รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : กล้องจุลทรรศน์
สรุปรายงานจากการอบรม » กล้องจุลทรรศน์ชนิดหัวกลับที่ต่อกับชุดฟลูออเรสเซ็นต์
การศึกษา ค้นคว้า หรือการทำงานวิจัย โดยใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือพื้นฐานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้เกี่ยวการเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการศึกษา อีกทั้งควรมีทักษะการใช้เครื่องมือ และการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จะช่วยทำให้ผลการทดลองเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือต่างๆอีกด้วย การใช้งานกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ชนิดหัวกลับ เป็นกล้องที่มี objective Len อยู่ใต้ตัวอย่าง กล้องประเภทนี้เหมาะกับตัวอย่างที่เกาะติดอยู่บริเวณผิวก้นหลอด ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด แต่การดูเซลล์ผ่านกล้องจุลทรรศน์ชนิดหัวกลับ จะสามารถสังเกตเห็นรูปร่างลักษณะภายนอกเซลล์เท่านั้น ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆภายในเซลล์ได้ ดังนั้นหากต้องการมองเห็นลักษณะภายในเซลล์ ต้องใช้ชุดฟลูออเรสเซ็นต์เข้ามาช่วย เราจึงเรียกกล้องประเภทนี้ว่า กล้องจุลทรรศน์หัวกลับพร้อมชุดฟลูออเรสเซ็นต์ นิยมใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่มีคุณสมบัติสามารถเรืองแสงหรือเปล่งแสงได้ เมื่อได้รับพลังงานแสงจากแหล่งกำเนิดที่มีพลังงานสูง เช่นแสง UV ซึ่งเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นต่ำ ทำให้เป็นแสงที่มีพลังงานสูง เมื่อแสงถูกปล่อยให้ไปกระทบกับวัตถุที่มีความสามารถดูดกลืนแสงได้ วัตถุจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ในลักษณะที่เป็นแสงที่ตาเรามองเห็นได้ (visible light)
คำสำคัญ : กล้องจุลทรรศน์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5272  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 13/3/2559 14:46:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/5/2567 5:20:46