21177 : SAS-67 เสวนาทางวิชาการ หัวข้อ ทิศทางและการปรับตัวทางการเมืองและการบริหารการพัฒนาประเทศไทยยุคการเปลี่ยนแปลง ทิศทางการสมานฉันท์ในสังคมไทย ภูมิรัฐศาสตร์ และภาวะเศรษฐกิจโลก : จากประสบการณ์สู่เวทีวิชาการ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางนิตยา ไพยารมณ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/12/2566 15:08:29
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/12/2566  ถึง  18/01/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  250  คน
รายละเอียด  ผู้เข้าร่วมจำนวน 250 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ อาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ อาจารย์ บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้นำท้องที่ท้องถิ่นหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 41,250.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สถาพร  แสงสุโพธิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.3 ร้อยละของบัณฑิตที่มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.3.1 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตเพื่อรองรับหรือเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในตลาดแรงงานระดับอาเซียนหรือนานาชาติ ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเน้นทักษะความเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษา
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-67 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-67 (1.2) บัณฑิตมีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพตามที่หลักสูตรกำหนด
ตัวชี้วัด SAS-65-67 ร้อยละของบัณฑิต(ปริญญาตรี)ที่มีงานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
กลยุทธ์ SAS สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ ตัวอย่าง กรณีศึกษา หรือ การศึกษาดูงาน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนหรือเป็นประเด็นทางสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากผลการศึกษาของ Putnam (1993) นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ซึ่งเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พบว่า ประเทศอิตาลีตอนเหนือ มีความเข้มแข็งมากกว่าตอนใต้ เนื่องจากอิตาลีตอนใต้เต็มไปด้วยผู้มีอิทธิพล หรือ พวกมาเฟีย แต่ในทางตอนเหนือเต็มไปด้วยประชาธิปไตยจึงทำให้ชุมชนเข้มแข็ง จะเห็นได้จากการมีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่ให้ความร่วมมือกันและช่วยเหลือกันในการพัฒนาสังคมจนมีความเจริญก้าวหน้า นอกจากนั้นผลการศึกษาเชิงลึกยังพบอีกว่า อิตาลีตอนเหนือเป็นสังคมที่มีแต่ความไว้วางใจ(Trust) ซึ่งความไว้วางใจในสังคม ทำให้สมาชิกในสังคมให้ความร่วมมือและการมีส่วนรวมในการพัฒนา เป็นพลังสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนา จึงถือว่า ความไว้วางใจ เป็นถือทุนทางสังคม (Social Capital) ต่อมา Fukuyama (1999) ได้กล่าวไว้ในการสัมมนาทางวิชาการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ถึงความหมายของ ทุนทางสังคม หมายถึง บรรทัดฐานร่วม (Share Norm) หรือ กฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นทางการ ที่ทำให้บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เกิดความไว้วางใจ หรือ ไว้เนื้อเชื่อใจกันในการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Fukuyama, 1999) ดังนั้น สุริยจรัส เตชะตันมีสกุล(2556) จึงสรุปว่า หากสังคมปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่ดี เช่นการเมืองหรือการได้มาของอำนาจในการปกครองประเทศ ก็จะทำให้ประเทศเกิดภาวะความไว้วางใจในสังคม ซึ่งบรรทัดฐานทีดีของการได้มาของอำนาจทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยสากลตะวันตก ได้มากจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน จากระบบการเลือกตั้งที่โปร่งใส สภาพเช่นนี้ก็จะทำให้สังคมเกิดภาวะความไว้วางใจหรือความเชื่อมั่นหรือมีทุนทางสังคมสูง เมื่อสังคมมีทุนทางสังคมสูง ก็จะทำให้เกิดการร่วมกลุ่มหรือการให้ความร่วมมือกันและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ แต่อย่างไรก็ตามการเมืองไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันยังตกอยู่ในความขัดแย้งหลายครั้งหลายคราว ซึ่งนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์(2554:ออนไลน์) ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยมีสาเหตุจากผูกขาดอำนาจ หรือ กระจุกอำนาจในการปกครองไว้กับผู้มีอำนาจมากและนานเกินไป ทำให้ในอดีตเมื่อผู้มีอำนาจไม่พึงพอใจกับผู้บริหารประเทศก็มักจะใช้วิธีการยึดอำนาจโดยการทำรัฐประหาร จนนำไปสู่การต่อต้านจากประชาชนก่อเกิดความแตกแยกในสังคม ตลอดจนส่งผลต่อ ความมั่นคงของชาติในระยะยาว กรณีของประเทศไทย พบว่า เกิดความขัดแย้งแตกแยกของคนไทยมานาน มากกว่า 20 ปี ล้วนแต่มาจากความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้สมาชิกในสังคมแบ่งพรรคแบ่งพวก ส่งผลกระทบต่อการความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการบริหารการพัฒนาประเทศ ในประเด็นนี้สหประชาชาติเตือนให้ระมัดระวัง 2 เรื่อง คือ 1)รัฐธรรมนูญต้องมาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน หรือ รัฐธรรมนูญต้องยึดโยงกับประชาชนและระบอบประชาธิปไตยสากล เนื้อหาในรัฐธรรมนูญต้องมีส่วนผสมของความคิดที่เป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่ม หากไม่เป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งก็จะไม่ยอมรับ 2)การเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกต้องจัดการเลือกต้องอย่างเที่ยงธรรมหรือยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติในการใช้กฎหมายหรือไม่มีมาตรฐานในการใช้กฎหมายหรือการตีความหลายมาตรฐาน นอกจากนั้นระบอบประชาธิปไตยจะสัมฤทธิ์ผลประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งอย่างแท้จริง ซึ่งรัฐสภาถือเป็นกลไกหนึ่งของระบบการเมือง ตามรัฐธรรมนูญ หากรัฐสภามีการบริหารจัดการที่ยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี ยอมส่งผลให้การเมืองเกิดการพัฒนา ทั้งนี้ ถือว่ารัฐสภาเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่และอำนาจโดยเฉพาะในอันที่มีผลต่อการปกครองบ้านเมืองและการบริหารประเทศในหลายด้าน เช่น การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ การตรากฎหมาย การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา อันมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมากจึงกำหนดการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชน รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาซึ่งมีหน้าที่และอำนาจทางด้านนิติบัญญัติและด้านอื่น ๆ จึงต้องมีผู้มีอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานและการบริหารงานของรัฐสภา คือ ประธานรัฐสภามาจาก ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานรัฐสภามาจากผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภา คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกัน เมื่อมีการประชุมร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะเป็นการประชุมรัฐสภาอันมีลักษณะเฉพาะ เช่น จำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นการประชุมรัฐสภาซึ่งจำนวนสมาชิกรัฐสภามาจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกัน ผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภามีจำนวน 2 คน คือประธานรัฐสภาจำนวน 1 คน และรองประธานรัฐสภาจำนวน 1 คน ลักษณะของการประชุมต้องเป็นการประชุมรัฐสภาและต้องมีบทบัญญัติให้มีการประชุมในเรื่องนั้นไว้โดยเฉพาะจึงจะมีการประชุมรัฐสภาได้ตลอดจนต้องเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศ เป็นอย่างยิ่งและจะไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเหมือนกับการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญของ สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ดังนั้น บทบาทของรัฐสภาจึงมีความสำคัญของการพัฒนาการเมืองไทยอย่างยิ่ง นอกจากนั้นในด้านการบริหารการพัฒนาการเมือง พบว่า การเมืองไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ คือ การเมืองสมานฉันท์ ตามแนวทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยอาศัยกระบวนการทางรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญไทย ปี พ.ศ.2560 โดยรัฐบาลถือเป็นฝ่ายบริหารที่ได้รับอำนาจในการบริหารปกครองประเทศ รัฐบาลได้ใช้อำนาจเพื่อการบริหารการพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญก้าวหน้า มั่นคง และยั้งยืน โดยพบว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน รัฐบาลจึงมีแนวทางในการบริหารการพัฒนาประเทศครอบคลุมหลายด้าน อาทิ เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การสาธารณสุข และการคมนาคม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า การบริหารปกครองและการบริหารการพัฒนาประเทศไทยภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะทิศทางการสมานฉันท์ในสังคมไทย ภูมิรัฐศาสตร์ และภาวะเศรษฐกิจโลก ยอมมีประเด็นท้าทายต่อผู้บริหารประเทศในทุกระดับต้องเรียนรู้เพื่อรู้เท่าทัน อันจะส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการพัฒนาในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าว วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีการจัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครองและการบริหารสาธารณะ จึงเห็นความจำเป็นของการพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และ ความมั่นคงในการพัฒนาประเทศ กอรปกับศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หลายท่านได้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กรทางการเมืองและองค์กรภาครัฐ ในประเทศไทย จึงเห็นสมควรจัดโครงการเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “ทิศทางและการปรับตัวทางการเมืองและการบริหารการพัฒนาประเทศไทย ยุคการเปลี่ยนแปลงทิศทางการสมานฉันท์ในสังคมไทย ภูมิรัฐศาสตร์ และภาวะเศรษฐกิจโลก : จากประสบการณ์สู่เวทีวิชาการ ” ประเด็น: กว่าจะเป็นนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูง บทบาทของรัฐสภากับการพัฒนาการเมืองไทย การพัฒนาระบบการคมคมไทย การบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทย แนวทางการบริหารและการจัดการพื้นที่พิเศษโครงการแลนด์บริดส์ไทย แนวทางพัฒนาการบริหารและการบริหารการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้กับบทบาทของการเป็นสถาบันการศึกษาในกำกับของรัฐต่อการการพัฒนาในสังคมไทย เพื่อให้ ผู้เข้าร่วมอันได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้ที่สนใจทุกภาคส่วนได้มีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ทิศทาง เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาการเมืองและการบริหารการพัฒนาประเทศ และสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนามหาวิทยาลัย และพัฒนาสังคม ให้สอดรับกับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อได้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ทิศทาง เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาการเมืองและการบริหารการพัฒนาประเทศไทย
เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารและการบริหารการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฐานะการเป็นสถาบันการศึกษาในกำกับของรัฐบาล
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมนำความรู้ที่ได้มามาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนามหาวิทยาลัย และพัฒนาสังคม ให้สอดรับกับการพัฒนาประเทศ
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศิษย์เก่า และ ศิษย์ปัจจุบัน ทั้งนี้ คาดหวังให้ความสัมพันธ์เกิดพลังความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในอนาคต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ทิศทาง เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาการเมืองและการบริหารการพัฒนาประเทศ และสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดรับกับการพัฒนาประเทศกิจกรรม
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ทิศทาง เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาการเมืองและการบริหารการพัฒนาประเทศ และสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดรับกับการพัฒนาประเทศ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ทิศทาง เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาการเมืองและการบริหารการพัฒนาประเทศ และสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดรับกับการพัฒนาประเทศกิจกรรม
ชื่อกิจกรรม :
เสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “ทิศทางและการปรับตัวทางการเมืองและการบริหารการพัฒนาประเทศไทย ยุคการเปลี่ยนแปลงทิศทางการสมานฉันท์ในสังคมไทย ภูมิรัฐศาสตร์ และภาวะเศรษฐกิจโลก : จากประสบการณ์สู่เวทีวิชาการ ”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/12/2566 - 24/12/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร  แสงสุโพธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วม 250 คน ๆ ละ 130 บาท = 32,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
32,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 32,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วม 250 คน ๆ ละ 35 บาท = 8,750 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
8,750.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,750.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 41250.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
วบศ.67 กำหนดการเสวนา 24 ธ.ค. 66
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล