รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การพัฒนาคอลเลคชัน
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ดีเด่น : งานเทคนิคห้องสมุด : Flow chart ขั้นตอนงานแบบพิเศษ
สำนักห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดองค์กรภายในใหม่ งานด้านบริการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศหลักที่ผู้ใช้นิยมใช้งานคือภาพยนตร์นั้น ได้ปรับเปลี่ยนสายงานไปอยู่ภายใต้สายงานใหม่ และทีมงานในสายงานใหม่ได้มีการประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพระหว่างกัน ผู้เขียน blog ได้นำเสนอประเด็นงานหนึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนงานเทคนิคห้องสมุดเพื่อจัดทำคอลเลคชันและฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ในห้องสมุดต่างๆ โดยทั่วไป ในการนำเสนอขั้นตอนงาน ได้มีการจัดทำแผนผังงาน Flow chart ประกอบ แสดงขั้นตอนงานแบบพิเศษ (ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ผู้เขียน blog รับผิดชอบ) ที่มีการจัดการฐานข้อมูลปกติของห้องสมุด (ระบบโปรแกรม ALIST) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (ระบบโปรแกรม CDS/ISIS, Elib) รายละเอียดมีค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามได้คัดขั้นตอนงานโดยสรุปมานำเสนอ เพื่อผู้สนใจสามารถมองเห็นประเด็นหรือแนวทางเบื้องต้นของขั้นตอนงานแบบพิเศษนี้ได้ อนึ่ง การนำเสนอข้อมูลในเวที KM web ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจไม่รองรับการนำเสนอภาพ Flow chart หรือภาพ scan ผู้เขียนจึงเสนอเพียงข้อความเท่านั้น ขั้นตอนการทำงานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ดีเด่น แบบพิเศษ 0 ข้อมูลเบื้องต้น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (CDS/ISIS) ฐาน Film 1 คัดเลือกการนำเข้าคอลเลคชัน 2 ตรวจสอบการซ้ำซ้อนข้อมูลที่มี 3 (ถ้าซ้ำ Copy) พิจารณาจะเพิ่มหรือไม่ 4 กำหนดเลขรหัส CDT (เลข CDT ตามเดิม กรณีซ้ำ ; เลข CDT ใหม่ กรณีไม่ซ้ำ) 5 ตรวจสอบข้อมูลว่ามีในฐานข้อมูล Film หรือไม่ 6 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) วิเคราะห์และทำรายการบรรณานุกรม MARC 7 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล Film 8 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 9 บันทึกข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดหา หัวเรื่อง ฯลฯ 10 คัดเลือกและถ่ายข้อมูลรายการเข้าฐานห้องสมุด ด้วยไฟล์ ISO-2709 data exchange format ก. ฐานข้อมูลห้องสมุดระบบหลัก (ALIST) ข. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) (Elib) ค. ฐานข้อมูลอื่นๆ เช่น Video on demand (VOD) (TASLiB) ; UC (union catalog) 11 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเพิ่มเติม เช่น การถ่ายโอน รหัสคอลเลคชัน ภาพปก 12 จัดเตรียมตัวสื่อ เช่น สติกเกอร์ บาร์โคด ชั้นวาง 13 บันทึกข้อมูลรายการสื่อแต่ละชิ้น (Item) ในระบบ ALIST 14 จัดทำข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ภาพปก แฟ้มช่วยค้น ป้าย ปชส 15 บำรุงรักษาฐานข้อมูล (สำเนา, update, edit) 16 ประเมินงาน สถิติ รายงาน วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนางาน ข้อมูลโดยละเอียดมีมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นแง่สื่อภาพยนตร์ แง่การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร แง่การจัดทำฐานข้อมูล ฯลฯ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้หรือต่างสถาบัน หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
คำสำคัญ : Flow chart  การพัฒนาคอลเลคชันห้องสมุด  ฐานข้อมูล  ผังงาน  ภาพยนตร์  วิธีทำงาน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2182  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 17:22:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 8:26:39
บริการสื่อโสตทัศน์ » การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นจากบริการห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภท
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมและคัดเลือกรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ควรจัดบริการในห้องสมุด (2) เพื่อสำรวจการเข้าถึงภาพยนตร์ดีเด่นจากห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภทที่น่าสนใจ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น แหล่งประชากรคือห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (8 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (3 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (2 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ (ถูกลิขสิทธิ์) (3 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ (3 แห่ง) เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรม CDS/ISIS ของ Unesco, Elib, FilmOPAC สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลวิจัยมีดังนี้ 1. รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รวบรวมได้ 4,750 รายชื่อ นำเสนอไว้ในฐานข้อมูลภาพยนตร์ ดีเด่น (https://library.mju.ac.th/film/) 2. เกณฑ์การกำหนดรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น คือ (1) ภาพยนตร์ต่างประเทศ เน้นภาพยนตร์อเมริกัน (2) ภาพยนตร์ได้รับรางวัล (3) ภาพยนตร์ได้รับการจัดลำดับให้เป็นภาพยนตร์ดีหรือน่าสนใจโดยแหล่งที่น่าเชื่อถือ (4) ภาพยนตร์ทำรายได้สูงจากการฉาย (5) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ของประเภท/แนวภาพยนตร์ และช่วงปี (6) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ตามหัวข้อเนื้อหา (topics) หัวเรื่อง 3. การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่น 4,750 เรื่อง พบว่า แหล่งที่มีภาพยนตร์ดีเด่นจากมากไปน้อยคือ (1) ห้องสมุด (62.15%) (2) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น 037hd.com) (52.36%) (3) แหล่งจำหน่ายภาพยนตร์ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น LineDVD.com) (49.71%) (4) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ถูกลิขสิทธิ์ (เช่น CAP, LidoDVD) (37.54%) และ (5) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (เช่น IFLIX) (15.41%) ตามลำดับ ผลรวมของจำนวน ภาพยนตร์ดีเด่นที่พบในทุกแหล่งหลังหักรายชื่อซ้ำซ้อนแล้ว มีจำนวน 3,488 รายชื่อ (73.43% ของรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด) หรือในทางตรงข้ามคือ รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ไม่พบในแหล่ง ข้อมูลใดๆ จำนวน 1,262 รายชื่อ (26.57%) คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; แหล่งสารสนเทศ ; ฐานข้อมูล ; การเข้าถึงสารสนเทศ ; การพัฒนาคอลเลคชัน
คำสำคัญ : การเข้าถึงสารสนเทศ  การพัฒนาคอลเลคชัน  ฐานข้อมูล  ภาพยนตร์  แหล่งสารสนเทศ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2654  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:25:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 18:22:29