12098 : การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง"เยาวชนนำเที่ยวไทย หัวใจเกษตรอินทรีย์ Junior Guild Organic land"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย ยมเกิด (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/1/2561 14:34:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เยาวชนและนักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ 2561 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร. จิระชัย  ยมเกิด
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ TDS61ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ TDS4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) (61)
ตัวชี้วัด TDS4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย (61)
กลยุทธ์ TDS พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่นผู้สูงอายุ หรือคนรุ่นใหม่ (61)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีสภาพพื้นที่ที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ และการประกอบอาชีพทาง ด้านการเกษตรที่มีความหลากหลายอาทิเช่น การทํานาข้าว สวนผลไม้สวนไม้ดอกไม้ประดับ สวน สมุนไพร การเลี้ยงผึ้ง ผสมผสานกับวัฒนธรรมที่สวยงามและแตกต่างกันไปในแต่ ละภูมิภาค จึงเป็นสาเหตุให้หน่วยงานภาครัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระต่างๆ มีความสนใจในการจัดการท่อง เที่ยวเชิงเกษตรอย่างจริงจัง ดังจะเห็นได้ นโยบายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ได้มีการกําหนดให้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวและมติของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งโครงการภายใต้มาตราการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) โดยมีโครงการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นโครงการในความรับผิดชอบการท่องเที่ยวแห่งประเทศ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2543 อันเป็นการดําเนินงานร่วมกันระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีการดําเนินการอยู่ในปัจจุบัน และแหล่งท่องเที่ยวเกษตรอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต ให้มีการการจัดการและแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนแนว ทางการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของประเทศ จังหวัดเชียงใหม่ มีแนวทางการดําเนินการจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยเริ่มมีการกําหนดแนวทางที่ชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) เป็นต้นมา ทั้งนี้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมไปพร้อมกับการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนนั้นพึ่งพาอยู่ โดยรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบตามทรัพยากรในการท่องเที่ยว (รําไพพรรณ, 2544ค: 119) กล่าวคือ รูปแบบที่ 1 ได้แก่ การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (eco tourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร(agrotourism) และการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาหรือ ศิลาสัญจร(litho travel) และรูปแบบที่ 2 ได้แก่ การท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม(cultural based tourism) ประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(historical tourism) การท่องเที่ยวงาน ประเพณีวัฒนธรรม(cultural tourism) และการท่องเที่ยวดูวิถีชีวิตในชนบท(rural tourism or 6 village tourism) จังหวัดเชียงใหม่มีการท่องเที่ยงเชิงเกษตรที่ยั่งยืนมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ โดยเกษตรอินทรีย์ (organic farming) ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ รักษาระดับผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพได้เป็นอย่างดี ตามหลักการเกษตรยั่งยืน โดยเป็นระบบ การผลิตที่คำนึงถึงหลักการใน 4 มิติสำคัญ คือ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านนิเวศวิทยา มิติด้านความเป็นธรรม และมิติด้านการดูแลเอาใจใส่ ตามแนวทางสากลของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM : International Federation of Organic Agricultures Movement) โดยผลผลิตจากรระบบเกษตรอินทรีย์ สามารถสร้างรายได้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทยในตลาดโลกได้หากสามารถพัฒนาการผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเฉพาะ (niche market) เมื่อพิจารณาตลาดของอาหารจากเกษตรอินทรีย์พบว่า มีการเติบโตมากถึง 15-20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่มีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าและบริการเชิงเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานในระดับสากลมีจำนวน 27 กลุ่ม ที่กำลังพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและบริการแห่งใหม่แบบครบวงจร เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้น เกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย โดยการขยายกำลังการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เพียงพอต่อการรองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว การสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีเอกลักษณ์ การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าอินทรีย์และพันธมิตร รวมทั้งการสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งนี้เกิดจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวรุนใหม่ที่หันมาให้ความสนใจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ ดังนั้น จึงต้องมีการเร่งพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในด้านดังกล่าวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ จากประเด็นดังกล่าว จึงทำให้มีความต้องการที่จะฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เยาวชนนำเที่ยวไทย หัวใจเกษตรอินทรีย์ Junior Guild Organic Land” เพื่อให้จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ และให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับองค์ความรู้เรื่องการนำท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกันได้และสร้างจิตสำนึกถึงความสำคัญของการเกษตรอินทรีย์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ตลอดจนเกิดการสร้างเครือข่ายในกลุ่มเยาวชนเพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้บริการองค์ความรู้เรื่องการนำเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์
2. เพื่อให้เยาวชนในท้องถิ่นได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกัน
3. เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ของเยาวชนรุ่นใหม่ถึงความสำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เยาวชนนำเที่ยว หัวใจเกษตรอินทรีย์ รุ่นที่ 1
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 3 : ผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.1
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เยาวชนนำเที่ยว หัวใจเกษตรอินทรีย์ รุ่นที่ 1
ชื่อกิจกรรม :
เยาวชนนำเที่ยวไทย หัวใจเกษตรอินทรีย์ Junior Guild Organic Land

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย  ยมเกิด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล