Blog : การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566
รหัสอ้างอิง : 296
ชื่อสมาชิก : ฐิติพรรณ ฉิมสุข
เพศ : หญิง
อีเมล์ : pitiporn@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 11/3/2554 17:30:30
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 11/3/2554 17:30:30

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566
การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 และนำเสนอและตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง การตั้งตำรับครีมบำรุงผิวกายที่มีน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบมอญ กุหลาบมอญสุโขทัย (Damask rose) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Rosa damascena เป็นดอกกุหลาบที่พบทั้งดอกสีชมพูอ่อนถึงเข้มและสีแดง นิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันกุหลาบเพื่อใช้ในการผลิตน้ำหอมและผลิตเป็นน้ำกุหลาบใช้ในการแต่งกลิ่นในอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ กลีบดอกกุหลาบสามารถนำมาผลิตเป็นชาสุมนไพร ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบมอญสุโขทัยด้วยเทคนิคการสกัดโดยใช้คลื่นไมโครเวฟช่วย และศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของส่วนสกัดทั้งสองชนิด นอกจากนี้ ได้ตั้งตำรับครีมบำรุงผิวกายที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบ และทดสอบความคงตัวของตำรับครีมบำรุงผิวกาย ผลการทดสอบพบว่าปริมาณร้อยละผลผลิตของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเท่ากับ 0.12 และ 30.25 ตามลำดับ ปริมาณฟีนอลิกรวมของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดมีค่าเท่ากับ 212.23?2.4 และ 438.39?3.1 mg GAE/g extract ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH ของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดดอกกุหลาบที่ทดสอบพบว่ามีค่า IC50 เท่ากับ 6.98 และ 5.78 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (?g/mL) (IC50 ของโทรล็อกซ์เท่ากับ 4.67 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และปริมาณฟวาโวนอยด์รวมของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดดอกกุหลาบมีค่าเท่ากับ 100.22?1.3 และ 169.94?2.3 mg QE/g extract ตามลำดับ สารสกัดและน้ำมันหอมระเหยนำมาพัฒนาเป็นตำรับครีมบำรุงผิว พบว่าเนื้อครีมมีสีชมพูอ่อน กลิ่นดอกกุหลาบ มีค่ากรดด่างเท่ากับ 5.15-5.50 เนื้อครีมมีการกระจายตัวคงที่เมื่อทดสอบที่อุณหภูมิห้องและที่สภาวะเร่งเป็นเวลา 3 เดือน และมีความคงตัวไม่แยกชั้น
การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 » การตั้งตำรับครีมบำรุงผิวกายที่มีน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบมอญ
กุหลาบมอญสุโขทัย (Damask rose) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Rosa damascena เป็นดอกกุหลาบที่พบทั้งดอกสีชมพูอ่อนถึงเข้มและสีแดง นิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันกุหลาบเพื่อใช้ในการผลิตน้ำหอมและผลิตเป็นน้ำกุหลาบใช้ในการแต่งกลิ่นในอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ กลีบดอกกุหลาบสามารถนำมาผลิตเป็นชาสุมนไพร ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบมอญสุโขทัยด้วยเทคนิคการสกัดโดยใช้คลื่นไมโครเวฟช่วย และศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของส่วนสกัดทั้งสองชนิด นอกจากนี้ ได้ตั้งตำรับครีมบำรุงผิวกายที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบ และทดสอบความคงตัวของตำรับครีมบำรุงผิวกาย ผลการทดสอบพบว่าปริมาณร้อยละผลผลิตของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเท่ากับ 0.12 และ 30.25 ตามลำดับ ปริมาณฟีนอลิกรวมของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดมีค่าเท่ากับ 212.23±2.4 และ 438.39±3.1 mg GAE/g extract ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH ของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดดอกกุหลาบที่ทดสอบพบว่ามีค่า IC50 เท่ากับ 6.98 และ 5.78 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (g/mL) (IC50 ของโทรล็อกซ์เท่ากับ 4.67 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และปริมาณฟวาโวนอยด์รวมของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดดอกกุหลาบมีค่าเท่ากับ 100.22±1.3 และ 169.94±2.3 mg QE/g extract ตามลำดับ สารสกัดและน้ำมันหอมระเหยนำมาพัฒนาเป็นตำรับครีมบำรุงผิว พบว่าเนื้อครีมมีสีชมพูอ่อน กลิ่นดอกกุหลาบ มีค่ากรดด่างเท่ากับ 5.15-5.50 เนื้อครีมมีการกระจายตัวคงที่เมื่อทดสอบที่อุณหภูมิห้องและที่สภาวะเร่งเป็นเวลา 3 เดือน และมีความคงตัวไม่แยกชั้น
คำสำคัญ : ดอกกุหลาบมอญสุโขทัย  ดอกกุหลาบมอญสุโขทัย สารสกัดดอกกุหลาบ  น้ำมันหอมระเหยดอกกุหลาบ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 97  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 4/1/2567 15:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 8:29:34

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้