การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์เบื้องต้น
วันที่เขียน 5/9/2559 0:50:36     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/5/2567 9:06:51
เปิดอ่าน: 38708 ครั้ง

Cell culture หมายถึงการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ขึ้นในหลอดทดลอง โดยใช้อาหารเลี้ยงเซลล์ที่แตกต่างกันตามชนิดของเซลล์ ปัจจุบันนักวิจัยได้นำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์มาใช้ในการทดสอบสิ่งต่างๆ เช่น การทดสอบยาต้านเชื้อจุลินทรีย์ การทดสอบวัคซีน การผลิตโปรตีนที่จำเพาะในเซลล์ และการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ เป็นต้น แทนการทดสอบในสัตว์โดยตรง ซึ่งมีความยุ่งยากในการควบคุมปัจจัยต่างในการดำเนินชีวิตของสัตว์ มีค่าใช้จ่ายสูง และยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลอง ดังนั้นนักวิจัยจึงหันมาใช้แนวทางการทดสอบสิ่งต่างๆในเซลล์สัตว์ที่ทำการเพาะเลี้ยงขึ้นในหลอดทดลองแทน ประโยชน์ของการเลี้ยงเซลล์ในหลอดทดลองคือ สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมที่จะให้เซลล์อยู่ได้ เซลล์จะมีความเหมือนและมีลักษณะเฉพาะตัว ประหยัด และสามารถคาดเดาผลที่จะเกิดกับสัตว์ทดลองได้เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยสารต่างๆ

Cell culture หมายถึงการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ขึ้นในหลอดทดลอง โดยใช้อาหารเลี้ยงเซลล์ที่แตกต่างกันตามชนิดของเซลล์ ปัจจุบันนักวิจัยได้นำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์มาใช้ในการทดสอบสิ่งต่างๆ เช่น การทดสอบยาต้านเชื้อจุลินทรีย์ การทดสอบวัคซีน การผลิตโปรตีนที่จำเพาะในเซลล์ และการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ เป็นต้น แทนการทดสอบในสัตว์โดยตรง ซึ่งมีความยุ่งยากในการควบคุมปัจจัยต่างในการดำเนินชีวิตของสัตว์ มีค่าใช้จ่ายสูง และยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลอง ดังนั้นนักวิจัยจึงหันมาใช้แนวทางการทดสอบสิ่งต่างๆในเซลล์สัตว์ที่ทำการเพาะเลี้ยงขึ้นในหลอดทดลองแทน  ประโยชน์ของการเลี้ยงเซลล์ในหลอดทดลองคือ สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมที่จะให้เซลล์อยู่ได้ เซลล์จะมีความเหมือนและมีลักษณะเฉพาะตัว ประหยัด และสามารถคาดเดาผลที่จะเกิดกับสัตว์ทดลองได้เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยสารต่างๆ

เมื่อตัดสินใจที่จะดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีเพาะเลี้ยงเซลล์ ห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ดังนี้

  1. ตู้ปลอดเชื้อ (Laminar flow hood) เป็นตู้ที่ภายในจะปลอดเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้ลมเป่าไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ตกลงบริเวณปฏิบัติการ
  2. เครื่องปั่นเหวี่ยง (centrifuge) นำมาใช้ปั่นแยกเซลล์ออกจาก อาหารเลี้ยงเซลล์
  3. ปิเปต (pipette) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูดสารละลายปริมาตรน้อยๆ ระดับไมโครลิตร และ serological pipette เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูดสารในปริมาตรในระดับมิลลิลิตร โดยมีปุ่มควบคุมการดูดและปล่อยสาร
  4. Hemocytometer เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนับจำนวนเซลล์
  5. กล้องจุลทรรศน์ชนิดหัวกลับ ใช้ในการดูเซลล์ใน flask และกล้องจุลทรรศน์แบบแสง ใช้ในการนับเซลล์
  6. ตู้บ่ม (incubator) เป็นตู้ที่ควบคุมอุณหภูมิ และปริมาณของ CO2 ได้
  7. เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อน (autoclave) โดยตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 121 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที เพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อน
  8. ตู้เย็น ใช้เก็บอาหารเลี้ยงเซลล์
  9. Culture vessels เป็นภาชนะที่ใช้เลี้ยงเซลล์ จะมี 2 ชนิด ได้แก่ plate และ flask

10.  Sterilization filter ช่วยกรองอาหารเลี้ยงเซลล์ให้ปราศจากเชื้อจุลินทรย์

11.  70% ethanol ใช้สำหรับฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่างๆ

การปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ สิ่งที่จำเป็นอย่างมากคือความสะอาด ทุกขั้นตอนต้องปฏิบัติโดยใช้ aseptic technique ตั้งแต่การนึ่งฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกชิ้น หรือเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อโดยใช้รังสี การเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงเซลล์ควรพยายามไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ต่างๆ รวมถึงการเตรียมเซลล์สำหรับเพาะเลี้ยง และภายในตู้ปลอดเชื้อต้องเช็ดทำความสะอาดด้วย 70% Ethanol ก่อนและหลังทำงานทุกครั้ง

การเพาะเลี้ยงเซลล์เป็นวิธีการพื้นฐานที่นำไปศึกษางานวิจัยในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การทดสอบความมีชีวิตของเซลล์โดยวิธี MTT colorimetric assay ซึ่งใช้ในงานด้านศึกษาความเป็นพิษของสารต่างๆต่อเซลล์มะเร็งเป้าหมาย วิธีการนี้สามารถใช้ทดแทนการทดลองที่ต้องใช้สัตว์ทดลอง ซึ่งมีความยุ่งยากในการดูแลสัตว์ และต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การทดสอบสารกับเซลล์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเป็นวิธีการที่ให้ผลรวดเร็ว ลดการใช้สัตว์ทดลอง และสามารถทดสอบกับเซลล์ของคนหรือสัตว์ได้โดยตรง ดังนั้นเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ จึงมีประโยชน์มากในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้คนหรือสัตว์เป็นสิ่งทดลอง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=576
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 13/5/2567 16:14:10   เปิดอ่าน 66  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/5/2567 0:02:00   เปิดอ่าน 847  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 12/5/2567 15:41:38   เปิดอ่าน 151  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง