การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 6/8/2564 16:01:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/4/2567 11:44:10
เปิดอ่าน: 1050 ครั้ง

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

เพื่อขยายขอบข่ายการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมตามนโยบายและแนวทางในการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน และเพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง          สำหรับการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ จะประกอบด้วยการจัดการข้อมูลของเสีย

,การจำแนกประเภทของของเสีย ,การรวบรวมและจัดเก็บของเสีย ,การบำบัดและกำจัดของเสีย ,การตรวจติดตามการประเมินและรายงานผลการดำเนินการด้านต่างๆของการจัดการของเสีย และการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านองค์ประกอบที่ 4-7 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558)” การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการก่อให้เกิดการพัฒนาความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการได้นำเอาเครื่องมือเพื่อ การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า ESPReL Checklist1 ซึ่งเป็นรายการสำรวจสำหรับประเมิน สถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เครื่องมือนี้แสดงจุดแข็ง จุดอ่อนของการจัดการด้านต่างๆ ที่สามารถนาไปใช้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงอย่างเป็น ระบบได้ เมื่อ วช. ดำเนินงานจนมีความพร้อมของเครื่องมือระดับหนึ่ง จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดย การพัฒนา ESPReLChecklist ไปเป็นมาตรฐานระดับชาติ คือ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความ ปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี” (มอก. 2677–2558)

ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

  1. สามารถนำระบบการจัดการสารเคมีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการสารเคมี การเก็บสารเคมี การเคลื่อนย้ายสารเคมี ในห้องปฏิบัติการให้ถูกต้องและปลอดภัยตามหลักสากล
  2. เข้าใจหลักการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการกับของเสีย การจำแนก และรวบรวมของเสียในห้องปฏิบัติการของตนเองให้ถูกต้องและปลอดภัย
  3. เข้าใจหลักการมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระดับพื้นฐาน ESPRel Checklist และได้ทดลองฝึกปฏิบัติการใช้งาน ESRel Checklist เพื่อสำรวจสถานภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
  4. สามารถนำเกณฑ์พื้นฐาน ESPRel Checklist เบื้องต้นมาทดลองประยุกต์ใช้เบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1186
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/4/2567 8:27:42   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/4/2567 11:20:49   เปิดอ่าน 753  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/4/2567 8:57:13   เปิดอ่าน 141  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง