13174 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบนวัตกรรมบล๊อกซีเมนต์มวลเบานำแสงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ภาวิณี ชัยวุฒิ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/10/2561 11:13:22
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  ชุมชน สถานประกอบการ เจ้าของกิจการ นักออกแบบ สถาปนิก และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ.2562 2562 1,000,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.1 ร้อยละของงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 22 22. จำนวนองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (Vision KPl)
กลยุทธ์ 4.1.1 พัฒนาองค์ความรู้ / ฐานเรียนรู้ที่มีศักยภาพของมหาวิทยาลัย และผลักดันสู่การยอมรับ (ดูงาน ฝึกอบรม เชิญเป็นวิทยากร นำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ) ในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 23 23. ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 4.1.2 พัฒนาหลักเกณฑ์ในการของบประมาณบริการวิชาการให้เอื้อต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ การ บูรณาการ และการทำงานเป็นทีม
เป้าประสงค์ 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 22 22. จำนวนองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (Vision KPl)
กลยุทธ์ 4.1.1 พัฒนาองค์ความรู้ / ฐานเรียนรู้ที่มีศักยภาพของมหาวิทยาลัย และผลักดันสู่การยอมรับ (ดูงาน ฝึกอบรม เชิญเป็นวิทยากร นำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ) ในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 23 23. ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 4.1.2 พัฒนาหลักเกณฑ์ในการของบประมาณบริการวิชาการให้เอื้อต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ การ บูรณาการ และการทำงานเป็นทีม
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 22 22. จำนวนองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (Vision KPl)
กลยุทธ์ 4.1.1 พัฒนาองค์ความรู้ / ฐานเรียนรู้ที่มีศักยภาพของมหาวิทยาลัย และผลักดันสู่การยอมรับ (ดูงาน ฝึกอบรม เชิญเป็นวิทยากร นำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ) ในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 23 23. ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 4.1.2 พัฒนาหลักเกณฑ์ในการของบประมาณบริการวิชาการให้เอื้อต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ การ บูรณาการ และการทำงานเป็นทีม
เป้าประสงค์ 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 22 22. จำนวนองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (Vision KPl)
กลยุทธ์ 4.1.1 พัฒนาองค์ความรู้ / ฐานเรียนรู้ที่มีศักยภาพของมหาวิทยาลัย และผลักดันสู่การยอมรับ (ดูงาน ฝึกอบรม เชิญเป็นวิทยากร นำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ) ในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 23 23. ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 4.1.2 พัฒนาหลักเกณฑ์ในการของบประมาณบริการวิชาการให้เอื้อต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ การ บูรณาการ และการทำงานเป็นทีม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบบล๊อกซีเมนต์มวลเบานำแสงนี้ ต้องการพัฒนาวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งทางเลือกให้กับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุก่อสร้างหนึ่งที่ค่อนข้างมีความสำคัญเนื่องใช้เป็นวัสดุประสานหลักของงานก่อสร้าง และได้มีการศึกษาและวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานในการกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ลงและลดการเกิดมลภาวะจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ปัจจุบันบล็อกซีเมนต์ได้รับความสนใจและถูกพัฒนาให้เป็นวัสดุใหม่อย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการนี้สนใจพัฒนาวัสดุกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีความสว่างที่สุดและให้มีฟังก์ชันหลากหลายและถูกปฏิวัติให้เป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นวัสดุทางเลือกใหม่สำหรับงานโครงสร้างและวัสดุตกแต่งสำหรับงานทางด้านสถาปัตยกรรมที่สามารถนำใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้โครงการนี้ได้เล็งเห็นถึงพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย นั่นคือ ยางพาราจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของประเทศไทย แต่ทั้งนี้ปัจจุบันมียางสังเคราะห์เป็นคู่แข่งการตลาดที่สำคัญ ทำให้บางช่วงราคายางพาราประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ปัญหาราคายางเป็นปัญหาใหญ่มากของประเทศไทยในปัจจุบัน ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางหลายล้านคน ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างลึกซึ้งต่อเกษตรกร และส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวม ดังนั้นในปัจจุบันได้มีนักวิจัยจำนวนมากให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราตั้งแต่ผลผลิตต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้ดียิ่งขึ้นและคิดค้นสรรหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีของยางพาราให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์แปรรูปที่หลากหลาย ซึ่งโครงการวิจัยนี้มีความสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพาราในส่วนของผลผลิตปลายน้ำเพื่อการวิจัยผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างแนวใหม่ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบนวัตกรรมบล็อกซีเมนต์มวลเบานำแสงนี้ บนพื้นฐานแนวความคิด สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำวัสดุซีเมนต์ผสมกับน้ำยางพาราดิบ (เป็นสารผสมเพิ่ม) และวัสดุที่เหลือใช้ทางเกษตรและวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมบางส่วน ซึ่งวัสดุเหลือใช้และวัสดุพลอยได้นี้เป็นวัสดุปอซโซลาน (วัสดุปอซโซลานเป็นวัสดุที่มีซิลิกา (SiO2) และอลูมินา (Al2O3) เป็นองค์ประกอบหลัก) ซึ่งวัสดุปอซโซลานนี้สามารถเกิดปฏิกิริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาไฮเดรชันระหว่างซีเมนต์กับน้ำ แล้วเกิดผลิตภัณฑ์เป็นแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับบล๊อกซีเมนต์ได้ดีขึ้น อีกทั้งการใส่เส้นใยแก้วนำแสงเข้าไปเพื่อช่วยกำหนดทิศทางการนำแสงและยังช่วยเพิ่มความสามารถในการับแรงได้มากขึ้นด้วย สำหรับสมบัติทางกายภาพและเชิงกลด้านการับแรงอัดนั้น พบว่าบล๊อกซีเมนต์มวลเบานำแสงนี้มีสมบัติที่ดีเทียบเท่ากับบล็อกซีเมนต์เพสต์ (ซีเมนต์ผสมกับน้ำ) ดังนั้นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบบล๊อกซีเมนต์มวลเบานำแสงนี้ได้นำแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ประโยชน์จากพืชเศรษฐกิจและใช้วัสดุเหลือใช้จากเกษตรและวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นวัสดุก่อสร้างแนวใหม่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างและเป็นวัสดุตกแต่งทางด้านสถาปัตยกรรม ต้นแบบผลิตภัณฑ์บล็อกซีเมนต์นำแสงในโครงการนี้ แสดงดังภาพที่ 1 ซึ่งต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อให้มีคุณสมบัติและคุณภาพเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล และใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น โดยใช้เป็นวัสดุตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคารจนกระทั่งเป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นแนวทางเลือกใหม่ให้กับอุตสาหกรรมก่อสร้างและสถาปัตยกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์บล็อกซีเมนต์นำแสงนี้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการประกวด ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน Korea International Women's Invention Exposition (KIWIE 2017) ณ ประเทศเกาหลีใต้ และได้รับรางวัลจากการประกวด 3 รางวัล ดังนี้ 1) เหรียญทอง (Gold award) ของงาน KIWIE 2017 2) รางวัลFIRI Award for the Best Invention จาก The 1st Institute inventors and Researcher in I.R. IRAN และ 3) รางวัลThe Germany Special Prize จาก Mr. Winfried STURM (Dipl.-Phys.), Manager KIT-Hardware-AG ซึ่งรางวัลที่ได้รับยังเป็นเพียงต้นแบบที่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับแนวความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตบล๊อกซีเมนต์ ซึ่งยังคงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก) และสามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับกระบวนการผลิตบล๊อกซีเมนต์ทางเลือกใหม่ โดยให้ชุมชนหรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างได้มีความรู้ในการเลือกใช้วัตถุดิบจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดมลภาวะทางอากาศ จากการลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมบล็อกซีเมนต์มวลเบานำแสงเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (มอก.) และใช้งานเชิงพาณิชย์
2.เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมบล็อกซีเมนต์มวลเบานำแสงให้มีรูปแบบต่างๆ สามารถเป็นวัสดุตกแต่งทางด้านสถาปัตยกรรม จนกระทั่งเป็นวัสดุสำหรับงานโครงสร้างได้
3.เพื่อลดปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมและกำจัดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัสดุพลอยได้ทางอุตสาหกรรม
4.เพื่อจัดโครงการอบรมหรือทำกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การเลือกใช้วัสดุเหลือใช้จากเกษตรและวัสดุพลอยได้ทางอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์และสามารถนำมาเป็นส่วนผสมเพื่อทดแทนปูนซีเมนต์ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่สนใจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบนวัตกรรมบล๊อกซีเมนต์มวลเบานำแสง
KPI 1 : จำนวนผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ผลิตภัณฑ์ 5
KPI 2 : ร้อยละของการดำเนินงานกิจกรรมในโครงการที่เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของการดำเนินงานกิจกรรมในโครงการที่เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : จัดอบรมหรือกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ครั้ง 2
KPI 5 : การยื่นจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตรเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและต้นแบบผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ผลิตภัณฑ์ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบนวัตกรรมบล๊อกซีเมนต์มวลเบานำแสง
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบนวัตกรรมบล๊อกซีเมนต์มวลเบานำแสงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
อาหารว่าง (30 บาท x 2 มื้อ x 20 คน x 2 ครั้ง) =2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
อาหารกลางวัน (100 บาท x 1 มื้อ x 20 คน x 2 ครั้ง) = 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จัดจ้างเหมาวิเคราะห์โครงสร้างผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ๊กซ์ (XRD) 10 ตัวอย่าง 2 เดือน 750 บาท 2 ครั้ง 30,000
- จัดจ้างเหมาวิเคราะห์ธาตุและสารประกอบต่างๆ ของวัตถุดิบด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ (XRF) 10 ตัวอย่าง 2 เดือน 750 บาท 2 ครั้ง 30,000
- จัดจ้างเหมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ด้วยเทคนิคการกระจายพลังงานรังสีเอ๊กซ์ (EDS) 10 ตัวอย่าง 5 เดือน 150 บาท 2 ครั้ง 15,000
- จัดจ้างเหมาวิเคราะห์ โครงสร้างเคมี พันธะเคมี ด้วย เครื่องฟลูเรียร์ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรดสเปคโทรมิเตอร์ (FTIR) 10 ตัวอย่าง 1 เดือน 1,500 บาท 2 ครั้ง 30,000
- จัดจ้างเหมาการถ่ายภาพเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาค (SEM) 10 ตัวอย่าง 5 เดือน 300 บาท 2 ครั้ง 30,000
จัดจ้างเหมาทดสอบสมบัติต่างๆ เช่น สมบัติทางกล สมบัติทางกายภาพ เป็นต้น 5 ตัวอย่าง 2 เดือน 1,500 บาท 1 ครั้ง 15,000
จัดจ้างเหมาทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 5 ผลิตภัณฑ์ 1 เดือน 3,000 บาท 2 ครั้ง 30,000
จัดจ้างเหมาการออกแบบแม่พิมพ์ 5 ชิ้น 2 เดือน 4,000 บาท 1 ครั้ง 40,000
จัดจ้างเหมาออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ 5 ชิ้น 2 เดือน 2,000 บาท 1 ครั้ง 20,000
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 240,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างนักวิจัยวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี 9 เดือนๆ ละ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (2 คน*6 ชม.*1200 บาท * 2ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
จัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ผงอนุภาคนาโนอะลูมิเนียม, ยิปซั่ม, แคลเซียมออกไซด์, กราฟีน, ผงอนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์, ผงอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์, แผ่นพลาสติกอะคิลิก เป็นต้น 10 ชนิด 6 เดือน 4,500 บาท 2 ครั้ง 540,000
จัดซื้อวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4, หมึกพิมพ์ เป็นต้น 5 ชนิด 6 เดือน 750 บาท 2 ครั้ง 45,000
- ค่าวัสดุอื่นๆ = 4,800 บาท 5 ชิ้น 1 วัน 480 บาท 2 ครั้ง 4,800
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 589,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1000000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล