ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ
วันที่เขียน 5/9/2558 23:34:13     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/5/2567 20:12:09
เปิดอ่าน: 2623 ครั้ง

กระบวนการต่างๆในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มักมีกระบวนการย่อยๆมากมายซึ่งกระบวนการย่อยๆเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมๆกันเสมอไป นั่นคือ มีบางเวลาที่กระบวนการย่อยหนึ่งทำงาน ส่วนกระบวนการ ย่อยอื่นๆที่เหลือหยุดทำงาน แต่พอถึงเวลาหนึ่งกระบวนการที่ทำงานอยู่ก็จะหยุดและส่งผลให้กระบวนการย่อยอื่นทำงานต่อสลับกันไปเรื่อยๆ เช่น ระบบอัตโนมัติในยานยนต์ ระบบจราจร ระบบเครื่องจักรกล ฯลฯ ซึ่งระบบดังกล่าวเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยระบบสลับ (Switched system)

กระบวนการต่างๆในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มักมีกระบวนการย่อยๆมากมายซึ่งกระบวนการย่อยๆเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมๆกันเสมอไป นั่นคือ มีบางเวลาที่กระบวนการย่อยหนึ่งทำงาน ส่วนกระบวนการ ย่อยอื่นๆที่เหลือหยุดทำงาน แต่พอถึงเวลาหนึ่งกระบวนการที่ทำงานอยู่ก็จะหยุดและส่งผลให้กระบวนการย่อยอื่นทำงานต่อสลับกันไปเรื่อยๆ เช่น ระบบอัตโนมัติในยานยนต์ ระบบจราจร ระบบเครื่องจักรกล ฯลฯ ซึ่งระบบดังกล่าวเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยระบบสลับ (Switched system)

          ระบบสลับเป็นระบบที่อธิบายในรูปของสมการอนุพันธ์ที่ประกอบด้วยระบบสมการย่อยๆหลายระบบและมีจำนวนระบบที่จำกัด โดยมีกฎการสลับ (Switching law) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ระบบใดจะทำงานและระบบใดจะหยุดทำงาน ภายใต้ข้อกำหนดที่ว่า ถ้าระบบหนึ่งทำงานแล้วระบบอื่นๆที่เหลือจะต้องหยุดทำงาน ซึ่งในการศึกษาระบบสลับนั้นมีจุดเด่นที่สำคัญนั่นคือ การหากฎการสลับ เพื่อทำให้ระบบสลับนั้นเสถียร

          ในบทความนี้ได้ศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ซึ่งระบบที่ศึกษา

เกี่ยวกับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าแน่นอนและตัวหน่วงแปรผันตามเวลา ได้ศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ที่มีตัวหน่วงเป็นค่าคงที่ ได้ศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา และได้ศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ไม่ต่อเนื่องที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา ในที่นี้ ได้สร้างเงือนไขสำหรับตัวหน่วงที่ขึ้นกับเวลาและในการศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ โดยอาศัยฟังก์ชันไลปูนอฟ – คราฟซอฟกี ซึ่งเงือนไข ถูกเสนอในเทอมของผลเฉลยของสมการริคคาติ และได้ออกแบบกฎการสลับ โดยใช้การพิจารณาเรขาคณิต และได้คำนวณขอบเขตของผลเฉลยในการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ที่มีอัตราการลู่เข้า และได้ศึกษาเงื่อนไขสำหรับการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ที่มีตัวพารามิเตอร์ไม่ทราบค่าแน่นอน อีกทั้งมีตัวหน่วงที่แปรผันตามเวลา และมีตัวควบคุมด้วย ซึ่งในที่นี้ได้รับเงื่อนไขเพียงพอ สำหรับการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ และเป็นกลาง ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้มากมาย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=414
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/5/2567 19:23:47   เปิดอ่าน 41  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 13/5/2567 12:23:15   เปิดอ่าน 66  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/5/2567 12:04:30   เปิดอ่าน 90  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง