13264 : โครงการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตการเกษตร เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สากล โดยใช้แนวคิดการตลาดนำการผลิต ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 (ภาคเหนือตอนบน)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/10/2561 9:19:26
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/11/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  270  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2562 2,800,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.2 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างรายได้จากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร
เป้าประสงค์ 3.1 เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ให้บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร เป็นที่ยอมรับในสังคมระดับชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.1 จำนวนกิจกรรม/โครงการที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรม/โครงการ ที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและผลผลิตเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างรายได้ ฟี้นฟูความเข้มแข็งของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถของภาคเกษตรในตลาดโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ให้เป็นวาระแห่งชาติในปี พ.ศ. 2548 อีกทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นทางเลือกของการพัฒนาไปสู่ประโยชน์สุขของคนและสังคมอย่างยั่งยืน ปัญหาการพัฒนาเกษตรกรรมแผนใหม่ภายหลังการปฏิวัติเขียว (Green Revolution) ที่ก่อให้เกิดกระแสเกษตรเชิงเดี่ยวหรือเกษตรเคมีที่เน้นผลิตพืชประเภทเดียวเป็นหลักหรือเน้นผลิตพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุด โดยพึงพาปัจจัยภายนอกทั้งสารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ซึ่งส่งผลกระทบทางลบมากขึ้นต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ทำให้เกิดแนวคิดการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ความยั่งยืน (Sustainability) หมายถึง ศักยภาพในการผลิตที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทำให้ฐานทรัพยากร ทรุดโทรมหรือสูญสิ้นไป และสามารถยกระดับมาตรฐานการครองชีพพร้อมกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรด้วย เกษตรยั่งยืนจึงเน้น “ความมั่นคง” เป็นหลัก มีกรอบแนวคิดที่กว้าง และมีความเป็นอิสระในรูปแบบการปฏิบัติที่ครอบคลุมเกษตรกรรมหลายระบบในปัจจุบัน เช่น เกษตรปลอดสารเคมี เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ วนเกษตร เกษตรเชิงพลวัตร เกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้ง เกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์มีรากฐานจากวิถีเกษตรดั้งเดิมของบรรพบุรุษไทย ตั้งแต่เริ่มมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งไม่ใช้สารเคมี โดยมีหลักการและเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างจากระบบเกษตรยั่งยืนอื่นๆ คือ เกษตรอินทรีย์เน้นทำการเกษตรที่มี“ความมั่นคงและปลอดภัย” ด้วยการสร้างสมดุลและอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด เพื่อผลิต อาหารที่มี่คุณภาพสูงทางโภชนาการ และปลอดภัยต่อสุขภาพ ขณะเดียวกันมีการฟื้นฟูระบบนิเวศเกษตรด้วยการปรับปรุงบำรุงดินจากอินทรีย์วัตถุ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ พร้อมทั้งสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ใช้พันธุ์พืชและสัตว์ที่มี่การดัดแปลงทางพันธุกรรม รวมทั้งสร้างระบบควบคุมมลพิษภายในฟาร์มและป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอก นอกจากนี้ลักษณะเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของเกษตรอินทรีย์ คือ เน้น “การบริหารจัดการ” ที่ให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านปัจจัยการผลิตและการสนองความต้องการของตลาด เพื่อเป็นหลักประกันต่อผู้ผลิตและสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค โดยมีกระบวนการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตลอดทั้งกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ และการขนส่งถึงผู้บริโภคตามข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสากล โดยองค์กรที่ได้รับการเชื่อถือ อีกทั้ง เน้น “ความเป็นธรรม” ในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน มีความโปร่งใสในการจัดการ เท่าเทียมกันในการจ้างงาน เคารพในวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากหลักการที่ชัดเจนและข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสากลของการทำเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้หลากหลายในเชิงสหวิทยาการทั้งที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐาน และองค์ความรู้ใหม่ โดยเน้นการเสริมสร้างทักษะให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในด้านการจัดการธุรกิจ การตลาดเชิงกลยุทธ์ และเทคนิคการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของยุคโลกาภิวัตน์ด้วยอุดมการณ์ที่เน้นการพึ่งตนเอง รับผิดชอบต่อสังคม และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติ เพื่อให้การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยสามารถแข่งขันอย่างยั่งยืนในเวทีการค้าโลก เสริมสร้างคุณภาพชีวิตชุมชนและผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนสร้างโอกาสการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านเกษตรอินทรีย์ของโลกในอนาคต ประเทศไทยเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดต่างๆ กว่า 30 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง โดยในปี 2559 ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ประมาณ 4,000 ล้านบาท เป็นการส่งออกประมาณ 2,400 ล้านบาท (หรือร้อยละ 60) และคาดว่าในปี 2560 นี้ ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์สามารถเติบโตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับก่อน สินค้าที่สำคัญได้แก่ ข้าว พืชผัก ผลไม้ เป็นต้น มีเกษตรกรหลายรายได้พัฒนาการผลิตเกษตรอินทรีย์จนได้รับมาตรฐานสากล อาทิ มาตรฐาน IFOAM มาตรฐานของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แต่มีเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์อีกจำนวนมากยังอยู่ในระดับที่ควรได้รับการพัฒนาและสนับสนุนการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้มากขึ้น จำเป็นต้องมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาให้ความรู้ในด้านต่างๆ ได้แก่ การแปรรูป การสร้างตราสินค้า การขอรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับสากล เชื่อมโยงสู่ตลาดโลก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติจึงได้มีหลักสูตรอบรมฝึกปฏิบัติเชิงลึกให้กับเกษตรกรและบูรณาการการเรียนการสอนด้านเกษตรอินทรีย์ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้นักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านส่งเสริมและพัฒนาตลาดสินค้าอินทรีย์มีความรู้และศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพิ่มช่องทางการตลาดการสร้างเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์และผู้ประกอบการ สามารถถ่ายทอดและเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตการเกษตร เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สากล โดยใช้แนวคิดการตลาดนำการผลิต ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 (ภาคเหนือตอนบน)
2 เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนในหลักสูตร ในด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อสร้างเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart farmer)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตการเกษตร เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สากล โดยใช้แนวคิดการตลาดนำการผลิต ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 (ภาคเหนือตอนบน)
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 270
KPI 2 : การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 3 : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สากลเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 70
KPI 4 : การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามที่กำหนด
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 2.8
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตการเกษตร เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สากล โดยใช้แนวคิดการตลาดนำการผลิต ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 (ภาคเหนือตอนบน)
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การอบรมเสวนาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตการเกษตร เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สากล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาผู้ประสานงานโครงการ (วุฒิ ป.ตรี) จำนวน 1 คน ๆ ละ 9 เดือน ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 135,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาถอดบทเรียนเพื่อจัดทำองค์ความรู้และผลิตหนังสือคู่มือหลักสูตรการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตการเกษตรเพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สากล จำนวน 350 เล่ม ๆ ละ 320 บาท เป็นเงิน 112,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำองค์ความรู้แนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ในแบบภาพเคลื่อนไหว จำนวน 5 ตอน ๆ ละ 65,000บาท เป็นเงิน 325,000 บาท
4. ค่าเช่าคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 9 เดือน ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท
5. ค่าเช่าโปรเจคเตอร์พร้อมอุปกรณ์ฉาย จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 9 เดือน ๆ ละ 1,500 บาทเป้นเงิน 13,500 บาท
6. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คน ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 60,750 บาท
7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 28,350 บาท
8. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับประสานงานลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกอบรมเสวนา จำนวน 1 คัน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 7 ครั้ง เป็นเงิน 17,500 บาท
9. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
10. ค่าจ้างเหมาจัดทำวุฒิบัตร จำนวน 300 ใบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
11. ค่าที่พัก (พักคู่) จำนวน 4 ห้อง ๆ ละ 3 คืน ๆ ละ 800 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 28,800 บาท
12. ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมและตกแต่งสถานที่ จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 720,600.00 บาท 0.00 บาท 47,800.00 บาท 768,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา จำนวน 2 คน ๆ 3 วัน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 86,4000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 86,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 50,000 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 35,050 บาท
3. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 15,000 บาท
4. ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 108,050.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 962850.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงลึกด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การควบคุมภายใน และการจัดเตรียมเอกสารในการขอคำรับรองเพื่อยกระดับแปลงเกษตรอินทรีย์ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติและเกษตรกรในเครือข่ายให้ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 10 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาตรวจวิคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ และผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 80 ตัวอย่าง ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 80,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อใช้ในการตรวจประเมินแปลงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล จำนวน 1 งาน ๆ ละ 50,000 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาในการตรวจประเมินแปลงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล จำนวน 1 งาน ๆ ละ 145,940 บาท เป็นเงิน 145,940 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายหน้าแปลง จำนวน 16 ป้าย ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท
6. ค่าจ้างเหมาถอดบทเรียนเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านมาตราฐานเกษตรอินทรีย์ในแบบภาพเคลื่อนไหว จำนวน 2 ตอน ๆ ละ 65,000 บาท เป็นเงิน 130,000 บาท
7. ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 2 คน ๆ ละ 22 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 10,560 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 300,000.00 บาท 0.00 บาท 181,500.00 บาท 481,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 48,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 48,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 100,000 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 50,000 บาท
3. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 729500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 บูรณาการการเรียนการสอนด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตร จำนวน 1 คน ๆ ละ 9 เดือน ๆ ละ 8,000 บาท เป็นเงิน 72,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 เดือน ๆ ละ 8,000 บาท เป็นเงิน 48,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาผู้ประสานงานโครงการ (วุฒิ ป.ตรี) จำนวน 1 คน ๆ 6 เดือน ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 90,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 50,000 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมาออกแบบเส้นทางการศึกษาและเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 40,000 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท
6. ค่าจ้างเหมาตัดหญ้าแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางพระราชดำริ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 69,700 บาท เป็นเงิน 69,700 บาท
7. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 45,000 บาท
8. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 21,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 276,000.00 บาท 0.00 บาท 159,700.00 บาท 435,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ ๆ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 57,600 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 75 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 57,600.00 บาท 87,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 300,000 บาท
2. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 45,000 บาท
3. ค่าวัสดุก่อสร้าง เป็นเงิน 47,450 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 92,450.00 บาท 0.00 บาท 300,000.00 บาท 392,450.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 915750.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 ศูนย์ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตการเกษตร เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำซุ้มเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางพระราชดำริ จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 60,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาออกแบบและจัดทำป้ายไวนิลพร้อมขาตั้ง (50*150 ซม.) จำนวน 10 ป้าย ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับ จำนวน 1,000 แผ่น ๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 3*4 เมตร จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 82,000.00 บาท 82,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 50,000 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 59,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 109,900.00 บาท 109,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 191900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล