13315 : ผลิตพลังงานสีเขียวจากซังข้าวโพดและอินทรีย์สารสำหรับเกษตรอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/11/2561 14:42:30
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/11/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  70  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มผู้ประกอบการเกี่ยวกับข้าวโพดที่มีซังเหลือทิ้งในโรงงาน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2562 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นำพร  ปัญโญใหญ่
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด EN62-4.2.1 จำนวนโครงการ/แหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของคณะฯ
กลยุทธ์ พัฒนาโครงการ/แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์การแปรรูปอาหารอินทรีย์ ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แหล่งพลังงานที่สำคัญของภาคเหนือคือ พลังงานน้ำจากเขื่อนต่างๆ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแม่งัดเป็นต้น แหล่งพลังงานที่สำคัญรองลงมาคือ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง นอกจากนี้เป็นพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดีเซลและเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลเป็นพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้มากที่สุดถึงร้อยละ 61 ของพลังงานทั้งหมด รองลงมาคือ น้ำมันเบนซิน ก๊าซ LPG และน้ำมันเตา เนื่องจากปัญหาการใช้พลังงานในอนาคต ทำให้จำเป็นต้องหาพลังงานทางเลือกมากขึ้น เช่น พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือน้ำมันไบโอดีเซล รวมทั้งยุทธศาสตร์การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น (http://www.apecthai.org/) สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ ในเขตภาคเหนือตอนบนนั้น ข้าวโพดจัดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายๆ อย่างขึ้นอยู่กับชนิดของข้าวโพด ในพื้นที่ภาคเหนือประชากรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโพดหวาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่การปลูกข้าวโพดประมาณ 5,000,000 ไร่ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 170,000 ไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน 2556) เพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำและพื้นที่ราบหุบเขา และอีกอย่างไม่ต้องดูแลมากนัก ให้ผลผลิตเร็วประมาณ 3-4 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที ในกระบวนการเก็บเกี่ยวนั้นอาจจะใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักร ซึ่งเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วซังข้าวโพดที่สีเม็ดแล้วจะถูกกองรวมกันไว้และเผาทำลาย ซึ่งการเผานั้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เช่น เกิดหมอกควันและส่งผลทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกอีกด้วย ในขณะที่เกษตรกรบางกลุ่มจะนำซังข้าวโพดมาทำปุ๋ยหมักซึ่งต้องใช้พื้นที่มากในการจัดการ ดังนั้นการนำซังข้าวโพดมาผลิตเป็นพลังงาน จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยการเพิ่มความหนาแน่นให้กับซังข้าวโพด ซึ่งจะทำให้ได้ค่าความร้อนเชื้อเพลิงสูงมากกว่าเชื้อเพลิงที่ไม่ผ่านการอัดแท่ง และต้นทุนในการผลิตไม่สูงมากนัก สามารถทำได้ด้วยตนเอง สำหรับการใช้เศษวัสดุจากต้นข้าวโพดมาทำการอัดแท่งนั้น ต้องผ่านการย่อยจากเครื่องย่อยก่อน ควรย่อยให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการทำเชื้อเพลิงอัดแท่ง ส่วนในการอัดแท่งจะมี 2 แบบ คือใช้ตัวผสานเพื่อให้เชื้อเพลิงอัดนั้นจับตัวกันหนาแน่นไม่แตกหัก และอีกแบบคือใช้ความร้อนเข้าช่วยในกระบวนการอัด ซึ่งการนำซังข้าวโพดมาใช้นั้นยังสามารถช่วยลดพื้นที่การจัดเก็บ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เช่นปัญหาหมอกควัน และมลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากการเผาทำลายต้นข้าวโพดเพื่อเตรียมดิน ของเกษตรกรในภาคเหนือ ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อลดภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย โดยเชื้อเพลิงอัดแท่งสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานให้ความร้อน ใช้ในการหุงต้ม หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถ นำไปใช้เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงที่เราใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่ก็คือ ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซแอลพีจี สามารถนำมาเป็นใช้เป็นพลังงานทางเลือกได้อีกทั้ง ในกระบวนการเผาไหม้ที่ได้จะมีขี้เถ้าเหลืออยู่ โดยมีอินทรียวัตถุที่เป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่สามารถนำมาผสมเพื่อบำรุงดิน เช่นปรับปรุงดินให้ร่วนซุย และเก็บความชื้นได้ดี จึงมีผลทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี และใช้ประโยชน์เพื่อปรับความเป็นกรดด่างในดินได้อีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการนำซังและเศษต้นข้าวโพดเหลือทิ้ง มาผลิตเป็นพลังงานทางเลือก และอินทรีย์สารสำหรับเกษตรอินทรีย์
เพื่อลดปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาทำลายซังและเศษต้นข้าวโพด และเป็นแนวทางการนำเศษซังข้าวโพดเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลิตเชื้อเพลิง
เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำ ซังข้าวโพดมาแปรรูปให้เป็นเชื้อเพลิงและปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การผลิตพลังงานสีเขียวจากซังข้าวโพดและอินทรีย์สารสำหรับเกษตรอินทรีย์
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 2 : ผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากซังข้าวโพดได้ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 กิโลกรัม 2000
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 70
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
KPI 7 : ฐานเรียนรู้การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากซังข้าวโพด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ฐาน 1
KPI 8 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การผลิตพลังงานสีเขียวจากซังข้าวโพดและอินทรีย์สารสำหรับเกษตรอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
จัดอบรมเผยแพร่และให้ความรู้กับผู้สนใจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/11/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 ครั้ง 70 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท รวม 4,900 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 ครั้ง 70 คนๆ ละ 1 มื้อ มื้อละ 100 บาท รวม 7,000 บาท
- ค่าเอกสารการอบรม จำนวน 100 เล่ม ๆ ละ 50 บาท รวม 5,000 บาท
- ค่าจัดทำป้ายไวนิลขนาด 2x5 เมตรๆ ละ 50 บาท รวม จำนวน 5 ป้ายๆ ละ 500 บาท รวม 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย 1 ครั้งๆ ละ 3 คน คนละ 2 ชม ชั่วโมงละ 600 บาท รวม 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุไฟฟ้า (แมกเนติกส์ 4,000 บาท สายเทอร์โมคัปเปิล 4,000 บาท สายไฟ 4,000 บาท ฮีตเตอร์ 4,000 บาท เบรกเกอร์ 2,000 บาท) 1 ครั้ง รวม 18,000 บาท
-ค่าวัสดุก่อสร้าง (สกรูอัด 4,000 บาท แผ่นเหล็กเจาะ 4,000 บาท แผ่นเหล็ก 2,000 บาท) รวม 10,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (หมึกปริ้น 3,000 บาท แผ่นcd 2,000 บาท) 1 ครั้ง รวม 5,000 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร ซังข้าวโพด เศษไม้สับย่อย รวม 12,000 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ แฟ้ม ปากกา ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 47,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล