Blog : มารู้จัก Google Workspace ให้มากขึ้น
รหัสอ้างอิง : 1280
ชื่อสมาชิก : พัชรี ยางยืน
เพศ : หญิง
อีเมล์ : patcha.y@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 4/2/2556 19:29:50
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 4/2/2556 19:29:50

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : มารู้จัก Google Workspace ให้มากขึ้น
Google Workspace เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Google ซึ่งเดิมได้ใช้ชื่อทางการค้า “G Suit” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “Google Workspace” พร้อมทั้งเปลี่ยนดีไซน์ใหม่ โดยมีแนวคิดการใช้งาน คือ Everything you need to get anything done, now in one place โดย Google Workspace ทำการรวบรวมแอปพลิเคชันทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว ซึ่งเป็นชุดแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับบริหารจัดการองค์กร เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ เหมาะกับองค์กรหรือกลุ่มขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ จึงเหมือนกับเป็นพื้นที่สำหรับการสร้าง (Create) สื่อสาร (Communicate) และการทำงานร่วมกัน (Collaborate) อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์การใช้งาน สามารถใช้แอปพลิเคชันสำหรับการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยบางแอปพลิชันสามารถใช้งานได้ฟรี และในกรณีที่ต้องการเสริมฟังก์ชันการทำงาน สามารถทดลองใช้งานได้ฟรี 14 วัน เพื่อให้ทราบฟังก์ชันและทราบข้อดีของแอปพลิเคชันใน google workspace กรณีที่นำมาใช้งาน browser และโปรแกรมอ่านหน้าจอที่เหมาะสมที่สุด ดังนี้ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมอ่านหน้าจอ Browser Microsoft windows NVDA หรือ JAWS Mozzilla Firefox, Chrome macOS VoiceOver Chrome Chrome OS ChromeVox Chrome แอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีใน Google Workspace ที่นิยมใช้งาน ดังนี้ 1. Gmail ใช้ Gmail เพื่อส่งและรับอีเมลใน Google Workspace สามารถจัดการรายชื่อติดต่อและจัดระเบียบอีเมลด้วยป้ายกำกับและแท็บต่างๆ ในกล่องจดหมาย กรณีที่ต้องการอีเมลชื่อของหน่วยงานสามารถสมัครใช้งานได้ตามโดยกำหนดค่าใช้จ่ายตามจำนวนเมล์ที่ต้องการ 2. Google Calendar ปฏิทินออนไลน์ ใช้ในการสร้างกิจกรรม กำหนดากร เตือนความจำ รวมถึงการใช้งานปฏิทินรด้านการัดหมายต่าง ๆ ร่วมกันของทีมงาน 3. Google Drive พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวน์เซิร์ฟเวอร์ ใช้ในการสร้าง จัดเก็บ และแก้ไขข้อมูลไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามาถใช้เป็นแหน่งสำรองและซิงค์ข้อมูลของ google drive สำหรับเดกสก์ทอป ทำให้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ทุกที่ทุกเวลา 4. Google Cloud Search ใช้เพื่อค้นค้าข้อมูลที่ต้องการในที่ทำงาน 5. Google Doc การสร้างและแก้ไขและทำงานร่วมกันในเอกสาร โดยสามารถแก้ไขเอกสารด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอ และแป้นพิมพ์ลัดได้ 6. Google Sheet การสร้าง แก้ไขและทำงานร่วมกันในไฟล์สเปรตซีต โดยสามารถแก้ไขเอกสารด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 7. Google Slide การสร้าง แก้ไขและทำงานร่วมกันในงานนำเสนอ โดยสามารถแก้ไขเอกสารด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 8. Google Form การสร้างแบบฟอร์ม แบบทดสอบและแบบสำรวจ และแชร์กับผู้คนและติดตามผล โดยสามารถสร้าง แก้ไข และไปยังส่วนต่าง ๆ ของฟอร์มด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 9. Google Sites การสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว แชร์กับบุคคลที่ต้องการ โดยสามารถสร้างและแก้ไขเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 10. Google Draw การสร้าง แก้ไข และทำงานร่วมกันในภาพวาดและแทรกลงในไฟล์ Google Doc, sheet หรือ slide โดยแก้ไขและไปยังส่วนต่าง ๆ ของภาพวาดด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอ และใช้จอแสดงผลอักษรเบลล์ได้ 11. Google Group การสร้างและเข้าร่วมกลุ่มสนทนา รายชื่ออีเมล และเว็บไซต์ การสนับสนุนการทำงานกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 12. Google Classroom การสร้างและเข้าร่วมชั้นเรียน จัดงานและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานของนักเรียน โดยไปยังส่วนต่างๆ และการทำงานใน Classroom โดยใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 13. Google Voice สำหรับการโทร ส่งข้อความเสียง และ SMS โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์ Google Voice ในการโทรทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้ Web Browser และอุปกรณ์เคลื่อนที่ และใช้ Google Voice กับโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 14. Google Chat การเข้าร่วมการสนทนาส่วนตัวหรือแบบกลุ่มและใช้บ๊อต เพื่อช่วยการทำงานอัตโนมัติได้ โดยใช้ฟีเจอร์การช่วยเหลือพิเศษซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 15. Google Meet ใช้เพื่อจัดการประชุมทางวีดีโอกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเข้าร่วมได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือห้องประชุม โดยจะเข้าร่วมทางวีดีโอโดยใช้ โดยใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ และสามารถบันทึกการประชุมทางวีดีโอได้ การใช้โปรแกรม Google Meet และต้องการเข้าร่วมแลมีส่วนร่วมในการประชุมด้วยเสียงและวีดีโอ โดยสามารถเปิด ขยายหน้าจอ อธิบายและอ่านออกเสียงและบรรยายสดได้ จะต้องประกอบด้วยฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม เช่น กล้องและไมโครโฟน 16. Google JamBoard การทำงานร่วมกันแบบ Real Time Jamboard ซึ่งเป็นไวท์บอร์ดดิจิทัล ขนาด 55 นิ้ว เมื่อใช้ Jamboard จะสามารถใช้ TalkBack ซึ่งเป็นโปรแกรมอ่านหน้าจอของ Google ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการเอนดรอยด์ และยังสามารถไปยังส่วนต่างๆ ของ Jamboard โดยใช้ท่าทางสัมผัสได้ 17. Google Hangouts เป็นการร่วมวีดีโอคอลและการสนทางทางแชท รวมถึงโทรโดยใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ แหล่งอ้างอิงข้อมูล https://www.dmit.co.th/th/google-workspace-updates-th/what-google-workspace-can-do/ https://street-smart.co.th/th/
มารู้จัก Google Workspace ให้มากขึ้น » มารู้จัก Google Workspace ให้มากขึ้น
วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับ Google Workspace ทำความรู้จักกับแอปพลิเคชันหลักและฟังก์ชันที่มีเฉพาะบน Google Workspace สำหรับบุคคลที่มองหาเครื่องมือไอทีสำหรับเป็นแนวทางปรับเปลี่ยนและพัฒนาประสิทธิภาพให้กับองค์กร
คำสำคัญ : Google Workspace  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1945  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พัชรี ยางยืน  วันที่เขียน 31/3/2564 15:43:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 22:13:57

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้