เล่าสู่กันฟัง….ประสบการณ์การไปนำเสนองานวิจัยต่างประเทศ
วันที่เขียน 17/6/2559 11:00:48     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 7:10:26
เปิดอ่าน: 6456 ครั้ง

การนำเสนอผลงานวิจัยต่างประเทศโดยเฉพาะภาคบรรยาย (Oral presentation) นั้นจะไม่เป็นเรื่องเข็นครกขึ้นภูเขาอีกต่อไป ถ้าไม่เชื่อต้องอ่านบทความนี้

เล่าสู่กันฟัง….ประสบการณ์การไปนำเสนองานวิจัยต่างประเทศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร สืบค้า และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา รตนะมโน

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บทนำ

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ซึ่งการที่นักวิจัยจะดำเนินกิจกรรมทางวิชาการนี้ได้จำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) สถาบันต้องมีแผนการวิจัย มีระบบและกลไก ตลอดจนมีการสนับสนุนทรัพยากรให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน 2) คณาจารย์มีส่วนร่วมในการวิจัยอย่างเข้มแข็ง โดยบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน และพันธกิจด้านอื่นๆ ของสถาบัน และ 3) ผลงานวิจัยมีคุณภาพ มีประโยชน์ สนองยุทธศาสตร์ของชาติและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง (สำนักงานคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา, 2556)

การเดินทางไปนำเสนอผลงานวิจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะการนำเสนอภาคบรรยาย (Oral presentation) นั้น เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงหน่วยงาน เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร เป็นช่องทางในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการต่อไปกับบุคคลในแวดวงวิชาชีพเดียวกันจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และส่งเสริมการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น ผู้เดินทางไปราชการประเภทนี้ต้องอยู่ภายในความเครียดและความกดดันเป็นอย่างมากจึงเป็นเหตุผลที่ว่าในแต่ละปีงบประมาณมีบุคลากรจำนวนไม่กี่คนที่เดินทางไปนำเสนอผลงานประเภทบรรยายต่างประเทศ เพราะต้องมีการเตรียมตัวในเรื่องการพูด และความเข้มแข็งทางวิชาการเป็นอย่างดี นอกจากนี้เอกสารการขออนุมัติเดินทางจากมหาวิทยาลัยมีขั้นตอนมากมาย ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ การขออนุมัติการเดินทาง การนำเสนองานวิจัยภาคบรรยาย และการเขียนรายงานการเดินทาง ในขั้นตอนการขออนุมัติการเดินทางต้องผ่านความเห็นชอบจากบุคคลที่เกี่ยวข้องถึง 12 คน ทำให้เป็นการเสียเวลาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นบทความที่นำเสนอนี้จึงคิดว่าจะเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้เดินทางไปนำเสนอผลงานวิจัยต่างประเทศด้วยความราบรื่นและมีเอกสารครบสำหรับการเขียนรายงานการเดินทาง

ขั้นตอนในการเดินทางไปนำเสนอผลงานวิจัยต่างประเทศ 

          ในการเดินทางไปราชการต่างประเทศเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีขั้นตอนการดำเนินงานโดยสังเขปดังนี้

  1. เตรียมบทคัดย่อเพื่อส่งให้ผู้จัดการประชุมพิจารณา ทั้งนี้บทคัดย่อต้องเตรียมตามรูปแบบที่การประชุมกำหนดไว้ โดยชื่อและสังกัดของผู้เขียนบทความอย่างน้อย 1 คนจะต้องเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และแนะนำให้เสนอบทความภาคบรรยาย (Oral presentation) เพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสูงสุด
  2. หลังจากบทคัดย่อผ่านการพิจารณาและยอมรับให้นำเสนอแล้ว ผู้จัดการประชุมจะต้องส่งใบตอบรับอย่างเป็นทางการมาให้ ให้เริ่มเขียนบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ตามรูปแบบที่การประชุมกำหนดไว้ได้เลย
  3. เสนอบันทึกข้อความถึงคณบดีเพื่อขออนุมัติเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ
  4. เสนอบันทึกข้อความถึงประธานกองทุนวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อขอรับการสนับสนุน ตามประกาศกองทุนวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2555 (ภาคผนวก) โดยให้แนบหนังสือตอบรับจากผู้จัดการประชุม สำเนาหนังสือเชิญเข้าร่วมการประชุม สำเนาค่าลงทะเบียน ค่าที่พัก และหนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการต่างประเทศ ผ่านคณะฯ ทั้งนี้คณะฯ จะต้องแจ้งความจำนงว่าจะให้สนับสนุนเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อที่มหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนสมทบเพิ่ม โดยเงื่อนไขการสนับสนุนจะเป็นไปตามประกาศ/ระเบียบที่ประกาศใช้ในขณะนั้น
  5. เสนอหนังสือถึงอธิการบดีเพื่อขออนุมัติเดินทางไปราชการ ณ ต่างประเทศเป็นรายบุคคล โดยต้องระบุแหล่งเงินทั้งจากกองทุนวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจากคณะฯ โดยให้แนบหนังสือตอบรับจากการประชุม บทคัดย่อของงานวิจัยที่จะนำเสนอ แบบรายงาน การฝึกอบรม/เสนอผลงาน/ดูงาน ณ ต่างประเทศ และ สำเนาหนังสือเดินทาง (E-Passport) หน้าแรก (กรณีขอหนังสือขออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตรา (VISA))
  6. รอด้วยความใจเย็น อาจใช้เวลามากกว่า 2 สัปดาห์ เพราะต้องผ่านการพิจารณาถึง 12 คน เมื่อหนังสือกลับมา ให้ทำเรื่องยืมเงินจากคณะฯ โดยยืมเงินทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติทั้งส่วนของกองทุนวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และของคณะฯ
  7. เดินทางไปราชการ (อย่าลืมหนังสือเดินทาง) และต้องตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่จะต้องนำกลับมาประกอบการรายงานเดินทางให้เรียบร้อย อาทิ ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม ใบตอบรับการได้รับ Full Paper ใบประกาศนียบัตรที่แสดงว่าท่านได้เข้าร่วมการประชุมและนำเสนองาน ในส่วนค่าที่พักต้องใช้ใบเสร็จรับเงินคู่กับ Guest Folio เสมอ ทั้งนี้ต้องตรวจสอบวันเดือนปี ชื่อ-นามสกุล ชื่อบทความที่นำเสนอให้ถูกต้องในเอกสารทุกชนิด เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมา จะทำให้เสียเวลามากในการแก้ไข
  8. เมื่อกลับเข้ามาในประเทศ   ให้เสนอรายงานการเดินทางถึงอธิการบดีพร้อมแนบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากท่านพักคู่ สามารถสำเนาใบเสร็จรับเงินค่าที่พักและ Guest Folio ได้แต่ต้องเซ็นต์รับรองสำเนาให้ถูกต้องทุกแผ่น พร้อมแนบแบบรายงานการไปราชการ ประชุม สัมมนา ศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย ดูงาน ณ ต่างประเทศ และการปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ (มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) พร้อมแนบรูปภาพประกอบการเดินทางใน CD
  9. เมื่อรายงานการเดินทางที่เสนอถึงอธิการบดีถูกส่งกลับมาที่คณะฯ ให้สำเนารายงานการเดินทางทุกหน้าพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่น แนบเอกสารการขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้
  10. เมื่อได้รับเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้นำเงินสดไปคืนคณะฯ ในส่วนที่กองทุนวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สนับสนุน
  11. เสร็จสิ้นการรายงานการเงินกับมหาวิทยาลัย แล้วรอแก้ไขบทความฉบับสมบูรณ์ที่ผู้จัดการประชุมส่งให้ reviewers ตรวจสอบและประเมินคุณภาพของบทความต่อไป

สรุป

การนำเสนองานวิจัยต่างประเทศเป็นประสบการณ์ที่ยากจะลืมเลือนเพราะมีขั้นตอนมากมายที่เกี่ยวมาเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเดินทาง การขออนุมัติการเดินทาง การนำเสนองาน และการเขียนรายงานการเดินทาง พึงระลึกไว้เสมอว่า “หากคุณสามารถนำเสนองานวิจัยต่างประเทศภาคบรรยายได้ 1 เรื่องแล้ว คุณจะได้รับความภาคภูมิใจเป็นรางวัลตอบแทนในความอุตสาหะและความทุ่มเทในที่สุด ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยผลักดันให้คุณเดินทางไปนำเสนองานวิจัยต่างประเทศครั้งต่อ ๆ ไปได้ง่ายกว่าครั้งแรก นั่นคือคุณได้ก้าวข้ามความกลัวในการนำเสนองานวิจัยด้วยภาษาอังกฤษไปเรียบร้อยแล้ว”

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 21:26:29   เปิดอ่าน 3071  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 0:27:30   เปิดอ่าน 95266  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง