ความก้าวหน้าด้านจุลทรรศนศาสตร์
วันที่เขียน 2/9/2558 13:10:00     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 14:08:54
เปิดอ่าน: 3060 ครั้ง

เทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในงานทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้วัสดุที่มีสมบัติที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการประยุกต์ใช้งาน อาทิ เทคโนโลยีด้านโลหกรรม ด้านพอลิเมอร์ ด้านอิเล็กโทรเซรามิก ด้านวัสดุผสม ด้านผลึกศาสตร์ ตลอดจนวัสดุนาโน เป็นต้น ซึ่งกลไกการสร้างหรือสังเคราะห์วัสดุรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของวัสดุขณะที่มีการใช้งาน เป็นประเด็นที่มีความสนใจในการศึกษาอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อสมบัติของวัสดุ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างจุลภาคหรือระดับผลึกศาสตร์ของวัสดุเป็นเรื่องที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเทคนิคเฉพาะทางเพื่อใช้ในการศึกษาถึงรายละเอียดดังกล่าว จุลทรรศนศาสตร์เป็นเทคนิคหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการศึกษานี้ เนื่องจากได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเทคนิคดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนถึงเทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูงด้วยจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอนแบบต่างๆ

          การประชุมทางวิชาการจุลทรรศน์อาเซียนครั้งที่ 8 (8th ASEAN Microscopy Conference) และการประชุมวิชาการสมาคมจุลทรรศน์ศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 (The 32nd Annual Conference of the Microscopy Society of Thailand) ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้รวบรวมองค์ความรู้จากนักวิจัยมากมายทั้งภายนอกและภายในประเทศ จากการเข้าร่วมงานได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการวิจัยซึ่งสามารถนำมาบูรณาการกับงานสอน อาทิ ความก้าวไกลของเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงและเครื่องเตรียมตัวอย่าง การศึกษาการเปลี่ยนวัฏภาคของโลหะแบบเชิงประจักษ์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านที่มีการให้ความร้อนผ่านชิ้นงานในขณะที่มีการดำเนินการวิเคราะห์ ทำให้สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง ณ อุณหภูมิและเวลาที่สนใจได้โดยตรง การพัฒนาเทคโนโลยีการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ ที่มีความแม่นยำและสามารถลดเวลาในการเตรียมได้เป็นอย่างดี เทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูงมีการพัฒนาเทคนิคในการวิเคราะห์งานทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ วัสดุศาสตร์ ตลอดจนการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เช่น เทคนิคการวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุทั้งในระดับไมโครเมตรและนาโนเมตรด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและแบบส่องกราด เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ การวิเคราะห์โครงสร้างหรือพื้นผิวด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์แสงกำลังขยายสูง ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบด้วยเทคนิคการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์และการกระจายความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ เป็นต้น

          จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการและฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัย ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการบรรยายก่อให้เกิดประโยชน์ต่อข้าพเจ้าและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถนำมาบูรณาการในการสอน ในรายวิชา คม 565 วิทยาศาสตร์นาโนและนาโนเทคโนโลยีเคมี คม 444 เคมีอุตสาหกรรม คอ 331 เคมีโลหกรรม คอ 332 กระบวนการโลหกรรม อีกทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยและการบริการวิชาการต่อไป

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 5:10:17   เปิดอ่าน 47  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง