พลาสมาทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรออแกนิกส์
วันที่เขียน 25/10/2560 16:27:33     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:30:46
เปิดอ่าน: 5932 ครั้ง

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 10th International Conference On Plasma Science And Applications (ICPSA) 2017” ในระหว่างวันที่ 9-12 ตุลาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ตามหนังสือขออนุมัติเดินทางปฏิบัติงาน เลขที่ ศธ ๐๕๒๓.๔.๑๐/๑๘๘ ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2560 ซึ่งการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้งบประมาณพัฒนาบุคลากรตามกรณีที่ 2 ดังนั้น จึงสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ และร่างเป็นบทความ ดังนี้

ปัจจุบันเทคโนโลยีพลาสมานั้นได้เข้ามาสู่การประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวางและหลากหลาย มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลาสมากับอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เนื่องจากพลาสมาเป็นเทคโนโลยีที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดการใช้สารเคมีในปริมาณมาก ไม่เป็นอันตรายในทางอุตสาหกรรม อีกทั้งยังลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย เราสามารถพบเทคโนโลยีพลาสมาได้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ มีการนำพลาสมามาใช้ในการทำความสะอาดชิ้นงาน เคลือบผิวด้วยฟิล์มบาง การปรับปรุงพื้นผิวชิ้นงาน ส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอ นั้นมีการประยุกต์ใช้ในการทำเสื้อนาโนที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย การป้องกันการซึมของน้ำ การหน่วงไฟ หรือเพื่อเพิ่มการซึมของน้ำ หรือเพื่อเพิ่มการซึมและการยึดเกาะของหมึกสี นอกจากนั้นการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ก็มีการนำไปประยุกต์ใช้งานกับทั้งกระดาษ พลาสติก พอลิเมอร์ และฟิล์มชนิดต่างๆ เป็นต้น แม้แต่ในทางการแพทย์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลาสมาก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น จะพบว่ามีการนำเอาพลาสมามามาใช้ในระบบฆ่าเชื้อ การใช้เพื่อการรักษา การปรับปรุงและการเคลือบผิววัสดุทางการแพทย์ เทคโนโลยีพลาสมานั้นยังสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันเช่น การตัดเหล็กด้วยพลาสมา  การใช้พลาสมาในการฆ่าเชื้อในผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยีพลาสมานั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางเกษตรกรรมได้อีกด้วย

ปัจจุบันปริมาณของพื้นที่เพาะปลูกได้ลดลงอย่างมาก สภาวะขาดแคลนอาหารสำหรับการบริโภค และการเลี้ยงสัตว์ก็เริ่มส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืชจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหานี้ นอกจากเทคโนโลยีการคัดสรรสายพันธุ์จากธรรมชาติ การใช้สารเคมีและการใช้รังสีในการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์แล้วเมื่อไม่นานมานี้มีการพัฒนาเทคนิคใหม่อีกเทคนิคหนึ่งมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืช ได้แก่เทคนิคการใช้ลำไอออนในการทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในพืช เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืชมากขึ้น ถึงแม้ว่าเทคนิคนี้จะมีข้อดีอยู่มาก แต่เนื่องจากเทคนิคนี้มีราคาสูงและอีกทั้งยังต้องทำในระบบสุญญากาศนั้นทำให้เกิดข้อจำกัดมากมายตามมาเช่นกันเช่นพืชที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะต้องเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ขณะทำการทดลองต้องอยู่ในสภาวะสุญญากาศได้ หรือต้องผ่านกระบวนการทำให้แห้งก่อน หากนำเทคนิคพลาสมาเข้ามาใช้เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช เทคนิคพลาสมานั้นเป็นเทคนิคที่มีราคาไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ในสภาวะบรรยากาศได้ ไม่ยุ่งยากในการเตรียมชิ้นงาน ชิ้นงานไม่จำเป็นต้องแห้ง ดังนั้นจึงสามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเตรียมชิ้นงานได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มอัตราการงอกหรืออัตราการรอดของพืชได้อีกด้วย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการนำเทคนิคพลาสมามาใช่ในงานทางด้านออแกนิกส์นั้นมีอนาคตที่สดใสและเหมาะสมเป็นอย่างมาก เมื่อมหาวิทยาลัยแห่งการเกษตรจะนำเทคนิคนี้มาใช้งานเพื่อลดการใช้สารเคมีนั้นเป็นทิศทางที่ดีอย่างแน่นอน

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:28:51   เปิดอ่าน 45  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง