ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมในโครงการสัมมนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2557
วันที่เขียน 2/3/2558 16:12:52     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/5/2567 15:20:08
เปิดอ่าน: 4267 ครั้ง

การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นภาระกิจหลักที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปฏิบัติ โดยมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ประกอบด้วย การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และ เพิ่มองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญและจำเป็น โดยในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรอบใหม่ (พ.ศ. 2557-2556) จะแบ่งระดับการประกันคุณภาพการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และ ระดับสถาบัน

           จากการเข้าร่วมโครงการสัมมนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2557 ระหว่าง       วันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราช   สุดาฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราณี พรรณวิเชียร วิทยากรกลาง จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา   มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย โดยวิทยากรได้ให้ความรู้ในประเด็นของการเรียนรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2557 ต่าง ๆ ดังนี้

องค์ประกอบการประกันคุณภาพ จะสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ประกอบด้วย การผลิตบัณฑิต  การวิจัย  การบริการวิชาการ  การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และ เพิ่มองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญและจำเป็น โดยในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรอบใหม่ (พ.ศ. 2557-2556) จะแบ่งระดับ   การประกันคุณภาพการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และ ระดับสถาบัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินระดับหลักสูตรเท่านั้น ซึ่ง จะแบ่งเป็น 6 องค์ประกอบ ได้แก่

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

 

และในการประเมินระดับหลักสูตรก็จะแบ่งเป็น หลักสูตรระดับปริญญาตรี และ หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะขอกล่าวละเอียดเฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรี เท่านั้น

 

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

          เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 และ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยมี 4 ประเด็น สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี และ 12 ประเด็น สำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา โดยเกณฑ์การประเมินเป็น ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน โดยหากไม่ผ่านเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่าหลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน จะได้คะแนนเป็นศูนย์

           สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี ประกอบไปด้วย จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร  คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด และ การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ดังนี้

          จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร  : ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้ และจะต้องประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น

คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร : มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่า ผศ. ในสาขาวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน อย่างน้อย 2 คน

การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด : ต้องไม่เกิน 5 ปี โดยจะต้องปรับปรุงให้เสร็จและอนุมัติ / ให้ความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัย / สถาบัน เพื่อให้หลักสูตรใช้งานในปีที่ 6 (สำหรับหลักสูตร 4 ปี)

การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ : ต้องมีการดำเนินการตามตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1-5 ครบทั้ง 5 ข้อ

         สำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา จะเพิ่มเกณฑ์อีก 8 ประเด็น ได้แก่ คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน  คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ  คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม(ถ้ามี)  คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์  การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา  ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา และ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ     ในระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 

 องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

          ประกอบไปด้วย 2 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 คุณภาพบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ และ ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา

          ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 คุณภาพบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ : ใช้ค่าฉลี่ยของคะแนนประเมินบัณฑิต (คะแนนเต็ม 5 ) เป็นเกณฑ์การประเมิน โดยคำนวณจาก ผลรวมของค่าคะแนนที่ได้จากการประเมินบัณฑิต หารด้วย จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด (โดยผู้ใช้บัณฑิตต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา)

           ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา : จะพิจารณาจากร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี โดยคำนวณจาก จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี หารด้วยจำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมด แล้ว คูณด้วย 100

 

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ประกอบไปด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และ ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา : ให้อธิบายกระบวนการ หรือ แสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับนักศึกษา หรือ การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา เช่น หลักสูตรมีการกำหนดคุณสมบัติ / คุณลักษณะของนักศึกษาที่จะมาศึกษาอย่างไร โดยอาจจะเขียนเป็น Flow-chart ของกระบวนการก่อนการรับนักศึกษา ระหว่างการรับนักศึกษา และ หลังรับนักศึกษา และหากนักศึกษาที่รับเข้ามาไม่ตรงกับคุณลักษณะที่กำหนดไว้ ได้มีวิธีการพัฒนาอย่างไร

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา : ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การควบคุม การดูแล การให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา และ การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมทักษาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยจะต้องเขียนเป็นเรื่องราวว่ามีการจัดกิจกรรมอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุขและมีวุฒิภาวะ

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา : ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นการคงอยู่ของนักศึกษา      ในหลักสูตร การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และ ความพึงพอใจต่อหลักสูตรและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา โดยอาจจะเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าโดยใช้กราฟ เพื่อสะท้อนให้เห็นความเป็นจริง และบอกถึงการวางแผนเพื่อปรับปรุงในปีถัดไป

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ประกอบไปด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ และ ตัวบ่งชี้ 4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์  โดยจะพิจารณาจากอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่านั้น

ตัวบ่งชี้ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ : ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร(มีวิธีการรับอย่างไร, คุณสมบัติที่ใช้ในการเลือก มีการสร้างทัศนคติอย่างไร) ระบบการบริหารอาจารย์ (ทำอย่างไรให้อาจารย์คงอยู่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร) และ ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ (มีแผนพัฒนาในเรื่องการศึกษาต่อ หรือการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการหรือไม่ อย่างไร)

 

ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ : ประเด็นในการพิจารณาประกอบด้วย

ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (20 % = 5 คะแนน)

ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (60 % = 5 คะแนน)

ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร (20 % = 5 คะแนน) 

 

ตัวบ่งชี้ 4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ :  ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การคงอยู่ของอาจารย์ (อาจจะแสดงโดยกราฟ) ความพึงพอใจของอาจารย์ต่อการบริหารหลักสูตร (ความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด และมีแรงจูงใจในการทำงานอย่างไร) 

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

          ประกอบไปด้วย 4 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน  ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การประเมินผู้เรียน และ ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

          ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร : ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักคิดในการออกแบบหลักสูตร ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร และ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (มีการออกแบบหลักสูตรให้มีการใช้ทักษะ หรือออกแบบหลักสูตรให้ตอบโจทย์อัตลักษณ์) หรือ การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้น ๆ

 

          ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน : ให้อธิบายในเรื่องการพิจารณากำหนดผู้สอน (ผู้สอนต้องมีประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจในรายวิชาหรือไม่ หรือพิจารณาจากสิ่งใด)  การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำ มคอ. 3 และ มคอ. 4 (ติดตามอย่างไร แค่ส่ง หรือมีการพัฒนาด้วย) การกำกับกระบวนการเรียนการสอน (ทำอย่างไร) การจัดการเรียนการสอน ที่มีการฝึกปฎิบัติในระดับปริญญาตรี การบูรณาการพันธกิจต่าง ๆ กับการเรียนการสอน(ทำอย่างไร  มีการ บูรณาการเรียนการสอนกับงานวิจัย หรือ บริการวิชาการ หรือ การทำนะบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือไม่ อย่างไร)

 

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การประเมินผู้เรียน : ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบ TQF (ทำอย่างไร) การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา(ทำอย่างไร เช่น การจัดการกรณีกลุ่มเรียนหลายกลุ่ม จะออกข้อสอบอย่างไร) การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ. 5 มคอ. 6 และ มคอ.7)

 

ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ : จะพิจารณาจาก ร้อยละของผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้การดำเนินงานตามกรอบ TQF ที่ปรากฏในหลักสูตร (มคอ. 2) หมวดที่ 7 ข้อที่ 7 ที่แต่ละหลักสูตรดำเนินการได้ในแต่ละปีการศึกษา โดยคำนวณจาก เอาจำนวนตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบ TQF ที่ดำเนินการได้จริง หารด้วย จำนวนตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบ TQF ที่ต้องดำเนินการในปีการศึกษานั้น ๆ แล้วคูณด้วย 100 (ร้อยละ 100    คิดเป็น 5 คะแนน)

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ประกอบไปด้วย 1 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในระบบการดำเนินงานของภาควิชา / คณะ / สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ , จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ที่เพียงพอและเหมาะสม ต่อการจัดการเรียนการสอน และ กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยอาจจะทำแบบสำรวจ โดยในประเด็นนี้จะต้องมีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้วย เช่น ถ้าไฟฟ้าดับ จะมีวิธีอย่างไร หรือ เครื่องมือเสีย จะจัดการเรียนการสอนอย่างไร เป็นต้น

----------------------------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง  

ปราณี พรรณวิเชียร 2558. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2557 ระหว่างวันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558.

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=345
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/5/2567 4:30:39   เปิดอ่าน 36  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/5/2567 20:22:27   เปิดอ่าน 54  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/5/2567 20:32:09   เปิดอ่าน 81  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง