21336 : SAS-67 โครงการ RE:Habpiness 2024
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายนัฐพล ภาคภูมิ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/1/2567 16:46:18
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
23/01/2567  ถึง  28/02/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  175  คน
รายละเอียด  นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และอาจารย์ จำนวน 175 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 5,250.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. พิชญ์  จิตต์ภักดี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.2 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาของหลักสูตร
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.2.1 พัฒนาและสนับสนุนนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-67 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-67 (1.2) บัณฑิตมีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพตามที่หลักสูตรกำหนด
ตัวชี้วัด SAS-65-67 ร้อยละนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (ตามระยะเวลาของหลักสูตร)
กลยุทธ์ SAS ให้คำปรึกษาและแนะแนวการให้บริการนักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล ฉะนั้นวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการเมืองการปกครองและการบริหารกิจการสังคม ผ่านการจัดการเรียนการเรียนในหลักสูตรต่าง ๆ ที่สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์ อีกทั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ก็ได้มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้มีความสามารถในการบริหารองค์กร เพื่อผลิตทรัพยากรมนุษย์ออกไปพัฒนาทุกภาคส่วนของประเทศ การที่จะสร้างบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพนั้น สถาบันการศึกษาต้องจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน ทั้งการสร้างบรรยากาศทางกายภาพ ซึ่งเป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกสบายใจในการเรียน ปราศจากความวิตกกังวล และร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนได้อย่างมีความสุข อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบว่านักศึกษาระดับอุดมศึกษามีแนวโน้มที่ประสบปัญหาภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการเรียนของนักศึกษา เนื่องจากการเรียนในระดับอุดมศึกษานั้นเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักศึกษาต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ก็มีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการเรียนจากระดับมัธยมมาสู่ระดับอุดมศึกษา ดังนั้น หากนักศึกษามีการปรับตัวในการเรียนระดับอุดมศึกษาได้ก็จะไม่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตแก่่นักศึกษา ประกอบกับ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ได้เข้ามาใช้ชีวิตเป็นนักศึกษาในระยะเวลาหนึ่งภาคการศึกษาแล้ว จึงต้องมีการสนับสนุนนักศึกษาทางด้านสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตนักศึกษา ทั้งด้านการเรียน การใช้ชีวิต และการอยู่ร่วมกันภายใต้ค่านิยมที่มีความแตกต่างอย่างมีความรับผิดชอบ ภายใต้แนวคิดการดูแลจิตใจ (Rehabilitation) และการเพิ่มเติมความสุข (Happiness) เพื่อให้นักศึกษาปลอดจากสภาวะเศร้าที่อาจนำไปสู่การปัญหาของอัตราการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาของหลักสูตร วิทยาลัยบริหารศาสตร์จึงได้กำหนดจัดโครงการ RE:Habpiness ในวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อเป็นการสร้างความผูกพันกับหลักสูตร วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเป็นสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิตเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ อันเป็นการตอบสนองเป้าหมายการผลิตบัณฑิตของหลักสูตร วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ไปพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นการสร้างความผูกพันให้กับนักศึกษาต่อหลักสูตร วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
เพื่อเป็นสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิตเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับการสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และมีความผูกพันกับหลักสูตร วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : นักศึกษาเกิดความผูกพันกับหลักสูตร วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : นักศึกษาได้รับการสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับการสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และมีความผูกพันกับหลักสูตร วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
บรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการ PDCA สุขภาพใจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/02/2567 - 14/02/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พิชญ์  จิตต์ภักดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จริยา  โกเมนต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เจตฑถ์  ดวงสงค์ถ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 175 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,250.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,250.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5250.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
กำหนดการ Rehab 2024.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล