สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าประชุมวิชาการ เรื่อง การศึกษาทางพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing for genetics and genomics studies)
วันที่เขียน 4/9/2557 18:06:57     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/5/2567 1:14:43
เปิดอ่าน: 4956 ครั้ง

ในอดีตการหาลำดับเบสมีราคาแพงและใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกพัฒนาขึ้น ทำให้การหาลำดับเบสมีราคาถูกลง และใช้เวลาสั้นยิ่งขึ้น ดังนั้นการหาลำดับเบสทั้งจีโนมของสิ่งมีชีวิตจึงทำได้ง่ายและรวดเร็วโดยใช้เครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing)ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้อย่างหลากหลายทั้งในทางการแพทย์และทางการเกษตร

ดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิต การหาลำดับดีเอ็นเอจะช่วยให้เราทราบว่าสิ่งมีชีวิตที่เราสนใจศึกษามียีนเป็นอย่างไร และแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์อื่นหรือตัวอื่นอย่างไร ในอดีตการหาลำดับดีเอ็นเอเป็นเรื่องยุ่งยาก ใช้เวลานานและราคาแพงมาก ยกตัวอย่างการหาลำดับดีเอ็นเอทั้งจีโนมของมนุษย์ใช้เวลาเป็นสิบปี ต้องใช้ความร่วมมือของหลายหน่วยงานและเงินลงทุนมหาศาล

          เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทำให้การวิเคราะห์ลำดับเบสทั้งจีโนมของสิ่งมีชีวิตโดยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ทำได้รวดเร็วขึ้นและราคาถูกลงมากเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ลำดับเบสโดยใช้วิธีเดิม ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยใช้เทคโนโลยีนี้มากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์ลำดับเบสทั้งจีโนมหรือบางส่วนของจีโนมช่วยให้นักวิจัยสามารถปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ได้รวดเร็วและมีความแม่นยำในการกำหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการมากขึ้น เนื่องจากข้อมูลที่ได้ลงลึกถึงระดับเบส นอกจากนี้การวิเคราะห์ลำดับเบสด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ยังช่วยส่งเสริมงานในด้านการแพทย์ เช่น การศึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคมะเร็งและการดื้อยาของเชื้อโรค เป็นต้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจทำการทดลองโดยใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์จีโนมยุคใหม่ก็คือความพร้อมของระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้งจีโนมมีปริมาณมหาศาล เครื่องคอมพิวเตอร์พื้นฐานไม่สามารถอ่านข้อมูลได้หมด หรือใช้เวลานานมากในการอ่าน ดั้งนั้นควรจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำมากพอ ถ้าไม่สามารถจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ วิธีการแก้ไขก็คือการจ้างให้บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลให้ แต่ราคาในการวิเคราะห์สูงใกล้เคียงกับราคาของการหาลำดับเบส เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรคำนึงในเวลานี้ก็คือการพัฒนานักชีวสารสนเทศน์เพื่อให้รองรับการใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ในอนาคตที่นับวันจะมีการวิจัยด้านนี้มากขึ้น สถาบันการศึกษาที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิตนักชีวสารสนเทศน์ในประเทศไทยคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=320
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/5/2567 12:15:16   เปิดอ่าน 34  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/5/2567 6:50:43   เปิดอ่าน 51  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/5/2567 21:09:41   เปิดอ่าน 78  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง