การตั้งตำรับน้ำมันเหลืองจากน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลและศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
วันที่เขียน 21/8/2566 16:35:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 6:14:08
เปิดอ่าน: 129 ครั้ง

ขมิ้นชันและไพลเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณทางยาหลากหลาย สารสกัดและน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรทั้งสองชนิดมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือนำมาผลิตเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้านลักษณะการใช้ทาภายนอก ในงานวิจัยนี้ ได้ตั้งตำรับน้ำมันเหลืองที่สกัดได้จากเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำและมีน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลเป็นองค์ประกอบที่สัดส่วนต่าง ๆ (1:1 1:2 และ 2:1 โดยปริมาตร) นำน้ำมันหอมระเหยผสมมาผ่านกระบวนการบ่มด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล ที่สภาวะสุญญากาศ นอกจากนี้ ได้นำน้ำมันเหลืองแต่ละสูตรมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันเหลืองที่มีองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลที่สัดส่วน 2:1 โดยปริมาตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Staphylococcus epidermidis อย่างน้อยที่ระดับความเขมขน 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ ความเขมขนต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum inhibition concentration, MIC) ทั้งสองสายพันธุ์เทากับ 58.25 และ 50.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ในทั้งสองเชื้อแบคทีเรีย มีค่าเท่ากับ 200.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ

                ขมิ้นชันและไพลเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณทางยาหลากหลาย สารสกัดและน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรทั้งสองชนิดมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือนำมาผลิตเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้านลักษณะการใช้ทาภายนอก ในงานวิจัยนี้ ได้ตั้งตำรับน้ำมันเหลืองที่สกัดได้จากเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำและมีน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลเป็นองค์ประกอบที่สัดส่วนต่าง ๆ (1:1 1:2 และ 2:1 โดยปริมาตร) นำน้ำมันหอมระเหยผสมมาผ่านกระบวนการบ่มด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล ที่สภาวะสุญญากาศ นอกจากนี้ ได้นำน้ำมันเหลืองแต่ละสูตรมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันเหลืองที่มีองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลที่สัดส่วน 2:1 โดยปริมาตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Staphylococcus epidermidis  อย่างน้อยที่ระดับความเขมขน 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ ความเขมขนต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum inhibition concentration, MIC) ทั้งสองสายพันธุ์เทากับ 58.25 และ 50.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ในทั้งสองเชื้อแบคทีเรีย มีค่าเท่ากับ 200.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 1:23:39   เปิดอ่าน 19  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 1:22:31   เปิดอ่าน 33  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 6:03:19   เปิดอ่าน 56  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง