Blog : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รหัสอ้างอิง : 327
ชื่อสมาชิก : กัญญา บุตราช
เพศ : หญิง
อีเมล์ : kanya@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 21/3/2554 9:53:11
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 21/3/2554 9:53:11

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แอสตาแซนธินสารต้านอนุมูลอิสระสีแดงจากธรรมชาติ ใครๆ ก็อยากมีใบหน้าที่อ่อนเยาว์และผิวพรรณที่ดูสวยใสอยู่เสมอ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นความชุ่มชื้น เต่งตึงและความกระชับของผิวย่อมถูกบั่นทอนไปตามกาลเวลา ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้สมดุลในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิวเสียไป อาจเกิดจากหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน อาทิเช่น อายุมากขึ้น กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม อาหารการกิน ความเครียด สิ่งเสพติด รวมถึงการดูแลบำรุงผิวพรรณของแต่ละคน ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยให้เซลล์เสื่อมสภาพ จนอาจทำให้เซลล์ผิวค่อยๆ เกิดริ้วรอยและเหี่ยวย่นได้ หากต้องการเรียกความอ่อนเยาว์ให้กลับคืนมาก็ไม่ใช่เรื่องยาก ก่อนอื่นต้องกำจัดและลดอนุมูลอิสระในร่างกายให้ได้เสียก่อน เพราะอนุมูลอิสระถือว่าเป็นวายร้ายที่คอยทำลายสุขภาพกายรวมทั้งผิวพรรณของเรา โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนตี้ออกซิแดนท์อย่างพอเพียง ก็จะช่วยกำจัดตัวการร้ายหลักที่จะคอยทำลายผิวพรรณและเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้มีผิวพรรณที่อ่อนกว่าวัยและมีสุขภาพดี โดยธรรมชาติแล้วผลไม้ชนิดต่างๆ ที่เรารับประทานจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี เช่น วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน ซีลีเนียม สังกะสี ฟลาโวนอยด์และโพลีฟีนอลต่างๆ เป็นต้น ในวงการเวชศาสตร์ชะลอวัยได้มีสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ “สารแอสตาแซนธิน” (astaxanthin) เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสีส้มแดงถึงแดงเข้มซึ่งคล้ายกับสีแดงของทับทิม พบได้ในสัตว์ทะเลและน้ำจืด เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ไข่ปลาคาเวียร์ กุ้งมังกร กุ้งเครย์ฟิช (กุ้งแดงหรือกุ้งญี่ปุ่น) เคย (krill) และปู นอกจากนี้ยังพบในสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) เช่น สาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส (Haematococcus pluvialis) ซึ่งจัดเป็นสาหร่ายที่มีแอสตาแซนธินมากที่สุด แต่ในสัตว์ทะเลและน้ำจืดเหล่านี้ไม่สามารถสังเคราะห์แอสตาแซนธินได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเข้าไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีสีแดง เช่น ในปลาแซลมอนระหว่างฤดูวางไข่ จะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน้ำ ในระหว่างทางต้องเผชิญกับทั้งแสงแดด ความร้อน และปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น ปลาแซลมอนจะกินสาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส ซึ่งจะมีสารแอสตาแซนธินและจะถูกนำไปสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อทำให้ลำตัวมีสีแดงและสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ดี โดยเฉลี่ยเนื้อปลาแซลมอนจะมีแอสตาแซนธินประมาณ 1-7 มิลลิกรัมต่อ 200 กรัม แม้ว่าในธรรมชาติแอสตาแซนธินสามารถผลิตได้จากพืช จุรินทรีย์บางชนิด และสาหร่ายเซลล์เดียว ยีสต์สีแดง แต่แหล่งท่สามารถผลิตแอสตาแซนธินได้มากที่สุดคือ สาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส โดยจะผลิตได้ถึง 4-5% ของน้ำหนักเซลล์แห้ง สาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส) (Haematococcus pluvialis) เป็นสาหร่ายน้ำจืดเซลล์เดียวขนาดเล็ก (microalgae) มีสีเขียวสายพันธุ์เฉพาะซึ่งเป็นสาหร่ายที่มีความสามารถในการปรับตัวและมีชีวิตรอดอยู่ได้นานถึง 20 ปี แม้จะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเติบโต เช่น ขาดน้ำ ขาดอาหาร ต้องเผชิญกับความร้อน แสงแดด โดยจะปรับตัวให้มีผนังเซลล์หนาขึ้น เพื่อสะสมสารต้านอนุมูลอิสระแอสตาแซนธินเพิ่มขึ้น จึงทำให้สาหร่ายชนิดนี้สามารถเปลี่ยนสีกลายเป็นสีแดงได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องตนเองให้อยู่รอดได้ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนธิน จากการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนธิน ด้วยวิธี singlet oxygen quenching activities เทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ เช่น กลุ่มแคโรทีนอยด์ แอสคอร์บิค แอซิด โพลีฟีนอล โคเอ็นไซม์คิวเท็น พบว่าแอสตาแซนธินมีความสามารถในการยับยั้งการเกิดออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยวสูงกว่าโคเอนไซม์คิวเท็นถึง 800 เท่า มีค่าสูงกว่าแคททีชิน 560 เท่า และมีค่าสูงกว่าวิตามินซีถึง 6,000 เท่า และจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าแอส๖แซนธินมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินอี 550 เท่า และมีค่าสูงกว่าเบต้าแคโรทีน 40 เท่า แอสตาแซนธินกับสุขภาพผิว เนื่องจากประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนธินนี่เอง ที่ทำให้นักวิจัยสนใจนำแอสตาแซนธินไปศึกษาและทำวิจัยทางคลีนิกอย่างต่อเนื่องหลากหลายด้าน ทั้งในด้านการป้องกันการอักเสบ ปรับปรุงระบบการหมุนเวียนเลือด ใช้ในการลดความเสี่ยงในการเกิดเมตาบอลิกซินโดรม รวมทั้งอาการล้าของดวงตา โดยปริมาณที่มีผลต่อการศึกษาทางคลินิกอยู่ในช่วงระหว่าง 1-40 มิลลิกรัมต่อวัน ในปัจจุบันศึกษาถึงประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพผิวพรรณ เบื้องต้นรายงานว่าแอสตาแซนธินอาจช่วยลดริ้วรอยและผิวเหี่ยวย่นและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวได้ ในปัจจุบันแอสตาแซนธินได้รับการยอมรับจากหลายประเทศในยุโรปให้ใช้สำหรับการบริโภค และในสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาให้นำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ ในปี 2002 มีการศึกษาผลค่าดัชนีชี้วัดสุขภาพผิวโดยให้กลุ่มทดลองรับประทานแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัมคู่กับวิตามินอี 40 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าความชุ่มชื้นของผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ริ้วรอยลดลง การเกิดสิวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการศึกษานี้ได้ทำการวิจัยทางคลินิกแบบ Double Blind Placebo Control ในอาสาสมัครหญิงที่มีอายุประมาณ 40 ปี จำนวน 16 คน และให้รับประทานแอสตาแซนธินเทียบกับกลุ่มควบคุมที่รับประทานยาหลอก ในปี 2006 มีการศึกษาผลต่อสุขภาพผิวโดยให้รับประทานแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 จนถึงสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครรู้สึกว่าสุขภาพผิวดีขึ้น คือความแห้งและหยาบกระด้างของผิวลดลง ผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นมากขึ้น ริ้วรอยลดลง การศึกษานี้ทำการวิจัยทางคลินิกแบบ Single Blind Randomized Control ในอาสาสมัครหญิงที่อายุประมาณ 47 ปี จำนวน 49 คน ในปี 2010 มีการศึกษาผลของแอสตาแซนธินต่อฤทธิ์ในการปกป้องรังสียูวีเอ (UVA) โดยใช้การเลี้ยงไฟโบรบลาสท์ (fibroblast) ของเซลล์ผิวหนังมนุษย์ จากข้อมูลการศึ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี » การพิสูจน์ตัวตนหลายปัจจัยในการทำธุรกรรมทางการเงินบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ธุรกรรมการเงินบนอินเทอร์เน็ตเป็นบริการประเภทหนึ่งโดยสถาบันการเงินที่เป็นที่นิยมและมีแนวโน้มที่จะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องจากปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องจากปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น การบริการชนิดนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี จุดหนึ่งที่สามารถตกเป็นเป้าในการโจมตีได้ก็คือระบบการล็อกอินเพื่อเข้าใช้งานและปัจจุบันยังมีปัญหาและจุดอ่อนอยู่หลายเรื่อง เช่น การเป็นเป้าในการถูกดักฟังเพื่อขโมยข้อมูล ความไม่สะดวกในการใช้งานเนื่องจากต้องมีอุปกรณ์เสริม และการที่กระบวนการพิสูจน์ตัวตนไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบธุรกรรมการเงินบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น งานวิจัยจึงได้เน้นการออกแบบและพัฒนากระบวนการพิสูจน์ตัวตนแบบหลายปัจจัย โดยมีปัจจัยที่ใช้สำหรับการพิสูจน์ตัวตนที่สามารถแบ่งได้เป็นประเภทที่มีอายุสั้นและประเภทที่มีอายุยาว โดยผลของการพิสูจน์และวิเคราะห์นั้นแสดงให้เห็นว่า มีความปลอดภัยสูงกว่า
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2569  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กัญญา บุตราช  วันที่เขียน 27/5/2560 8:37:40  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/5/2567 11:23:31
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี » ทำไมต้องไปศึกษาวิจัยที่ขั้วโลกใต้
ทวีปแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้มีพื้นที่ประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตรหรือใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 27 เท่า โดยประมาณร้อยละ 98ของพื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมไปด้วยแผ่นน้ำแข็ง (ice sheet) ที่มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 2,450 เมตร ทวีปแอนตาร์กติกเป็นบริเวณที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอย่างถาวร มีเพียงคณะสำรวจของหลายประเทศที่เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาวิจัยประมาณ 4,000 คนต่อปี พื้นที่นี้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวที่สุดในโลก เนื่องจากมีการระเหยของน้ำน้อย และมีอากาศที่ค่อนข้างแห้งมาก ประกอบกับไม่ได้รับความอบอุ่นจากมหาสมุทร อุณหภูมิต่ำสุดที่ตรวจวัดได้คือ -93.2 C ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแอนตาร์กติกอยู่ระหว่าง -1.8 ถึง 3.5 C โดยปกติบริเวณเขตขั้วโลกทั้งเหนือและใต้เป็นสถานที่ที่เปราะบางจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก เนื่องมาจากกระบวนการหมุนของโลกที่ทำให้ผลจากกิจกรรมนั้นๆ ส่วนใหญ่มารวมกันและปรากฏอยู่บริเวณแกนหมุนของโลก ขั้วโลกจึงจัดเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโลก และเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับตรวจวัดสุขภาพสิ่งแวดล้อมโลก นอกจากนี้ขั้วโลกยังทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมให้กับโลกผ่านกระบวนการไหลเวียนของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็น โดยกระแสน้ำเย็นจากขั้วโลกเป็นเครื่องมือทำความเย็นให้กับโลก ขณะที่กระแสน้ำอุ่นเป็นเครื่องมือระบายความร้อนในพื้นที่ต่างๆ มายังขั้วโลก เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติกอยู่ห่างไกลจากทวีปอื่น และมีความหนาวเย็นอย่างมาก ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ รวมถึงมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในแผ่นดินหรือตัวทวีป ดังนั้นปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจึงถูกบันทึกรักษาไว้ภายใต้ผืนน้ำแข็งเป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลดังกล่าวทวีปแอนตาร์กติกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของโลก ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถไขปริศนาของอดีต ทราบถึงปัจจุบัน และสามารถคาดการณ์ถึงอนาคตของระบบนิเวศ รวมถึงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่แห่งนี้และของโลกด้วย
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3406  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กัญญา บุตราช  วันที่เขียน 27/5/2560 8:36:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 10:13:17
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี » แอสตาแซนธินสารต้านอนุมูลอิสระสีแดงจากธรรมชาติ
ใครๆ ก็อยากมีใบหน้าที่อ่อนเยาว์และผิวพรรณที่ดูสวยใสอยู่เสมอ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นความชุ่มชื้น เต่งตึงและความกระชับของผิวย่อมถูกบั่นทอนไปตามกาลเวลา ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้สมดุลในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิวเสียไป อาจเกิดจากหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน อาทิเช่น อายุมากขึ้น กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม อาหารการกิน ความเครียด สิ่งเสพติด รวมถึงการดูแลบำรุงผิวพรรณของแต่ละคน ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยให้เซลล์เสื่อมสภาพ จนอาจทำให้เซลล์ผิวค่อยๆ เกิดริ้วรอยและเหี่ยวย่นได้ หากต้องการเรียกความอ่อนเยาว์ให้กลับคืนมาก็ไม่ใช่เรื่องยาก ก่อนอื่นต้องกำจัดและลดอนุมูลอิสระในร่างกายให้ได้เสียก่อน เพราะอนุมูลอิสระถือว่าเป็นวายร้ายที่คอยทำลายสุขภาพกายรวมทั้งผิวพรรณของเรา โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนตี้ออกซิแดนท์อย่างพอเพียง ก็จะช่วยกำจัดตัวการร้ายหลักที่จะคอยทำลายผิวพรรณและเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้มีผิวพรรณที่อ่อนกว่าวัยและมีสุขภาพดี โดยธรรมชาติแล้วผลไม้ชนิดต่างๆ ที่เรารับประทานจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี เช่น วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน ซีลีเนียม สังกะสี ฟลาโวนอยด์และโพลีฟีนอลต่างๆ เป็นต้น ในวงการเวชศาสตร์ชะลอวัยได้มีสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ “สารแอสตาแซนธิน” (astaxanthin) เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสีส้มแดงถึงแดงเข้มซึ่งคล้ายกับสีแดงของทับทิม พบได้ในสัตว์ทะเลและน้ำจืด เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ไข่ปลาคาเวียร์ กุ้งมังกร กุ้งเครย์ฟิช (กุ้งแดงหรือกุ้งญี่ปุ่น) เคย (krill) และปู นอกจากนี้ยังพบในสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) เช่น สาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส (Haematococcus pluvialis) ซึ่งจัดเป็นสาหร่ายที่มีแอสตาแซนธินมากที่สุด แต่ในสัตว์ทะเลและน้ำจืดเหล่านี้ไม่สามารถสังเคราะห์แอสตาแซนธินได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเข้าไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีสีแดง เช่น ในปลาแซลมอนระหว่างฤดูวางไข่ จะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน้ำ ในระหว่างทางต้องเผชิญกับทั้งแสงแดด ความร้อน และปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น ปลาแซลมอนจะกินสาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส ซึ่งจะมีสารแอสตาแซนธินและจะถูกนำไปสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อทำให้ลำตัวมีสีแดงและสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ดี โดยเฉลี่ยเนื้อปลาแซลมอนจะมีแอสตาแซนธินประมาณ 1-7 มิลลิกรัมต่อ 200 กรัม แม้ว่าในธรรมชาติแอสตาแซนธินสามารถผลิตได้จากพืช จุรินทรีย์บางชนิด และสาหร่ายเซลล์เดียว ยีสต์สีแดง แต่แหล่งท่สามารถผลิตแอสตาแซนธินได้มากที่สุดคือ สาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส โดยจะผลิตได้ถึง 4-5% ของน้ำหนักเซลล์แห้ง สาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส) (Haematococcus pluvialis) เป็นสาหร่ายน้ำจืดเซลล์เดียวขนาดเล็ก (microalgae) มีสีเขียวสายพันธุ์เฉพาะซึ่งเป็นสาหร่ายที่มีความสามารถในการปรับตัวและมีชีวิตรอดอยู่ได้นานถึง 20 ปี แม้จะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเติบโต เช่น ขาดน้ำ ขาดอาหาร ต้องเผชิญกับความร้อน แสงแดด โดยจะปรับตัวให้มีผนังเซลล์หนาขึ้น เพื่อสะสมสารต้านอนุมูลอิสระแอสตาแซนธินเพิ่มขึ้น จึงทำให้สาหร่ายชนิดนี้สามารถเปลี่ยนสีกลายเป็นสีแดงได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องตนเองให้อยู่รอดได้ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนธิน จากการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนธิน ด้วยวิธี singlet oxygen quenching activities เทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ เช่น กลุ่มแคโรทีนอยด์ แอสคอร์บิค แอซิด โพลีฟีนอล โคเอ็นไซม์คิวเท็น พบว่าแอสตาแซนธินมีความสามารถในการยับยั้งการเกิดออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยวสูงกว่าโคเอนไซม์คิวเท็นถึง 800 เท่า มีค่าสูงกว่าแคททีชิน 560 เท่า และมีค่าสูงกว่าวิตามินซีถึง 6,000 เท่า และจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าแอส๖แซนธินมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินอี 550 เท่า และมีค่าสูงกว่าเบต้าแคโรทีน 40 เท่า แอสตาแซนธินกับสุขภาพผิว เนื่องจากประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนธินนี่เอง ที่ทำให้นักวิจัยสนใจนำแอสตาแซนธินไปศึกษาและทำวิจัยทางคลีนิกอย่างต่อเนื่องหลากหลายด้าน ทั้งในด้านการป้องกันการอักเสบ ปรับปรุงระบบการหมุนเวียนเลือด ใช้ในการลดความเสี่ยงในการเกิดเมตาบอลิกซินโดรม รวมทั้งอาการล้าของดวงตา โดยปริมาณที่มีผลต่อการศึกษาทางคลินิกอยู่ในช่วงระหว่าง 1-40 มิลลิกรัมต่อวัน ในปัจจุบันศึกษาถึงประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพผิวพรรณ เบื้องต้นรายงานว่าแอสตาแซนธินอาจช่วยลดริ้วรอยและผิวเหี่ยวย่นและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวได้ ในปัจจุบันแอสตาแซนธินได้รับการยอมรับจากหลายประเทศในยุโรปให้ใช้สำหรับการบริโภค และในสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาให้นำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ ในปี 2002 มีการศึกษาผลค่าดัชนีชี้วัดสุขภาพผิวโดยให้กลุ่มทดลองรับประทานแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัมคู่กับวิตามินอี 40 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าความชุ่มชื้นของผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ริ้วรอยลดลง การเกิดสิวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการศึกษานี้ได้ทำการวิจัยทางคลินิกแบบ Double Blind Placebo Control ในอาสาสมัครหญิงที่มีอายุประมาณ 40 ปี จำนวน 16 คน และให้รับประทานแอสตาแซนธินเทียบกับกลุ่มควบคุมที่รับประทานยาหลอก ในปี 2006 มีการศึกษาผลต่อสุขภาพผิวโดยให้รับประทานแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 จนถึงสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครรู้สึกว่าสุขภาพผิวดีขึ้น คือความแห้งและหยาบกระด้างของผิวลดลง ผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นมากขึ้น ริ้วรอยลดลง การศึกษานี้ทำการวิจัยทางคลินิกแบบ Single Blind Randomized Control ในอาสาสมัครหญิงที่อายุประมาณ 47 ปี จำนวน 49 คน ในปี 2010 มีการศึกษาผลของแอสตาแซนธินต่อฤทธิ์ในการปกป้องรังสียูวีเอ (UVA) โดยใช้การเลี้ยงไฟโบรบลาสท์ (fibroblast) ของเซลล์ผิวหนังมนุษย์ จากข้อมูลการศึกษาพบว่ารังสียูวีเอสามารถผ่านผิวหนังชั้นนอกไปทำลายถึงผิวหนังชั้นในที่มีไฟโบรบลาสท์อยู่ได้ นักวิจัยจึงทำการทดลองโดยนำไฟโบรบลาสท์ไปผ่านรังสียูวีเอที่มีความเข้มข้น 10 J/cm2 เป็นเวลา 6-24 ชั่วโมง และใช้แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าแอสตาแซนธินสามารถช่วยยับยั้งผลของรังสียูวีเอที่ทำให้เกิดการออกซิไดซ์ จึงกล่าวได้ว่าแอสตาแซนธินสามารถต้านรังสียูวีเอ ที่มีผลทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิว จึงอาจช่วยป้องกันผิวเหี่ยวย่นและริ้วรอยได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลผิวพรรณที่ดีนั้น ก็ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆจากภายนอกที่คอยทำลายผิว ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด ฝุ่นละออง ควันพิษ รวมทั้งใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และคีมกันแดดควบคู่กับการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอควบคู่กันไป
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2724  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กัญญา บุตราช  วันที่เขียน 14/1/2560 9:23:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/5/2567 6:15:03

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้