การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 16 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 118 ปี เรื่อง “50 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น”
วันที่เขียน 26/3/2566 10:48:54     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 19:07:58
เปิดอ่าน: 413 ครั้ง

ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 16 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 118 ปี เรื่อง “50 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 35) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี (ในรูปแบบออนไลน์) นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 16 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 118 ปี เรื่อง “50 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ 1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ 1.1 เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล” โดย ศาสตราจารย์ ดร. พีระพงศ์ ทีฑสกุล ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย กกอ. และคณะอนุกรรมการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1.2 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดของสารสกัดหยาบเอทานอล จากเหง้ากระเจียว” โดย คุณอุมาพร ทาไธสง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบเอทานอลจากเหง้ากระเจียวในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค 5 ชนิดได้แก่ Bacillus subtilis TISTR 6633, Listeria monocytogenes DMST 17303, Salmonella Enteritidis ATCC 13076, Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853 และ Proteus mirabilis ผลการทดสอบด้วยวิธี disc diffusion พบว่า สารสกัดหยาบเอทานอลจากเหง้ากระเจียวสามารถยับยั้งการเจริญของ B. subtilis TISTR 6633 และ L. monocytogenes DMST 17303 แต่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ S. Enteritidis ATCC 13076, P. aeruginosa ATCC 27853 และ P. mirabilis เมื่อทําการหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (minimal inhibitory concentration, MIC) ด้วยวิธีการ agar dilution พบว่า ค่า MIC ของสารสกัดหยาบเอทานอลจากเหง้ากระเจียวต่อ B. subtilis TISTR 6633 และ L. monocytogenes DMST 17303 เท่ากับ 1,250 และ 312.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลําดับ ในขณะที่ S. Enteritidis ATCC 13076, P. aeruginosa ATCC 27853 และ P. mirabilis มีค่า MIC >5,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร 1.3 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การพัฒนาสารอาหารทดแทนที่เหมาะสมเพื่อการผลิตเอทานอล” โดย คุณกรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยการนําแป้งไฮโดรไลเซตซึ่งได้จากการย่อยแป้งมันสําปะหลังด้วยเอนไซม์ มาทดแทนการใช้กากน้ำตาลเพื่อลดต้นทุนการผลิตเอทานอล โดยหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างกากน้ำตาลต่อแป้งไฮโดรไลเซตในการเลี้ยงยีสต์ Saccharomyces cerevisiae M1 ในสูตรอาหารที่มีอัตราส่วนของกากน้ำตาลต่อแป้งไฮโดรไลเซต 90:10, 70:30, 50:50 และ 100:0 (ชุดควบคุม) ตามลําดับ พบว่าการใช้อัตราส่วน 50:50 ให้ผลผลิตเอทานอลสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 10.22 โดยปริมาตรต่อปริมาตร 1.4 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ผลของแสง LEDs ต่อการเจริญเติบโตและสารออกฤทธิ์กล้วยไม้เหลืองจันทบูร” โดย คุณพรพรรณ สุขุมพินิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี โดยได้ทำการศึกษาการเลี้ยงกล้วยไม้หวายจันทบูรภายใต้แสงที่แตกต่างกัน คือ แสงฟลูออเรสเซนต์สีขาว, แสงสีส้ม (LEDs อัตราส่วน Warm white 165 ดวง : Red 60 ดวง), แสงสีม่วง (LEDs อัตราส่วน Red 165 ดวง : Blue 60 ดวง) และแสงสีชมพู (LEDs อัตราส่วน Red 77 ดวง : Blue 44 ดวง : Orange 77 ดวง : White 24 ดวง) เป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า การเจริญเติบโตทางด้านความสูง และจํานวนใบไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.05) แสงสีส้มมีแนวโน้มส่งผลให้มีความสูงและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลําลูกกล้วยเฉลี่ยมากที่สุด (20.89 และ 0.74 เซนติเมตร ตามลําดับ) และแสงสีขาวมีแนวโน้มมีจํานวนใบมากที่สุด ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของสารสกัดกล้วยไม้ พบว่าปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดกล้วยไม้ที่เลี้ยงด้วยแสงสีขาวมีปริมาณมากที่สุดแต่ไม่แตกต่างจากสารสกัดที่เลี้ยงด้วยแสงสีส้ม เช่นเดียวกับปริมาณฟลาโวนอยด์รวมที่สารสกัดแสงสีขาวมีปริมาณใกล้เคียงกับสารสกัดกล้วยไม้ที่เลี้ยงด้วยแสงสีส้มและสีม่วง ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดกล้วยไม้ที่เลี้ยงด้วยแสงสีส้มและสีม่วงให้ผลดีที่สุด จากผล การทดลองแสดงถึงแนวโน้มที่ดีในการเลี้ยงกล้วยไม้ภายใต้แสง LEDs เพื่อลดเวลาในการปลูก และสามารถควบคุมปริมาณ สารออกฤทธิ์ที่ต้องการได้เมื่อเทียบกับการปลูกในธรรมชาติ 1.5 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ผลของความเค็มที่มีต่อการบริโภคออกซิเจนของลูกกุ้งขาวแวนนาไม ระยะโพสต์ลาวา” โดย คุณนงนุช ตั้งเกริกโอฬาร ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาบูรพา ได้ศึกษาอัตราการบริโภคออกซิเจนของลูกกุ้งขาวแวนนาไม ระยะโพสต์ลาวา (postlarva) ที่ระดับความเค็ม 0, 5, 10, 15, 20, 25, 30 และ 35 ส่วนในพันส่วน ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ลูกกุ้งที่ใช้ในการทดลองมีความยาวเฉลี่ย 0.830.20 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 0.0131±0.0056 กรัม จากการศึกษาพบว่า อัตราการบริโภคออกซิเจน ต่อน้ำหนักของลูกกุ้ง 1 กรัม ที่ระดับความเค็ม 0, 5, 10, 15, 20 และ 25 ส่วนในพันส่วน มีค่าเท่ากับ 9.12, 11.59, 11.85, 9.76, 10.86 และ 9.68 µmol/h ตามลําดับ ซึ่งมีค่าต่ำกว่า อัตราการบริโภคออกซิเจนที่ระดับความเค็ม 30 และ 35 ส่วนในพันส่วน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 14.46 และ 17.41 µmol/h ตามลําดับ เมื่อทําการทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า อัตราการบริโภคออกซิเจนที่ระดับความเค็ม 0, 15, 20 และ 25 ส่วนในพันส่วน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีค่าต่ำกว่าของอัตราการบริโภคออกซิเจนที่ระดับความเค็ม 5, 10, 30 และ 35 ส่วนในพันส่วน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) 1.6 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การใช้พรมมิ (Bacopa monnieri) ในอาหารปลาต่อการต้านเชื้อ Aeromonas sp. ในปลาหางนกยูง” โดย คุณสราวุธ แสงสว่างโชติ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี โดยได้ทำการศึกษาพืชน้ำในประเทศไทยสกุลพรมมิ (Bacopa monnieri) เพื่อใช้ในการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับปลาหางนกยูง ด้วยการสกัดพรมมิอบแห้งโดยใช้เอธานอล แล้วนําสารที่ได้มาเคลือบอาหารเม็ด ที่ความเข้มข้น 0, 250, 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้พรมมิ ให้ปลากินอาหารเป็นเวลา 4 สัปดาห์ แล้วนํามาทดสอบทําให้ติดเชื้อกับแบคทีเรียแกรมลบ Aeromonas sp. ศึกษาอัตรา การรอดตาย พบว่าปลาหางนกยูงที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดจากพรมมิสามารถต้านทานเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าชุดการทดลองควบคุม โดยชุดการทดลองที่ให้ผลดีที่สุด คือ ชุดการทดลองที่ผสมสารสกัดพรมมิ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร 2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ 2.1 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ 2.2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในด้านต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน การสอน และการทำงานวิจัย 2.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลงานการวิจัยระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ 3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ และฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตรและคณะ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน โดยได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายดังกล่าวมาประยุกต์และถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาและผู้ร่วมงาน ใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัย นอกจากนั้นยังได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ กับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตรและคณะเป็นอย่างยิ่งโดยจะช่วยทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1336
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 5:10:17   เปิดอ่าน 47  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง