ผลกระทบของวิธีการแปรรูปต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเนื้อลำไยกรอบ
วันที่เขียน 12/3/2561 20:25:15     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 13/5/2567 10:07:47
เปิดอ่าน: 2907 ครั้ง

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลกระทบของการแปรรูปเนื้อลำไยกรอบด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การอบกรอบด้วยคลื่นไมโครเวฟระบบสุญญากาศ (MWD) การอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (FD) และการทอดสุญญากาศ (VF) ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเนื้อลำไยกรอบคุณลักษณะเนื้อลำไยกรอบ เช่น ค่าความชื้นสุดท้าย การระเหยน้ำ และสมบัติเชิงทัศนศาสตร์ในระบบสี CIE - L*a*b* จากผลการศึกษาว่าเนื้อลำไยกรอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหางเดียวของค่าความชื้นสุดท้าย ปริมาณน้ำอิสระ และสมบัติเชิงทัศนศาสตร์ในระบบสี CIE - L*a*b* ด้วยค่าพารามิเตอร์ (b*) และค่าความแตกต่างสีโดยรวม (TCD) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยเนื้อลำไยกรอบด้วยวิธีการแปรรูปด้วยคลื่นไมโครเวฟมีค่าความสว่าง (L*) และมีความเป็นสีแดงมากที่สุด (a*) เนื้อลำไยกรอบด้วย VF มีอัตราการระเหยน้ำได้มากกว่าเนื้อลำไยกรอบจากเทคโนโลยี MWD และ FD ที่ 5.89 และ 23.57 เท่าตามลำดับ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/5/2567 23:17:27   เปิดอ่าน 65  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง