Smart Classroom กับกิจกรรมพัฒนาการพูดในที่สาธารณะ
วันที่เขียน 3/7/2560 8:57:45     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 15:17:06
เปิดอ่าน: 5763 ครั้ง

การฝึกทักษะการพูดในที่ชุมชุนหรือการพูดในที่สาธารณะ นอกจากผู้พูดจะต้องมีบทพูดที่ดี มีการเตรียมความพร้อม(ฝึกซ้อมการพูด)แล้ว การได้เห็นตนเองในขณะที่พูดจริงจะทำให้มองเห็นข้อบกพร่องและสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อการพูดในครั้งต่อไปได้ด้วยตนเอง

การจัดการเรียนการสอนรายวิชา ศท๐๓๑ การใช้ภาษาไทย มุ่งเน้นการฝึกทักษะการใช้ภาษาไทย ๔ ทักษะ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยมีเป้าหมาย  "ฝึกให้นักศึกษาใช้ภาษาไทยในระดับที่สูงกว่าระดับภาษาไม่เป็นทางการ" หรืออาจกล่าวง่าย ๆ ว่า "ฝึกนักศึกษาให้ใช้ภาษาไทยเชิงวิชาการ" ดังนั้น กิจกรรมการฝึกทักษะต่าง ๆ จึงเน้นฝึกให้นักศึกษาใช้ระดับภาษาที่สูงกว่าภาษาพูด

ในส่วนของการฝึกทักษะการพูดนั้น ภาคเรียนนี้ผู้เขียนวางแผนการสอนให้นักศึกษาได้ฝึกการพูดในที่ชุมชน จำนวน ๓ ครั้ง เริ่มต้นจากการพูดเรื่องที่ใกล้ตัวนักศึกษาที่สุด คือการพูดแนะนำตนเองด้วยภาษาระดับกึ่งทางการหรือทางการ โดยให้นักศึกษาเขียนบทพูดด้วยภาษาเขียน จากนั้นตรวจและให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข (นักศึกษาบางคนแก้ไขบทพูด ๒ - ๓ ครั้ง) เมื่อบทพูดผ่านจึงให้ฝึกซ้อมการพูดด้วยการพูดซ้ำ ๆ อย่างน้อย ๑๐ ครั้ง (ไม่ให้ดูบทพูด ไม่จำเป็นต้องพูดเหมือนในบทพูดทุกคำ นักศึกษาอาจสลับเนื้อหาได้บ้าง แต่ต้องพูดให้ครบทุกประเด็นที่มีอยู่ในบท) ซึ่งในขั้นตอนของการฝึกซ้อมการพูดนี้ ได้เน้นย้ำ "ไม่ให้ท่องจำบทพูด" เนื่องจากการท่องจำบทพูดจะเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการพูดในที่ชุมชม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อออกไปยืนพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก ความประหม่าอาจทำให้จำบทพูดไม่ได้และไม่สามารถพูดจนจบได้ หรือในบางกรณีที่ท่องจำบทมาพูด เมื่อผู้พูดออกมายืนต่อหน้าผู้ฟังและมีความกังวลใจว่าจะลืมบทหากสบสายตากับผู้ฟังจึงแก้ปัญหาด้วยการมองเพดาน มองหลังห้อง มองนอกหน้าต่าง ซึ่งนอกจากจะเสียบุคลิกภาพแล้ว ยังทำให้การพูดนั้นขาดความน่าสนใจไปด้วย เนื่องจากการสบสายตาผู้ฟังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่าผู้พูดกำลังมีปฏิสัมพันธ์ตน

การสอบพูดครั้งที่ ๑ ผู้เขียนต้องการให้นักศึกษาได้เห็นตนเองในขณะที่ยืนพูดอยู่หน้าชั้นเรียน ประกอบกับในภาคเรียนนี้ได้มีโอกาสสอนในห้องเรียนSmart Classroom ของอาคารเรียนรวม ๘๐ ปี จึงบันทึกวีดิทัศน์การสอบพูดของนักศึกษาและนำวีดิทัศน์นั้นไปเผยแพร่ในกลุ่มเฟสบุ๊คที่สร้างขึ้นสำหรับการเรียนการสอนในรายวิชา (แจ้งวัตถุประสงค์ของการเผยแพร่ในกลุ่มว่าเพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาการพูดของตนเองและสั่งห้ามไม่ให้นักศึกษานำไปเผยแพร่ต่อ) จากการสอบถาม ได้รับผลสะท้อนจากนักศึกษาหลากหลายความคิดเห็น อาทิ  ตนเองไม่ทราบเลยว่าในขณะที่ยืนพูดตนเองยืนพักเข่า และมีการขยับร่างกายมาก ครั้งหน้าคงต้องระวังมากขึ้น หรือนักศึกษาบางคนกล่าวว่าเห็นตนเองพูดเร็วมากซึ่งครั้งต่อไปคงต้องพูดให้ช้าลง เป็นต้น ซึ่งผู้สอนได้จดบันทึกการสอบพูดครั้งที่ ๑ ไว้เพื่อแจ้งแก่นักศึกษาและเพื่อดูพัฒนาการของนักศึกษาในครั้งต่อไป

ความคิดเห็นทั้งหมด (1)
สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร     วันที่เขียน : 3/7/2560 0:00:00

พยายามลงรูป และวีดิทัศน์ประกอบ แต่ยังทำไม่ได้..ขอเพิ่มเติมในภายหลังนะคะ ^_^

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:53   เปิดอ่าน 119  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง