปตามกรอบแผนงาน และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย ที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับองค์กร จนถึงระดับประเทศ นำไปสู่การพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้โครงการดังกล่าว สามารถบูรณาการกับภาระงานตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในทุกสาขาวิชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวมกลุ่มคนจิตอาสา รับใช้สังคม 2) เรียนรู้บริบทชุมชนบนพื้นฐานธรรมชาติ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) รับใช้สังคมสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มต้นจากภายในมหาวิทยาลัย (ระเบิดจากภายใน) ด้วยการพัฒนาฐานการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับกิจกรรมการเรียนการสอนและการบูรณาการความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรประจำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ควบคู่กับการรับใช้สังคมภายนอกโดยมุ่งเน้นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนภายในชุมชนสมาชิกสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษาและประชาชนท้องถิ่นด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาชุมชน การจัดการทรัพยากร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น โดยจัดขึ้น ณ แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบางสน อำเภอปะทิว โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ อำเภอเมือง และชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2561

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อรวมกลุ่มคนจิตอาสารับใช้สังคม โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ และรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
2. เพื่อให้กลุ่มเยาวชนเรียนรู้บริบทชุมชนบนพื้นฐานธรรมชาติ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านรูปแบบการเที่ยวรับใช้สังคม
3. เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และร่วมรับใช้สังคมตามความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : รองรับกิจกรรมการเรียนการสอนและการบูรณาการความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรประจำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ควบคู่กับการรับใช้สังคมภายนอกโดยมุ่งเน้นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนภายในชุมชนสมาชิกสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
KPI 1 : -จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 35
KPI 2 : -ร้อยละการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : รองรับกิจกรรมการเรียนการสอนและการบูรณาการความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรประจำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ควบคู่กับการรับใช้สังคมภายนอกโดยมุ่งเน้นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนภายในชุมชนสมาชิกสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
1. โดยรวมกลุ่มคนจิตอาสารับใช้สังคม ในการเข้าไปเรียนรู้บริบทชุมชนบนพื้นฐานธรรมชาติวิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น และปฏิบัติการ รับใช้สังคมสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น องค์การร่วมพัฒนาพื้นที่ชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/08/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารเช้า จำนวน 35 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
-ค่าอาหารเย็น จำนวน 35 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
-ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (รถยนต์ปฏิบัติงาน) เป็นเงิน 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุโฆษณาและเผยแพร่ (ป้ายไวนิล) ขนาด 4*2 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1.วันดำเนินกิจกรรมอาจมีฝนตก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1.หาอุปกรณ์กันฝนมาช่วย เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล