Blog : มองภูมิปัญญาทางงานศิลปะผ่านวัฒนธรรมโคมลอย
รหัสอ้างอิง : 2063
ชื่อสมาชิก : ฐาปกรณ์ เครือระยา
เพศ : ชาย
อีเมล์ : thapakorn_k@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 11/4/2559 13:27:50
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 11/4/2559 13:27:50

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : มองภูมิปัญญาทางงานศิลปะผ่านวัฒนธรรมโคมลอย
ความหมายของโคมลอย โคมลอย ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติอีกหนึ่งชิ้น ที่สามารถพบวัฒนธรรมการปล่อยโคมในหลายพื้นที่บนโลกนี้ เช่นในจีนโบราณ โคมลอยใช้ในทางยุทธศาสตร์ในสงคราม แต่ในช่วงหลังมีการใช้นอกเหนือจากทางทหาร เมื่อได้รับความนิยมในหมู่เด็กในเทศกาล จนนำมาปรับใช้อย่างเช่นเทศกาลไหว้พระจันทร์และเทศกาลโคม ในประเทศใต้หวัน นครนิวไทเป จะจัดเทศกาลโคมประจำปีซึ่งมีการปล่อยโคมลอยสู่ท้องฟ้าราตรีพร้อมกับมีคำอธิษฐานเขียนไว้บนโคม และตัวอย่างโคมลอยในประเทศบราซิลและโปรตุเกสเป็นประเพณีหนึ่งของเทศกาลเดือนมิถุนายน ประเพณีดังกล่าวได้นำมาจากโปรตุเกสแล้วนำมาแพร่หลายในประเทศบราซิลในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และยังคงแพร่หลายในประเทศโปรตุเกส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปร์ตู สันนิษฐานว่านักสำรวจชาวโปรตุเกสอาจนำประเพณีนี้มาจากจีนราว ค.ศ. 1500 นำไปดัดแปลงและปรับใช้จนกลายเป็นจารีตประเพณีของโคมลอยบราซิลให้เข้ากับเทศกาลของตน ในส่วนของโคมลอยในประเทศไทยนั้น ปรากฏในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตวัฒนธรรมล้านนา มีการใช้โคมลอยในเทศกาลยี่เป็ง ซึ่งจัดในวันเพ็ญเดือน 2 ของปฏิทินล้านนา (ตรงกับลอยกระทง ในวันเพ็ญ เดือน 12 ของปฏิทินจันทรคติไทย) เทศกาลนี้มุ่งหมายให้เป็นเวลาทำบุญ ทั้งการไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี การฟังเทศน์มหาชาติหรือการตั้งธรรมหลวง การฟังธรรมอานิสงส์การจุดฝางประทีป เป็นต้น ในยุคปัจจุบันชาวไทยทุกภาคนิยมลอยโคมจนกลายเป็นเทศกาลธรรมเนียมนิยมของประเทศ จากวัฒนธรรมโคมลอยดังกล่าว ได้มีนักวิชาการได้ให้นิยามและความหมายของโคมลอยหลากหลายแนวคิด ซึ่งความหมายแต่ละแนวคิดมีส่วนเติมเต็มให้รู้และเข้าใจในความเป็นโคมลอยในวัฒนธรรมล้านนามากขึ้น ดังแนวคิดต่อไปนี้ มณี พะยอมยงค์, 2537. กล่าวว่า โคมลอย นิยมเล่นกันมากในเดือนยี่ เพราะ เชื่อว่าอากาศโปร่ง ท้องฟ้าแจ่มใส สามารถเห็นโคมลอยได้ชัดในวันเดือนยี่เป็ง จึงมีโคมลอยถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างมากมาย เมื่อลอยไปในอากาศมีเสียงประทัด ที่แขวนไว้ได้โคมลอยแตกเป็นระยะๆน่าสนุกสนานยิ่ง ส่วนวิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2541. ได้ให้นิยามศัพท์คำว่าโคมโดยรวม ได้กล่าวว่า โคม หมายถึง เครื่องตามไฟที่มีกำบังลมโปร่งแสง อาจทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม, รูปแปดเหลี่ยม, รูปกลม หรือทรงอื่นๆ ที่หิ้วหรือแขวน ตามที่ต่างๆ ทั้งเพื่อให้แสงสว่างโดยตรง และให้เป็นเครื่องบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น แขวนบูชาพระพุทธรูปแขวนไว้ในศาสนสถาน และสถานที่สำคัญในงานพิธีต่างๆ นอกจากนี้สิงห์แก้ว มโนเพชร, 2535. ปราชญ์ท้องถิ่นได้กล่าวว่า ความเชื่อในอดีตเชื่อว่า การปล่อยโคมเพื่อเป็นพุทธบูชาและการปล่อยเคราะห์กรรม คนโบราณเขาเชื่อกันว่าการลอยโคมขึ้นบนท้องฟ้า เป็นการลอยเคราะห์ลอยนาม เป็นการให้ทานอีกลักษณะหนึ่ง โคมที่ปล่อยขึ้นไปนั้นก็เพื่อจะให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีของผู้ที่เกิดปีจอ หรือเพื่อบูชาแก่เจ้าผู้ให้กำเนิดของตนบนสวรรค์ที่เรียกว่า "พ่อเกิดแม่เกิด" เหตุของการปล่อยโคมลอย การปล่อยโคมลอยนั้น ในวัฒนธรรมล้านนาจะปล่อยกันในช่วงวันเพ็ญเดือนยี่ หรือวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทยเท่านั้น โดยก่อนจะถึงวันเพ็ญ 3-4 วัน แต่ละชุมชนจะมีการรวมตัวกันของพระสงฆ์ สามเณร พ่อ หน้อยและพ่อหนานภายในชุมชน มาร่วมด้วยช่วยกันในการทำโคมลอย ซึ่งโดยหลักๆแล้ว จะทำกันชุมชนละ 2 ลูกขึ้นไป แล้วอาจจะทำสำรองไว้ 1-2 ลูก เพื่อใช้ในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยโคมลอยลูกแรกจะปล่อยเพื่อบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี หลังจากที่ปล่อยโคมลมลูปแรกไปแล้วสักระยะ ก็จะปล่อยโคมลมลูกที่สอง เพื่อเป็นการปล่อยเคราะห์ ตามความเชื่อของชาวล้านนา โดยโคมแต่ละลูกมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปล่อยโคมบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี การปล่อยโคมลมบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ถือเป็นความเชื่อเรื่องการบูชาพระธาตุที่อยู่บนสวรรค์ซึ่งคนเราไม่สามารถขึ้นไปไหว้พระธาตุนี้ได้นอกจากจะเสียชีวิตไปแล้ว ถึงจะสามารถขึ้นไปไหว้สักการะพระธาตุองค์ดังกล่าว แต่คนล้านนาก็มีวิธีไหว้โดยการปล่อยโคมเพื่อสักการะพระธาตุบนสรวงสวรรค์โดยไม่ต้องรอให้ถึงชีวิตหลังความตาย รวมไปถึงการเชื่อมโยงเรื่องของชุธาตุของคนล้านนา กล่าวคือคนล้านนาจะเชื่อว่าก่อนที่คนเราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ วิญญาณของเราจะไปชุหรือพักอยู่ที่พระธาตุประจำปีเกิดก่อนที่จะจุติมาเป็นคน ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งที่เกิดมา ทุกคนควรจะได้ไปสักการะพระธาตุประจำปีเกิดของตนเองให้ได้สักครั้ง อย่างเช่นคนเกิดปีชวดมีพระธาตุประจำปีเกิดคือพระธาตุศรีจอมทองก็ต้องไปไหว้พระธาตุจอมทอง ส่วนคนที่เกิดปีอื่นๆ ก็ไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเองไปซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในเขตล้านนา ในบรรดา 12 ปีเกิดนั้นก็จะมีเพียงสองสามปีเกิดที่มีพระธาตุประจำปีเกิดอยู่นอกเขตล้านนา เช่น พระธาตุพนม เจดีย์ชเวดากอง แต่ปีที่พิเศษสุดก็คือคนเกิดปีจอ มีพระธาตุประจำปีเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือพระเกศแก้วจุฬามณี ซึ่งจะไปไหว้ที่ไหนก็ไม่ได้ ก็เลยทำอะไรหลายอย่างเพื่อให้ได้ไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตน เช่น ทำสรวยดอกไม้หรือกรวยดอกไม้ธูปเทียนไปใส่ในโลงศพของคนตายที่เกิดปีจอเหมือนกัน ฝากวิญญาณนำดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีแทนตัวเอง หรือจะใช้วิธีไปไหว้พระกลางวิหารหลวงในคืนยี่เป็ง หรือจะเขียนชื่อใส่กระดาษผูกติดโคมลมแล้วปล่อยขึ้นฟ้าไปไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีก็ได้ ส่วน “โคมไฟ” ก็จะปล่อยในตอนกลางคืนโดยมีไฟเป็นเชื้อเพลิง และโคมไฟนี้ ก็จะมีต้นครัวตานติดไว้กับโคมเพื่อใช้ในการถวายไปถึงพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีนั้นเอง ซึ่งถือเป็นทำเนียมปฏิบัติมานาน จนมีหลักฐานจากราชกิจจานุเบกษาที่ประกาศ เมื่อปี พ.ศ.2443 ได้ประกาศเกี่ยวกับการห้ามลอยโคมลอยในมณฑลพายัพว่า “.....การปล่อยโคมลอยได้สร้างความเสียหายจากเพลิงไหม้แก่บ้านเรือน....” แสดงให้เห็นว่าในอดีตมีการปล่อยโคมไฟจนก่อเกิดความเสียหายทางทรัพย์สิน จากประกาศห้ามดังกล่าว ทำให้โคมไฟครัวตานแบบนี้ลดความนิยมลงด้วยตัวบทกฎหมาย และคงเหลือในบางพื้นที่จนห่างหายไป ซึ่งโคมไฟดังกล่าวนี้เป็นโคมไฟ
มองภูมิปัญญาทางงานศิลปะผ่านวัฒนธรรมโคมลอย » มองภูมิปัญญาทางงานศิลปะผ่านวัฒนธรรมโคมลอย
การลอยโคมลอยในปัจจุบันนี้แทบไม่มีความเชื่อดั้งเดิมหลงเหลืออยู่ คนจำนวนน้อยมากที่จะรู้ว่าพระธาตุประจำปีเกิดคืออะไร พระเกศแก้วจุฬามณีคืออะไร ทุกคนปล่อยโคมเพื่อหวังจะปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกออกจากตัวไปกับโคม ทุกคนที่ลอยโคมลอยมักจะทำตามกันไปเพื่อความสนุกสนาน ถือเป็นหนึ่งกิจกรรมที่สร้างความบันเทิงให้กับประเพณียี่เป็งเท่านั้น หรือแม้แต่การจุดผางประทีปก็ไม่รู้ที่มาว่าจุดเพื่ออะไร มันเกี่ยวข้องกับตำนานแม่กาเผือก การฟังเทศน์อานิสงส์ผางประทีปอย่างไร ทุกวันนี้เยาวชนรุ่นใหม่มักจะทำตามกันไปเพราะคิดว่ามันคือประเพณีล้านนา โดยละทิ่งแก่นแท้ที่แฝงอยู่ในกิจกรรมต่างๆ ว่าประเพณี ความเชื่อจริงๆ คนโบราณเค้าทำขึ้นเพื่ออะไร เป็นอย่างไรและทำอย่างไร
คำสำคัญ : โคมลอย  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3702  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 7/8/2560 11:58:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 1:05:42

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้