21508 : SAS-67 โครงการสิงห์ไพรสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายนัฐพล ภาคภูมิ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/4/2567 14:20:05
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
05/04/2567  ถึง  10/05/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  70  คน
รายละเอียด  อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และศิษย์เก่าวิทยาลัยบริหารศาสตร์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 14,700.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ นารีวรรณ  กลิ่นรัตน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น (การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-67 (4) ทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ SAS 63-67 (4.1) การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด SAS-65-67 ร้อยละของโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภาษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บูรณาการกับการเรียนการสอนต่อโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ฯ
กลยุทธ์ SAS ส่งเสริมให้นำศิลปวัฒนธรรม ภาษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์แก่นักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบสานต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล จนเป็นประเพณีที่ดีงามอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยและเป็นเอกลักษณ์ควรแก่การอนุรักษ์สาน อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญ คือ วันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณซึ่งถือเอาวันที่ 13 – 15 เมษายนของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ก่อนปัจจุบันที่จะมากำหนดเอาวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ ตามสากลนิยม ซึ่งเป็นประเพณีที่มีงดงามอ่อนโยน ที่แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิต และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างเด่นชัด โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี โดยสงกรานต์ของภาคเหนือ หรือ ล้านนา จะเรียกกันว่า ปี๋ใหม่เมือง ซึ่งวันที่ 13 เมษายน คือ “วันสังกรานต์ล่อง” (อ่านว่า สังขานล่อง) หมายถึง วันที่ปีเก่าผ่านไป หรือวันที่ สังขารร่างกายแก่ไปอีกปี วันที่ 14 เมษายน คือ “วันเนา” หรือ “วันเน่า” เพราะถือว่าเป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าไม่เจริญ วันที่ 15 เมษายน คือ “วันพญาวัน” ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ซึ่งจะทำบุญ เลี้ยงพระ ฟังธรรม อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ สรงน้ำพระ นำไม้ไปค้ำต้นโพธิ์ รดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ ซึ่งคำว่า “ดำหัว” ปกติ แปลว่า “สระผม” แต่ในทางประเพณีสงกรานต์ หมายถึง การไปแสดงความเคารพ ขออโหสิกรรมที่อาจจะล่วงเกินในเวลาที่ผ่านมาและขอพร โดยมีดอกไม้ธูปเทียนและน้ำหอมที่เรียกว่า “น้ำขมิ้น ส้มป่อย” พร้อมทั้งนำของมามอบผู้ใหญ่ เมื่อผู้ใหญ่กล่าวอโหสิกรรมและอวยพรก็จะใช้มือจุ่มน้ำขมิ้นส้มป่อยลูบศีรษะตนเอง ถัดจากวันพญาวันเรียกว่า “วันปากปี” จะมีการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีสืบชะตา และการทำบุญขึ้นท้าวทั้งสี่ รวมถึงการจุดเทียนต่ออายุชะตาภายในบ้าน (พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร. 2562. วิเคราะห์คุณค่าทางปรัชญาในประเพณีวันสงกรานต์. วารสารวิจัยธรรมศึกษา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 หน้า 8-17) ประกอบกับ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยการสืบสานวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น และ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและสังคม โดยบูรณาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยบริหารศาสตร์ จึงกำหนดจัดโครงการสิงห์ไพรสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2567 ในวันที่ 18 เมษายน 2567 ณ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ร่วมกับ สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีล้านนา “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ให้คงอยู่ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีล้านนา “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง”
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : วัฒนธรรมประเพณีล้านนา “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ได้รับการสืบสานให้คงอยู่ต่อไป
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีล้านนาป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง จากการดำหัวผู้อาวุโสและการสรงน้ำพระ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : วัฒนธรรมประเพณีล้านนา “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ได้รับการสืบสานให้คงอยู่ต่อไป
ชื่อกิจกรรม :
การเสวนา การบรรยาย การสรงน้ำพระ สักการะดำหัวเจ้าแม่ แม่โจ้ เจ้าพ่อแม่โจ้ และการดำหัวผู้อาวุโส

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/04/2567 - 18/04/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์นารีวรรณ  กลิ่นรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,500.00 บาท 0.00 บาท 10,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 14700.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
กำหนดการดำหัวสิงห์ไพร67.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล