สรุปบทเรียนจากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “กฎหมายใกล้ตัว กฎหมายทางด้าน ICT”
วันที่เขียน 21/9/2558 14:50:27     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 22:59:45
เปิดอ่าน: 8329 ครั้ง

เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการทำงานและการเรียนรู้ของบุคลากร เป็นสิ่งจำเป็นในการเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาตนเอง ในหัวข้อ “กฎหมายใกล้ตัว กฎหมาย ICT” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้และสามารถใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการใช้งานในลักษณะไม่ถูกต้อง จะมีผลผูกพันทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กร

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

หัวข้อ “กฎหมายใกล้ตัวกฎหมาย ICT”

วันที่ 9 กันยายน 2558 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

-----------------------------

          ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “กฎหมายใกล้ตัว กฎหมาย ICT” ขึ้น เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 โดยคุณวุฒิพล คล้ายทิพย์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ เป็นผู้นำกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

          เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการทำงานและการเรียนรู้ของบุคลากร เป็นสิ่งจำเป็นในการเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาตนเอง ในหัวข้อ “กฎหมายใกล้ตัว กฎหมาย ICT” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้และสามารถใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการใช้งานในลักษณะไม่ถูกต้อง จะมีผลผูกพันทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กร

          ทั้งนี้การเรียนรู้กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทางด้าน ICT ที่เกี่ยวข้องจะเป็นส่งเสริมการใช้งานระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานระบบสารสนเทศในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

  1. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
  2. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
  3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

          โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังได้มีการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ขึ้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ.2549 ในมาตรา 5 “หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินการใดๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐมีความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้” และตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2553 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษรคณะกรรมการธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้มีการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และรูปแบบการให้บริการของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำการวิเคราะห์ และจัดทำเป็นร่างนโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่งคงปลอดภัยสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขึ้น โดยได้มีการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย

          สามารถสรุปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ซึ่งยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวนทั้งสิ้น 6 ฉบับ โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช) ดังนี้

  1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รองรับสถานะทางกฎหมายของเอกสารออนไลน์
  2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รองรับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวม Finger Print
  3. กำหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม ได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์
  4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  5. กฎหมายการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระผิดต่อกระบวนการทำงานทางคอมพิวเตอร์
  6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการกระทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ สถาบันการเงิน

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ให้ปลอดภัยจากการกระทำผิด ได้แก่

  1. ไม่ตัดต่อและเผยแพร่ภาพตัดต่อของผู้อื่น ทำให้เข้าเสียชื่อเสียง
  2. ก่อนดาว์นโหลดโปรแกรมหรือข้อมูล ควรอ่านเงื่อนไขให้ละเอียดก่อน
  3. ไม่ส่งต่ออีเมลล์ หรือคลิปวีดิโอลามกอนาจาร
  4. ไม่เผยแพร่ Spam mail / Virus
  5. ไม่เปิดเผยมาตรการระบบคอมพิวเตอร์
  6. ไม่ขโมยระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  7. ระวังการ Chat โต้ตอบกับบุคคลที่ไม่รู้จัก
  8. อย่าลืมลงโปรแกรมสแกนไวรัส
  9. ไม่ Hack ระบบหรือข้อมูล
  10. ไม่ควรบันทึกรหัสผ่านไว้ในคอมพิวเตอร์ และควรเปลี่ยนทุก 3 เดือน
  11. ไม่แอบดับจัดข้อมูลของผู้อื่น
  12. ไม่นำเข้าข้อมูลภาพลามกอนาจารในระบบคอมพิวเตอร์
  13. ไม่แอบเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาต
  14. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนคดี

คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  ได้แบ่งประเภทอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 9 ประเภท ดังนี้

  1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
  2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
  3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
  4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
  5. การฟอกเงิน
  6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค  เช่น      ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
  7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
  8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
  9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง

จรรยาบรรณพนักงานคอมพิวเตอร์

  1. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
  2. ไม่ละทิ้งงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  3. ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับกับผู้อื่น
  4. มีความจงรักภัคดีต่อองค์กร
  5. อุทิศตนให้กับวิชาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
  6. ไม่ทุจริตและคอรัปชั่น
  7. มีความรักและความศรัทธาต่อวิชาชีพ

ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ สำหรับผู้ใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปศึกษาและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยจัดกลุ่ม 6 กลุ่มแนวปฏิบัติดังนี้

แนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ สำหรับผู้ใช้งาน

          ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถดาว์นโหลดนโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นปลอดภัยสารสนเทศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฉบับเต็ม ได้ที่เว็บไซต์ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ www.it.mju.ac.th

การเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ มีดังนี้

  1. การอัพโหลดเพลงขึ้นเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
  2. การซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์และทำการคัดลอก ตามกฎหมายอนุญาตให้ทำการสำรองชุดข้อมูลได้ 1 ชุดเท่านั้น ห้ามทำซ้ำ
  3. กรณีคัดลอกข้อความบนเว็บไซต์ ต้องได้รับการอนุญาตจากเข้าของก่อน มิฉะนั้นถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ยกเว้นกรณีเพื่อการศึกษาที่ต้องอ้างอิง/อนุญาตเจ้าของด้วย
  4. การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องได้ทั้งแพ่งและอาญา
  5. การอ้างอิง Hyperlink ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ควรมีการขออนุญาตจากเจ้าของก่อน
  6. การส่งต่ออีเมลล์ในลักษณะก่อกวน/โฆษณา ถือเป็นความผิดฐานก่อความรำคาญ

ข้อเสนอแนะ

  1. กรณีมีเพจของหน่วยงาน เพื่อประชาสัมพันธ์ต้องแจ้งรายชื่อผู้ดูแลเพจเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. การสร้างเพจของหน่วยงาน ไม่แนะนำให้ใช้รูปส่วนตัวเป็น Profile เพื่อสร้างความน่าเชื่อมั่นและน่าเชื่อถือให้กับหน่วยงาน
  3. กรณี Facebook ส่วนตัว ไม่ควรใช้รูปผู้อื่นเป็น Profile ส่วนตัว เนื่องจากจะสร้างความสับสนในสังคมได้

ถอดบทเรียนโดย นางสาวณัฐกฤตา โกมลนาค

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง » Assignment in Microsoft Teams
การมอบหมายงาน (Assignment ) สำหรับนักศึกษาในห้องเรียน ระบบ Microsoft Teams สร้างความสะดวกในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา การส่งงาน และสามารถให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคนในห้องเรียน สำหรับผู้ที่อยู่ในสถาบัน...
Assignment  Microsoft Teams  การมอบหมายงาน  การให้คะแนน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 26/3/2567 18:01:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 3:22:08   เปิดอ่าน 137  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » Google Sites สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ช...
Google Sites  เว็บไซต์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 11/3/2567 17:19:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 20:40:25   เปิดอ่าน 231  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษ...
CLO  ELO  PLO     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 5:47:34   เปิดอ่าน 355  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความ...
Canva  Kahoot  Nearpod  Plicker  Quizizz  Storyboard  Visme  Voxer     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 19:22:27   เปิดอ่าน 254  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง