21295 : SAS-67 โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติงานองค์กรเพื่อมุ่งสู่องค์กรระดับนานาชาติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ภัคสุณีย์ ดวงงา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/1/2567 15:51:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/01/2567  ถึง  31/05/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  29  คน
รายละเอียด  บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการสังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 1,290,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นนท์  น้าประทานสุข
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.5 มีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.5.2 ร้อยละของบุคลากรที่มีผลการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐาน
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.5.2.1 สนับสนุนบุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาสมรรถนะตาม Training Roadmap ของแต่ละตำแหน่ง ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานหรือสูงกว่าที่มาตรฐานกำหนด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-67 (5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-67 (5.1) มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
ตัวชี้วัด SAS-65-67 ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตาม Training Roadmap
กลยุทธ์ SAS 67 ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา
ตัวชี้วัด SAS 67 จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยน (Inbound-Outbound)
กลยุทธ์ SAS 67 ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากแนวนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นในการปฏิรูป 3 ด้านได้แก่ 1.การปฏิรูปการบริหาร (Administrative Reform) ให้มีความเป็นระบบราชการน้อยที่สุด มีความคล่องตัว และมีการไหลเวียนของบุคลากรโดยเฉพาะที่มีสมรรถนะสูง (Talent Circulation and Mobility) ระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย (๒) การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) ให้มีการนำเรื่อง Regulatory Sandbox มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม และ (๓) การปฏิรูปงบประมาณ (Budgeting Reform) ให้มีการจัดสรรงบประมาณในลักษณะ Block Gantt และ Multi-year Budgeting โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะต้องร่วมกันขับเคลื่อนให้ กระทรวงเป็น “กระทรวงแห่งปัญญา กระทรวงแห่งโอกาส และกระทรวงแห่งอนาคต” รวมไปถึงคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นที่ Learning Outcomes เป็นมาตรฐานคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต โดยมีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติและระดับสากล รวมไปถึงนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ต้องการยกระดับมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ วิทยาลัยบริหารศาสตร์จึงพัฒนาหลักสูตรของวิทยาลัยให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคำนึงถึงการพัฒนาทักษะของนักศึกษาและผลการเรียนรู้ ที่ทำให้นักศึกษาสามารถเป็นบัณฑิตที่เป็นที่ต้องการของสังคม ชุมชน และท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการพัฒนาหลักสูตรเพียงอย่างเดียวไม่สามารถขับเคลื่อนองคาพยพ เพื่อให้การเรียนการสอนสามารถบรรลุตัวชี้วัดทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะได้ หากปราศจากการพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนฝ่ายวิชาการและโดยเฉพาะในส่วนของฝ่ายสนับสนุนวิชาการเพื่อยกระดับขีดความสามารถของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ให้อยู่ในระดับสากลและสามารถตอบสนองต่อนโยบายทั้งในส่วนระดับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระดับกรมดังเช่นนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมไปถึงวิทยาลัยบริหารศาสตร์ได้วางกลยุทธ์ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิชาการ คุณธรรมและจริยธรรม รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ในการยกระดับบุคลากรให้เป็น Smart Citizen เพื่อให้คุรภาพการศึกษา และบุคลากรของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาการ การเรียนการสอน การบริหาร และการปฏิบัติงานที่เปิดการเรียนรู้ ตลอดชีวิต (Life Long Learning) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านพหุวัฒนธรรมที่ทางวิทยาลัยมีการเรียนการสอน ที่มีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาร่วมเรียน และแลกเปลี่ยนทุกระดับชั้น ดังนั้นการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่เป็นการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตของคนวัยทำงาน (Skill for the future) ทั้ง Upskill และ Reskill นั้นจึงจำเป็นอย่างเร่งด่วน เพื่อให้บุลากรของวิทยาลัยบริหารศาสตร์สามรถปรับแนวทางการปฏิบัติงาน นอกจากนี้จากบริบทโลกที่เห็นได้ชัดเจนในการพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทางด้านการศึกษา และสิ่งแวดล้อมที่เน้นพื้นที่สีเขียงในการทำงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังเช่น สำนักงานสีเขียว (Greem office) เพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการทำงาน ตลอดจน นักศึกษา และผู้มาใช้บริการของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้คำนึง และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย โดยคำนึงถึงการใช้พลังงาน และทรัพยากร ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัตินโยบายของทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนั้น วิทยาลัยบริหารศาสตร์พิจารณาแล้วเห็นว่าประเทศไต้หวัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีการพัฒนาทางด้านการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมไปถึงการจัดการด้านพลังงานและขยะที่ไต้หวันถือได้ว่าเป็นไปตัวแบบของโลกในการจัดการขยะของโลก ตลอดจนนโยบาย “มุ่งใต้ใหม่” ที่ถือได้ว่า ไต้หวันพยายามที่จะเชื่อมโยงบุคลากรทางการศึกษาทั้งฝ่ายวิชาการและฝ่ายสนับสนุน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีในการศึกษา และอบรมบุคลากรของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และการปฎิบัติงาน ที่มุ่งเน้นและวิชาการให้เท่าเทียมกับนานาประเทศ รวมไปถึง การศึกษา วารสาร วิจัย และฝึกอบรม เพื่อพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือด้านการบริหาร การจัดการ ทั้งนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการมุ่งวิทยาลัยบริหารศาสตร์ให้เป็นหน่วยงานสีเขียว (SAS Go Green) อีกด้วย ประกอบกับ มหาวิทยาลัย International College of Innovation จาก National Chengchi University ได้เรียนเชิญบุคลากรวิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อหารือในการทำความร่วมมือทางวิชาการ และการแลกเปลี่ยนบุคลากร ตลอดจนศึกษาดูงานในเรื่องของสำนักงานสีเขียว ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567 ณ International College of Innovation, National Chengchi University รวมไปถึง การพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ที่ได้รับการเข้าฝึกอบรมระยะสั้นจาก College of Social Science and Management จาก Fo Guang University ในหัวข้อ Diversity in change Management on policy maker and implementation และหารือความร่วมมือ ในการทำหลักสูตร Dual Degree MPA-MBA ระหว่างจาก College of Social Science and Management และ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2567 ถึง 26 เมษายน 2567 นั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการองค์การด้าน วิชาการ พัฒนาบุคลากร และการดำเนินการนโยบายหน่วยงานสีเขียว เพื่อยกระดับวิทยาลัยบริหารศาสตร์ไปสู่ความเป็นนานาชาติ และองค์กรสีเขียว ประกอบกับการสร้างความสัมพันธ์และเครื่องข่ายในด้านความร่วมมือทางวิชาการ วิจัย และบุคลากรกับสถานบันระดับนานาชาติตลอดจนหน่วยงานไทยในต่างประเทศ พร้อมทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ทางการศึกษา วิชาการ การปฏิบัติงานให้กับบุคลากรของวิทยาลัยบริหาร จึงได้จัดโครงการการพัฒนาบุคลากรด้านความหลากหลายบนความเปลี่ยนแปลง การบริหารและจัดการ : จากนโยบายสู่การปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 22-27 เมษายน 2567 จำนวน 6 วัน ณ ประเทศไต้หวัน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติงานองค์กรเพื่อมุ่งสู่องค์กรระดับนานาชาติ
2. เพื่อปรับใช้แนวคิด การบริหาร จัดการ และแนวทางปฏิบัติองค์กรสีเขียว
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและสายสัมพันธ์กับสถานบันระดับนานาชาติ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการอบรมและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติงาน องค์กรเพื่อมุ่งสู่องค์กรระดับนานาชาติ และวิทยาลัยบริหารศาสตร์มีเครือข่ายทางวิจัยและวิชาการกับสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติและหน่วยงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการอบรมและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหาร การจัดการ และการปฎิบัติงาน องค์กรเพื่อมุ่งสู่องค์กรระดับนานาชาติ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนเครือข่ายทางวิจัยและวิชาการกับสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติและหน่วยงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เครือข่าย 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการอบรมและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติงาน องค์กรเพื่อมุ่งสู่องค์กรระดับนานาชาติ และวิทยาลัยบริหารศาสตร์มีเครือข่ายทางวิจัยและวิชาการกับสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติและหน่วยงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรม ศึกษาดูงานและหารือความร่วมมือในการทำหลักสูตรการเรียนการสอน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 22/04/2567 - 27/04/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นนท์  น้าประทานสุข (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาทำทัวร์
-อาหาร 174,000 บาท
(6 วัน 29 คน สายวิชาการ 17 สายสนับสนุน 12)
-ค่าเดินทางในต่างประเทศ 101,500 บาท
(29 คน สายวิชาการ 17 สายสนับสนุน 12)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 275,500.00 บาท 0.00 บาท 275,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
2.ค่าที่พักในต่างประเทศ
(คนละ 2,000 บาท 5 คืน
(29 คน สายวิชาการ 17 สายสนับสนุน 12)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 290,000.00 บาท 0.00 บาท 290,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
3.ค่าพาหนะเดินทาง
- ค่าเครื่องบินต่างประเทศ 725,000 บาท
(29 คน สายวิชาการ 17 สายสนับสนุน 12)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 725,000.00 บาท 0.00 บาท 725,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1290500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เป็นการอบรมต่างประเทศ และมีผู้เข้าอบรมจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดการล่าช้าในเรื่องเอกสารและการดำเนินการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ดำเนินการตรวจสอบเอกสารก่อนการเดินทางและมีการนัดประขุมเพื่อเตรียมความพร้อม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล